Showing 475 results

Archival description
Print preview View:

345 results with digital objects Show results with digital objects

นโยบายการสงวนรักษามรดกทางสถาปัตยกรรมภายในประเทศไทย

สถาปัตยกรรมที่พึงสงวนรักษาในประเทศไทย แบ่งเป็นหลายประเภท คือ โบราณสถาน วัดที่ยังมีพระสงฆ์ประจำอยู่ บ้านแบบไทย และอาคารที่แสดงถึงอิทธิพลของต่างประเทศ โดยมีพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 โดยมีกรมศิลปากรทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ในการสงวนรักษาโบราณศิลปสถานแห่งชาติ ดำเนินการขึ้นทะเบียนโบราณศิลปสถาน การบูรณะโบราณศิลปวัตถุสถานที่ถูกต้องควรมีการวิจัยก่อนซึ่งกระทำแบบพหุวิชาการโดยสถาปนิก นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ศิลปะ และอาจมีนักวิทยาศาสตร์ร่วมด้วย วัดต่างๆ ที่มีประสงฆ์อยู่ประจำและได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้ว เจ้าอาวาสที่ต้องการบูรณะต้องขออนุญาตและได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรก่อน สำหรับบ้านแบบไทย ควรใช้วิธีการชักชวนให้ก่อสร้างบ้านแบบไทยไม่ใช่วิธีบังคับ ส่วนอาคารที่แสดงถึงอิทธิพลของต่างประเทศนั้นควรบำรุงรักษา เพื่อแสดงถึงลักษณะที่น่าสนใจทางด้านสถาปัตยกรรม และการสืบต่อทางด้านประวัติศาสตร์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

นางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์สมัยลพบุรี ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายเกี่ยวกับรูปนางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2518 ที่กล่าวว่า มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-14 คือในสมัยระหว่างศิลปขอมสมัยไพรกเมง – กำพงพระ - กุเลน รูปนางปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปสตรีสูง 59 เซนติเมตร พบที่อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี การกำหนดอายุของประติมากรรมรูปนี้กำหนดได้ 2 ทาง คือ จากทรงผมและผ้านุ่ง ทรงผมที่รวบขึ้นไปเป็นมวยและห้อยตกลงมาเป็นวงพร้อมทั้งมีขมวดอยู่ภายใน มีมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร คือ ในสมัยไพรกเมง - กำพงพระ (พุทธศตวรรษที่ 13-14) ส่วนผ้าทรงเป็นผ้านุ่งจีบเป็นริ้วทั้งตัวและนุ่งแบบพับป้ายนั้น ไม่เคยปรากฎในศิลปขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ 12-14) ผู้เขียนยืนยันว่า รูปนางปรัชญาปารมิตาหรือนางปรัชญาบารมีสัมฤทธิ์รูปนี้ เป็นประติมากรรมสมัยลพบุรีที่หล่อขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 15 มิใช่ศิลปแบบก่อนขอมราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 อย่างแน่นอน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ทับหลังแบบถาลาบริวัตรในประเทศไทย

นางมิเรย เบนิสตี (Mireille Benisti) กล่าวถึงทับหลังแบบถาลาบริวัต (Thala Borivat) ว่าเป็นทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดของศิลปขอมในราวกลาง พุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งค้นพบทับหลังศิลา 6 ชิ้น ที่ถาลาบริวัต บริเวณฝั่งขวาของแม่โขง และพบที่ปราสาทขตป (Khtop) 2 ชิ้น นางเบนิสตี เห็นว่าทับหลังซึ่งค้นพบที่ถาลาบริวัตเก่ากว่าที่สมโบร์ไพรกุก และถาลาบริวัตอาจเป็นสถานที่ตั้งของเมืองภวปุระของพระเจ้าภรวรมัน สำหรับทับหลัง 2 ชิ้น ซึ่งค้นพบที่ปราสาทขตปนั้น นางเบนิสตีเห็นว่าคงสลักขึ้นในปลายศิลปแบบสมโบร์ไพรกุก ราว พ.ศ. 1200 ในประเทศไทยได้ค้นพบทับหลังแบบถาลาบริวัต 4 ชิ้นที่วัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี ซึ่งนับว่าเป็นทับหลังขอมแบบถาลาบริวัตอย่างแท้จริง นอกจากนั้น ยังได้ค้นพบศิลาจารึกขอมในพุทธศตวรรษที่ 12 หลักหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงการสร้างศาสนสถานของพระเจ้าอีศานวรมันท ี่1 พร้อมกันนี้ยังมีทับหลังอีกชิ้นหนึ่งซึ่งรักษาอยู่หน้าอุโบสถวัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี อาจกล่าวได้ว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปขอมแบบ ถาลาบริวัตและสมโบร์ไพรกุก และอาจสลักขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1150.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ตอบคุณปรีดา ศรีชลาลัย

