Showing 475 results

Archival description
Print preview View:

345 results with digital objects Show results with digital objects

พระพุทธรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย

ประเทศไทยจัดแบ่งพระพุทธรูปรุ่นเก่าที่ค้นพบไว้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี หรือ แบบลังการุ่นต้น (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กที่ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา จีวรเป็นริ้ว มักแสดงปางประทานอภัยหรือทรงสั่งสอน (วิตรรกะ) แบบที่ 2 คือ แบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ ได้แก่ ศิลปะทวารวดี พระพุทธรูปครองจีวรเรียบ มีทั้งครองจีวรห่มคลุมและห่มเฉียง มาบัดนี้ ได้ค้นพบพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งซึ่งอยู่ในระหว่างแบบที่ 1 และแบบที่ 2 เป็นพระพุทธรูปศิลาครึ่งองค์ สูง 59.3 ซม. มีขมวดพระเกศาแบบเรียบติดกับพระเศียร พระเกตุมาลาแบนมาก ด้านหลังพระเศียรมีประภามณฑลเป็นวงกลม ครองจีวรห่มเฉียงแบบศิลปะอมราวดี แต่จีวรเรียบไม่มีริ้ว อาจจัดเป็นพระพุทธรูปหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างอิทธิพลของศิลปะอมราวดีและศิลปะคุปตะกับหลังคุปตะได้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปนาคปรกศิลา ที่ค้นพบใหม่ในศิลปทวารวดี

พระพุทธรูปนาคปรกศิลา แต่เดิมอยู่ในบ้านเหมืองฝ้าย เขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ได้ถูกลักขโมย ภายหลังทางหน่วยศิลปากรที่ 6 ได้รับคืนและฝากไว้ที่วัดอุทัยมัคคาราม (วัดหินดาด) อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปนาคปรกขนาดใหญ่แบบทวารวดีอย่างแท้จริงและยังคงรักษาอิทธิพลของศิลปอินเดียแบบอมราวดี อันเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธรูปนาคปรกไว้ได้มาก พระพุทธรูปสลักเป็นภาพนูนสูงเหนือแผ่นหลัง องค์พระสูง 1.05 เมตร รวมทั้งฐานข้างล่าง แต่ไม่รวมเดือยข้างใต้ หน้าตักกว้าง 67 เซนติเมตร เดือยใต้ฐานฐานสูง 60 เซนติเมตร

พระพุทธรูปนาคปรกที่บ้านเหมืองฝ้ายองค์นี้ถือเป็นองค์ที่เก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปนาคปรกศิลาสมัยทวารวดีอีก 3 องค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้แก่ พระพุทธรูปนาคปรกจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี พระพุทธรูปนาคปรกศิลาสมัยทวารวดี จากจังหวัดปราจีนบุรี และพระพุทธรูปนาคปรกศิลาสมัยทวารวดี จากวัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระบรมมหาราชวัง

พระบรมมหาราชวัง หรือ วังหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2325 มีบริเวณเนื้อที่ 152 ไร่ 2 งาน มีกำแพงใบเสมาก่ออิฐ และป้อมปราการรายล้อมอยู่โดยรอบ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนนอกทางด้านทิศเหนือเป็นที่ตั้งสถานที่ราชการต่างๆ ทางทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนกลางเป็นหมู่พระมหาปราสาท และพระราชมณเฑียรสถานสำหรับประกอบพิธีต่าง ๆ ส่วนพื้นที่ตอนใน เบื้องหลังพระมหาปราสาทราชมณเฑียรเป็นเขตฝ่ายใน ซึ่งแต่ก่อนเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระอัครมเหสี พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน และข้าบาทบริจาริกา.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปลพบุรี

ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปะลพบุรีในประเทศไทย 4 ภาพ ภาพที่ 1 ศิลาทับหลัง ประตูวิหารหลังข้างเหนือที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นรูปพระนารายณ์บรรทมอยู่เหนือหลังพญาอนันตนาคราช พระองค์ค่อนข้างตั้งตรงขึ้น มีดอกบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ พ.ศ. 1600-1650 ภาพที่ 2 ทับหลังศิลา เดิมอยู่ในเทวสถานพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมสินธุ์ตะแคงขวา ก้านบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ 1600-1650 ภาพที่ 3 ศิลาทับหลังประตูมุขโถง ด้านตะวันออกตอนนอกที่ปราสาทหินพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร และมีพญานาคหลายเศียรแทรกอยู่ตรงกลาง มีก้านบัวหลายก้านผุดขึ้นจากหลังพระขนงพระนารายณ์ พระพรหมประทับอยู่เหนือบัวบานก้านกลาง คาดว่าสลักขึ้นหลังสมัยปราสาทนครวัดระหว่าง พ.ศ. 1675-1700 ภาพที่ 4 ทับหลัง ณ ปรางค์กู่สวนแตง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เป็นภาพพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร พญานาคที่แทรกอยู่ตรงกลางหายไป ก้านบัวแบ่งออกเป็นหลายก้านและมีพระพรหมประทับอยู่บนก้านกลาง สลักขึ้นในสมัยหลัง ระหว่าง พ.ศ. 1700-1750.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พงศาวดารจีนกับภาพยนตร์กำลังภายใน