คุณปรีดา ศรีชลาลัย ผู้สนใจในวิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ได้กรุณาเขียนบทความเรื่อง "ข้อปลีกย่อยเกี่ยวกับโบราณคดีไทย" โดยได้พยายามพิสูจน์ว่าชนชาติไทยได้ลงมาอยู่ในแหลมทองหรือประเทสไทยปัจจุบันนี้ตั้งแต่แรกเริ่มก่อนชาติอื่น โดยกล่าวถึงเหตุผลทั้งทางด้านชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อบ้านเมือง แม่น้ำ ภูเขา ในปัจจุบัน ล้วนเป็นชื่อภาษาไทยทั้งสิ้น ลัทธิศาสนาซึ่งชาวอินเดียเผยแพร่มาให้ ไทยก็ออกเสียงตรงตามสำเนียงคำของอินเดียเป็นส่วนมาก วิชาหนังสือที่ชาวอินเดียเผยแพร่มาให้ ไทยก็รับสืบสำเนียงคำอ่านออกเสียงสระพยัญชนะ ตรงตามแบบฉบับของอินเดียที่สุด และยังกล่าวถึงหลักฐานจารึกภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดมีอยู่ 2 แห่ง คือที่ถ้ำฤษีเขางู จังหวัดราชบุรี และที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ชำแหละทับหลังฯ อย่าให้ไฟไหม้ฟาง

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เดิมอยู่ทางทิศตะวันออกของประสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ตกลงมาที่พื้นและแตกออกเป็นสองซีก หลักฐานรูปแรกสุดได้ถ่ายไว้สมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2472 อีก 31 ปีต่อมา นายมานิต วัลลิโภดม จากกรมศิลปากรถ่ายรูปไว้เมื่อ พ.ศ. 2503 ต่อมา กรมศิลปากรจึงได้พิมพ์เป็นหนังสือ หลังจากนั้นทับหลังก็หายไป ซึ่งกรมศิลปากรไปติดตามได้คืนมาชิ้นหนึ่ง ปัจจุบันติดอยู่ที่ปราสาทพนมรุ้งแล้ว เมื่อ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้รับเชิญไปบรรยายที่สหรัฐอเมริกา รวมทั้งที่สถาบันชิคาโกด้วยได้พบทับหลังตั้งแสดงอยู่ที่นั่น จึงได้รายงานถึงกรมศิลปากรให้ดำเนินการติดต่อขอคืนในปี พ.ศ. 2519 และเงียบหายไปเป็นเวลากว่า 10 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2531 จึงมีการติดต่อ และส่งคืนให้ในที่สุด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของไทยเวลานี้ มีแต่เพียงพิพิธภัณฑ์โบราณคดีสมควรที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ ที่สำคัญขึ้นอีก เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทย และศิลปะปลายบุรพทิศ (Thai and Far Eastern Museum) เพื่อจัดแสดงศิลปวัตถุยุคต่าง ๆ ในประเทศไทยและของต่างประเทศที่พบในประเทศไทย ศิลปะอินเดีย ลังกา ชวา เขมร จัมปา ฯลฯ พร้อมทั้งมีห้องประชุม หอรูปสำหรับเก็บรูปถ่ายศิลปวัตถุสถาน หอสมุดและหอแผ่นเสียง พิพิธภัณฑ์ชาติวงศ์วรรณา (Ethnological Museum) เพื่อจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมถึงชนชาติต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วย พิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นเพื่อแสดงศิลปวัตถุของท้องถิ่น สำหรับบุคคลฝ่ายวิชาการควรส่งนักเรียนไปเรียนต่างประเทศด้านโบราณคดีในหลายแขนง เพื่อจะได้กลับมาเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ วิชาซ่อมของโบราณที่ขุดค้นได้ วิธีถ่ายรูปของโบราณ วิธีทำแผ่นภาพกระจก ฯลฯ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิชาโบราณคดีจีน [ตอนที่ 7]