กล่าวถึงประวัติราชวงศ์จีน ตั้งแต่สังคมบุรพกาล หรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมทาสได้แก่ สมัยราชวงศ์เซีย ราชวงศ์ส่าง ราชวงศ์จิวตะวันตก และราชวงศ์จิวตะวันออก สมัยสังคมศักดินาได้แก่สมัยเลียดก๊ก ราชวงศ์จิ๋น ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก สมัยสามก๊ก ราชวงศ์จิ้น สมัย 6 ราชวงศ์ ราชวงศ์วุย ราชวงศ์ถัง สมัยห้าราชวงศ์ ราชวงศ์ซ้อง ราชวงศ์หงวน และราชวงศ์เหม็ง นอกจากนั้น ยังกล่าวถึงภาพยนตร์กำลังภายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์จีน เช่น เจ้าชายฮั่วตูแห่งราชวงศ์หงวนจากเรื่องฤทธิ์หมัดสะท้านบู้ลิ้ม จูเหวียงจาง เหวินเหวิน และเอี้ยนอ๋องแห่งราชวงศ์เหม็งจากเรื่องฤทธิ์หมัดสะท้านบู้ลิ้มภาคที่ 2 กษัตริย์คังฮีแห่งราชวงศ์เช็งจากเรื่องอุ้ยเซียวป้อ องค์ชายสี่ องค์ชายสิบสี่จากเรื่องศึกสายเลือด พรรคบัวขาวจากเรื่องกระบี่ไร้เทียมทานและจอมยุทธจักรมังกรฟ้า นอกจากนั้น ยังมีภาพยนตร์เรื่องศึกสายเลือด และศึกสองนางพญา.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

แผ่นเงินสมัยทวาราวดีซึ่งขุดพบที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

แผ่นเงิน 66 แผ่น ค้นพบที่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ในซากพระอุโบสถ (?) ซึ่งเรียกกันว่า อุ่มญาคู ในเมืองคันธารวิสัย ต.คันธาร์ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ได้ขุดค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2515 เมืองคันธารวิสัย มีแผนผังเป็นรูปไข่ มีคูเมืองล้อมรอบอยู่ระหว่างเชิงเทิน 2 ชั้น สิ่งสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งที่ค้นพบในการขุดแต่งซากพระอุโบสถคือ พระพิมพ์ดินเผา ขนาด 14 x 22.5 ซม. เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ ภาชนะดินเผาสูง 12.5 ซม. ปากกว้าง 20 ซม. มีแผ่นเงินบุเป็นรูปต่าง ๆ 66 แผ่น อยู่ภายใน ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดต่าง ๆ กัน ระหว่าง ขนาด 10 x 15 ซม. เป็นแผ่นเงินที่ถูกบุเป็นพระพุทธรูป รูปเทวดาหรือเจ้านาย รูปสถูปและธรรมจักรตั้งอยู่บนยอดเสา ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง อาจสรุปว่าสร้างขึ้นในศิลปะทวารวดี โดยบุขึ้นในตอนปลายของศิลปะทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 แสดงถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในขณะนั้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ไปประเทศเวียดนาม

ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปแสดงปาฐกถาและศึกษาโบราณวัตถุสถานในประเทศเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 17-30 กันยายน 2525 ซึ่งได้แสดงปาฐกถาเป็นภาษาฝรั่งเศสที่สถาบันโบราณคดีครั้งแรกเรื่อง การค้นคว้าทางโบราณคดีปัจจุบันในประเทศไทย กล่าวถึงโบราณวัตถุสำริดซึ่งค้นพบใหม่ที่บ้านดอนตาล จังหวัดนครพนม ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมบ้านเชียง ปราสาทขอมที่ค้นพบใหม่ ณ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทยโดยเฉพาะการงมเครื่องถ้วยชามจากเรือที่สัตหีบ ครั้งที่ 2 เรื่องศิลปะสมัยคลาสสิคในประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-24 ครั้งที่ 3 แสดงปาฐกถาที่สถาบันการศึกษาเกี่ยวกับภาคเอเชียอาคเนย์เกี่ยวกับการตั้งรัฐไทยสมัยโบราณในประเทศไทย ครั้งที่ 4 แสดงปาฐกถาที่สถาบันสังคมศาสตร์ เรื่องการค้นคว้าทางโบราณคดีปัจจุบันในประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้ไปชมสถานที่ต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เมืองดานัง ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะจามที่ดีที่สุด ปราสาทโพนคร หมู่บ้านจาม ปราสาทโพกลวงการาย และพิพิธภัณฑ์ Blanchard de la Brosse.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ปรางค์กู่วัดพระโกณา