โบราณคดีจีนสมัยหินเก่าจนถึงสมัยหินใหม่ (600,000 ปี มาแล้ว – 3,500 ปี ก่อนพุทธกาล) ได้ค้นพบมนุษย์ลันเถียร มนุษย์วานรที่เก่าที่สุดมีชีวิตราว 500,000 ปี มาแล้ว วัฒนธรรมแบบยางเชา (Yang-chao) วัฒนธรรมแบบซิงเหลียนกัง และวัฒนธรรมแบบลองชาน อยู่ในปลายสมัยหินใหม่ในประเทศจีน ราชวงศ์ส่างเป็นราชวงศ์ที่เริ่มใช้สัมฤทธิ์และตัวอักษรนับว่าเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริง ซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุสถานจำนวนมาก การค้นพบบ่อน้ำที่เก่าที่สุดแสดงให้เห็นว่าราชวงศ์จิวภาคตะวันตกเป็นผู้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในทิศตะวันออกไกล นอกจากนั้นยังพบภาชนะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผา และเริ่มมีระฆังจีน สมัยเลียดก๊กเป็นสมัยที่ความรู้ทางปัญญาเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีการค้นพบซากโรงหล่อโลหะ แม่พิมพ์สำหรับหล่ออาวุธ เครื่องรัก การฝังเงินฝังทองลงไปในโลหะ สร้างกำแพงเมืองจีน และกำหนดมาตราชั่งตวงวัดใหม่ ส่วนการใช้หนังสือเดินทางพบในสมัยราชวงศ์จิ๋น สมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีการสอบจอหงวน ทางเดินของสินค้าไหมกลายเป็นแกนแห่งการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศจีนกับเมืองอันติโอคุสบนฝั่งทะเลเมติเตอร์เรเนียน ระบบชลประทานดีขึ้น มีการใช้เหล็กกันทั่วไป สมัยราชวงศ์ซินในระยะนี้ พุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในประเทศจีน เริ่มมีกระเบื้องถ้วย (porcelain) สมัยราชวงศ์ถังมีการบรรจุ มิงคีหรือประติมากรรมที่เกี่ยวกับการศพนับร้อยจนกระทั่งต้องออกกฎหมายกำหนดการใช้มิงคี พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ถัง สำหรับเครื่องกระเบื้องถ้วยเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิชาโบราณคดีจีน [ตอนที่ 6]

โบราณคดีจีนสมัยหินเก่าจนถึงสมัยหินใหม่ (600,000 ปี มาแล้ว – 3,500 ปี ก่อนพุทธกาล) ได้ค้นพบมนุษย์ลันเถียร มนุษย์วานรที่เก่าที่สุดมีชีวิตราว 500,000 ปี มาแล้ว วัฒนธรรมแบบยางเชา (Yang-chao) วัฒนธรรมแบบซิงเหลียนกัง และวัฒนธรรมแบบลองชาน อยู่ในปลายสมัยหินใหม่ในประเทศจีน ราชวงศ์ส่างเป็นราชวงศ์ที่เริ่มใช้สัมฤทธิ์และตัวอักษรนับว่าเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริง ซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุสถานจำนวนมาก การค้นพบบ่อน้ำที่เก่าที่สุดแสดงให้เห็นว่าราชวงศ์จิวภาคตะวันตกเป็นผู้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในทิศตะวันออกไกล นอกจากนั้นยังพบภาชนะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผา และเริ่มมีระฆังจีน สมัยเลียดก๊กเป็นสมัยที่ความรู้ทางปัญญาเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีการค้นพบซากโรงหล่อโลหะ แม่พิมพ์สำหรับหล่ออาวุธ เครื่องรัก การฝังเงินฝังทองลงไปในโลหะ สร้างกำแพงเมืองจีน และกำหนดมาตราชั่งตวงวัดใหม่ ส่วนการใช้หนังสือเดินทางพบในสมัยราชวงศ์จิ๋น สมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีการสอบจอหงวน ทางเดินของสินค้าไหมกลายเป็นแกนแห่งการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศจีนกับเมืองอันติโอคุสบนฝั่งทะเลเมติเตอร์เรเนียน ระบบชลประทานดีขึ้น มีการใช้เหล็กกันทั่วไป สมัยราชวงศ์ซินในระยะนี้ พุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในประเทศจีน เริ่มมีกระเบื้องถ้วย (porcelain) สมัยราชวงศ์ถังมีการบรรจุ มิงคีหรือประติมากรรมที่เกี่ยวกับการศพนับร้อยจนกระทั่งต้องออกกฎหมายกำหนดการใช้มิงคี พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ถัง สำหรับเครื่องกระเบื้องถ้วยเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิชาโบราณคดีจีน [ตอนที่ 5]