ปรางกู่วัดพระโกณา ตั้งอยู่ในตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีลักษณะเป็นปราสาท 3 องค์ ก่อด้วยอิฐ ปราสาทค์องค์ด้านทิศใต้ยังคงมีลักษณะสมบูรณ์กว่าองค์อื่นๆ ปราสาท 3 องค์นี้มีกำแพงก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบ ภายในกำแพงมีวิหารตั้งอยู่ ในหนังสือเรื่องบัญชีอธิบายโบราณสถานในประเทศกัมพูชา เล่มที่ 2 ของนายเดอ ลาจองกีแยร์ (E. Lunet de Lajonquiere) เรียกว่า กู่สี่แจง (Ku Si Cheng) การกำหนดอายุของปรางค์กู่วัดพระโกณา ถ้าจะนำภาพสลักไปเปรียบเทียบกับศิลปะขอมจะอยู่ในสมัยเดียวกับศิลปะขอมสมัยบาปวน คือราวระหว่าง พ.ศ. 1550-1650 ก่อนสมัยนครวัด นอกจากนี้ยังมีทับหลังอีก 2 ชิ้น ที่เป็นหลักฐานสนับสนุน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประวัติหอเขียนวังสวนผักกาด

หอเขียนวังสวนผักกาดนี้เดิมอยู่ที่วัดบ้านกลิ้งบนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างอำเภอบางประอิน และพระนครศรีอยุธยา เป็นตำหหนักของเจ้านาย เดิมมีอยู่ด้วยกัน 2 หลัง คือเป็นหอไตรหลังหนึ่งและหอเขียนอีกหลังหนึ่ง หอไตรเป็นห้องมีระเบียงรอบ ปลูกอยู่บนเสาสูง หอเขียนเป็นศาลาไม้มีฝา 3 ด้าน ด้านหน้าเปิดโล่ง ทั้ง 2 หลังมีภาพรายลดน้ำประกอบเต็มทุกฝา ภายหลังหอเขียนได้ทรุดโทรมลงมาก ชาวบ้านจึงรื้อหอไตรและหอเขียนลง แล้วรวมเอาไม้มาปลูกใหม่เป็นหอไตรหลังเดียว มีห้องในและระเบียงล้อมรอบ
ภายหลัง กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต ได้ติดต่อกับเจ้าอาวาสขอกระทำผาติกรรมไถ่ถอนลงมาปลูกที่วัง โดยจะสร้างศาลาใหม่ถวายแทนที่วัด และได้ทำการฉลองหอเขียนใหม่ได้ทำในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2502 ซึ่งเป็นวันฉลองอายุของ ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ ภาพที่เขียนมีทั้งภาพพุทธประวัติ ภายชาวต่างชาติ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประวัติศาสตร์พม่าสมัยโบราณโดยย่อ

ชนชาติพยู หรือปยู ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศพม่าก่อนการอพยพลงมาของชนชาติทิเบต-พม่า โดยอาศัยอยู่แถบเมืองแปรทางภาคกลางของประเทศพม่า เรียกชื่อว่า อาณาจักรศรีเกษตร และมีหลักฐานว่าอาจตั้งมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 สำหรับอาณาจักรมอญได้ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1368 ส่วนเมืองพุกามของชนชาติพม่าซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองแปรได้ตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 7 ใน พ.ศ. 1392 เมืองพุกามได้เริ่มเข้ามาอยู่ในขั้นประวัติศาสตร์พร้อมกับพระเจ้าปยินพยะ ได้ทรงสร้างกำแพงล้อมรอบเมืองพุกาม กษัตริย์ที่สำคัญของเมืองพุกามได้แก่ พระเจ้าอโนรถา พระเจ้ากยันซิตถา พระเจ้าอลองคสิถุ พระเจ้านรปติสิถุ พระเจ้าถิโลมินโล พระเจ้านรถิหปเต ต่อมาเมืองพุกามล่มจมไป ประเทศพม่าได้แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ทิศใต้อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าฟ้ารั่ว ทิศเหนืออยู่ภายใต้อำนาจของ 3 พี่น้องไทย คือ อถินขยะ ยซะถินกยันและถิหถุ และทิศตะวันออกสร้างเมืองตองอูขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 1823 ต่อมาเมื่ออาณาจักรพม่าตั้งขึ้นใหม่ มีกษัตริย์ที่สำคัญคือ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ พระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้านันทบุเรง พระเจ้ามหาธรรมราชา พระเจ้าสิรินันทสุธรรมราชา พระเจ้าอลองพระ พระเจ้าสินพยูชิน พระเจ้าปะดุง พระเจ้าพะคยีดอ พระเจ้าพุกาม พระเจ้ามินดง พระเจ้าสีป่อ ต่อมาประเทศอังกฤษได้ประเทศพม่าทั้งหมดเป็นเมืองขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2428 และให้เอกราชแก่พม่าเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 221 to 230 of 475