โบราณคดีจีนสมัยหินเก่าจนถึงสมัยหินใหม่ (600,000 ปี มาแล้ว – 3,500 ปี ก่อนพุทธกาล) ได้ค้นพบมนุษย์ลันเถียร มนุษย์วานรที่เก่าที่สุดมีชีวิตราว 500,000 ปี มาแล้ว วัฒนธรรมแบบยางเชา (Yang-chao) วัฒนธรรมแบบซิงเหลียนกัง และวัฒนธรรมแบบลองชาน อยู่ในปลายสมัยหินใหม่ในประเทศจีน ราชวงศ์ส่างเป็นราชวงศ์ที่เริ่มใช้สัมฤทธิ์และตัวอักษรนับว่าเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริง ซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุสถานจำนวนมาก การค้นพบบ่อน้ำที่เก่าที่สุดแสดงให้เห็นว่าราชวงศ์จิวภาคตะวันตกเป็นผู้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในทิศตะวันออกไกล นอกจากนั้นยังพบภาชนะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผา และเริ่มมีระฆังจีน สมัยเลียดก๊กเป็นสมัยที่ความรู้ทางปัญญาเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีการค้นพบซากโรงหล่อโลหะ แม่พิมพ์สำหรับหล่ออาวุธ เครื่องรัก การฝังเงินฝังทองลงไปในโลหะ สร้างกำแพงเมืองจีน และกำหนดมาตราชั่งตวงวัดใหม่ ส่วนการใช้หนังสือเดินทางพบในสมัยราชวงศ์จิ๋น สมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีการสอบจอหงวน ทางเดินของสินค้าไหมกลายเป็นแกนแห่งการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศจีนกับเมืองอันติโอคุสบนฝั่งทะเลเมติเตอร์เรเนียน ระบบชลประทานดีขึ้น มีการใช้เหล็กกันทั่วไป สมัยราชวงศ์ซินในระยะนี้ พุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในประเทศจีน เริ่มมีกระเบื้องถ้วย (porcelain) สมัยราชวงศ์ถังมีการบรรจุ มิงคีหรือประติมากรรมที่เกี่ยวกับการศพนับร้อยจนกระทั่งต้องออกกฎหมายกำหนดการใช้มิงคี พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ถัง สำหรับเครื่องกระเบื้องถ้วยเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิชาโบราณคดีจีน [ตอนที่ 4]

โบราณคดีจีนสมัยหินเก่าจนถึงสมัยหินใหม่ (600,000 ปี มาแล้ว – 3,500 ปี ก่อนพุทธกาล) ได้ค้นพบมนุษย์ลันเถียร มนุษย์วานรที่เก่าที่สุดมีชีวิตราว 500,000 ปี มาแล้ว วัฒนธรรมแบบยางเชา (Yang-chao) วัฒนธรรมแบบซิงเหลียนกัง และวัฒนธรรมแบบลองชาน อยู่ในปลายสมัยหินใหม่ในประเทศจีน ราชวงศ์ส่างเป็นราชวงศ์ที่เริ่มใช้สัมฤทธิ์และตัวอักษรนับว่า เริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริง ซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุสถานจำนวนมาก การค้นพบบ่อน้ำที่เก่าที่สุดแสดงให้เห็นว่าราชวงศ์จิวภาคตะวันตกเป็นผู้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในทิศตะวันออกไกล นอกจากนั้นยังพบภาชนะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผา และเริ่มมีระฆังจีน สมัยเลียดก๊กเป็นสมัยที่ความรู้ทางปัญญาเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีการค้นพบซากโรงหล่อโลหะ แม่พิมพ์สำหรับหล่ออาวุธ เครื่องรัก การฝังเงินฝังทองลงไปในโลหะ สร้างกำแพงเมืองจีน และกำหนดมาตราชั่งตวงวัดใหม่ ส่วนการใช้หนังสือเดินทางพบในสมัยราชวงศ์จิ๋น สมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีการสอบจอหงวน ทางเดินของสินค้าไหมกลายเป็นแกนแห่งการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศจีนกับเมืองอันติโอคุสบนฝั่งทะเลเมติเตอร์เรเนียน ระบบชลประทานดีขึ้น มีการใช้เหล็กกันทั่วไป สมัยราชวงศ์ซินในระยะนี้ พุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในประเทศจีน เริ่มมีกระเบื้องถ้วย (porcelain) สมัยราชวงศ์ถังมีการบรรจุ มิงคีหรือประติมากรรมที่เกี่ยวกับการศพนับร้อยจนกระทั่งต้องออกกฎหมายกำหนดการใช้มิงคี พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ถัง สำหรับเครื่องกระเบื้องถ้วยเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 241 to 250 of 475