Showing 475 results

Archival description
Print preview View:

345 results with digital objects Show results with digital objects

พงศาวดารจีนกับภาพยนตร์กำลังภายใน

กล่าวถึงประวัติราชวงศ์จีน ตั้งแต่สังคมบุรพกาล หรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมทาสได้แก่ สมัยราชวงศ์เซีย ราชวงศ์ส่าง ราชวงศ์จิวตะวันตก และราชวงศ์จิวตะวันออก สมัยสังคมศักดินาได้แก่สมัยเลียดก๊ก ราชวงศ์จิ๋น ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก สมัยสามก๊ก ราชวงศ์จิ้น สมัย 6 ราชวงศ์ ราชวงศ์วุย ราชวงศ์ถัง สมัยห้าราชวงศ์ ราชวงศ์ซ้อง ราชวงศ์หงวน และราชวงศ์เหม็ง นอกจากนั้น ยังกล่าวถึงภาพยนตร์กำลังภายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์จีน เช่น เจ้าชายฮั่วตูแห่งราชวงศ์หงวนจากเรื่องฤทธิ์หมัดสะท้านบู้ลิ้ม จูเหวียงจาง เหวินเหวิน และเอี้ยนอ๋องแห่งราชวงศ์เหม็งจากเรื่องฤทธิ์หมัดสะท้านบู้ลิ้มภาคที่ 2 กษัตริย์คังฮีแห่งราชวงศ์เช็งจากเรื่องอุ้ยเซียวป้อ องค์ชายสี่ องค์ชายสิบสี่จากเรื่องศึกสายเลือด พรรคบัวขาวจากเรื่องกระบี่ไร้เทียมทานและจอมยุทธจักรมังกรฟ้า นอกจากนั้น ยังมีภาพยนตร์เรื่องศึกสายเลือด และศึกสองนางพญา.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปลพบุรี

ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปะลพบุรีในประเทศไทย 4 ภาพ ภาพที่ 1 ศิลาทับหลัง ประตูวิหารหลังข้างเหนือที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นรูปพระนารายณ์บรรทมอยู่เหนือหลังพญาอนันตนาคราช พระองค์ค่อนข้างตั้งตรงขึ้น มีดอกบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ พ.ศ. 1600-1650 ภาพที่ 2 ทับหลังศิลา เดิมอยู่ในเทวสถานพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมสินธุ์ตะแคงขวา ก้านบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ 1600-1650 ภาพที่ 3 ศิลาทับหลังประตูมุขโถง ด้านตะวันออกตอนนอกที่ปราสาทหินพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร และมีพญานาคหลายเศียรแทรกอยู่ตรงกลาง มีก้านบัวหลายก้านผุดขึ้นจากหลังพระขนงพระนารายณ์ พระพรหมประทับอยู่เหนือบัวบานก้านกลาง คาดว่าสลักขึ้นหลังสมัยปราสาทนครวัดระหว่าง พ.ศ. 1675-1700 ภาพที่ 4 ทับหลัง ณ ปรางค์กู่สวนแตง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เป็นภาพพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร พญานาคที่แทรกอยู่ตรงกลางหายไป ก้านบัวแบ่งออกเป็นหลายก้านและมีพระพรหมประทับอยู่บนก้านกลาง สลักขึ้นในสมัยหลัง ระหว่าง พ.ศ. 1700-1750.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระบรมมหาราชวัง

พระบรมมหาราชวัง หรือ วังหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2325 มีบริเวณเนื้อที่ 152 ไร่ 2 งาน มีกำแพงใบเสมาก่ออิฐ และป้อมปราการรายล้อมอยู่โดยรอบ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนนอกทางด้านทิศเหนือเป็นที่ตั้งสถานที่ราชการต่างๆ ทางทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนกลางเป็นหมู่พระมหาปราสาท และพระราชมณเฑียรสถานสำหรับประกอบพิธีต่าง ๆ ส่วนพื้นที่ตอนใน เบื้องหลังพระมหาปราสาทราชมณเฑียรเป็นเขตฝ่ายใน ซึ่งแต่ก่อนเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระอัครมเหสี พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน และข้าบาทบริจาริกา.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปนาคปรกศิลา ที่ค้นพบใหม่ในศิลปทวารวดี

พระพุทธรูปนาคปรกศิลา แต่เดิมอยู่ในบ้านเหมืองฝ้าย เขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ได้ถูกลักขโมย ภายหลังทางหน่วยศิลปากรที่ 6 ได้รับคืนและฝากไว้ที่วัดอุทัยมัคคาราม (วัดหินดาด) อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปนาคปรกขนาดใหญ่แบบทวารวดีอย่างแท้จริงและยังคงรักษาอิทธิพลของศิลปอินเดียแบบอมราวดี อันเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธรูปนาคปรกไว้ได้มาก พระพุทธรูปสลักเป็นภาพนูนสูงเหนือแผ่นหลัง องค์พระสูง 1.05 เมตร รวมทั้งฐานข้างล่าง แต่ไม่รวมเดือยข้างใต้ หน้าตักกว้าง 67 เซนติเมตร เดือยใต้ฐานฐานสูง 60 เซนติเมตร

พระพุทธรูปนาคปรกที่บ้านเหมืองฝ้ายองค์นี้ถือเป็นองค์ที่เก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปนาคปรกศิลาสมัยทวารวดีอีก 3 องค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้แก่ พระพุทธรูปนาคปรกจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี พระพุทธรูปนาคปรกศิลาสมัยทวารวดี จากจังหวัดปราจีนบุรี และพระพุทธรูปนาคปรกศิลาสมัยทวารวดี จากวัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย

ประเทศไทยจัดแบ่งพระพุทธรูปรุ่นเก่าที่ค้นพบไว้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี หรือ แบบลังการุ่นต้น (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กที่ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา จีวรเป็นริ้ว มักแสดงปางประทานอภัยหรือทรงสั่งสอน (วิตรรกะ) แบบที่ 2 คือ แบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ ได้แก่ ศิลปะทวารวดี พระพุทธรูปครองจีวรเรียบ มีทั้งครองจีวรห่มคลุมและห่มเฉียง มาบัดนี้ ได้ค้นพบพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งซึ่งอยู่ในระหว่างแบบที่ 1 และแบบที่ 2 เป็นพระพุทธรูปศิลาครึ่งองค์ สูง 59.3 ซม. มีขมวดพระเกศาแบบเรียบติดกับพระเศียร พระเกตุมาลาแบนมาก ด้านหลังพระเศียรมีประภามณฑลเป็นวงกลม ครองจีวรห่มเฉียงแบบศิลปะอมราวดี แต่จีวรเรียบไม่มีริ้ว อาจจัดเป็นพระพุทธรูปหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างอิทธิพลของศิลปะอมราวดีและศิลปะคุปตะกับหลังคุปตะได้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยหรือหริภุญชัย ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ

พระพุทธรูปทรงเครื่องยืนสำริด สูง 87 เซนติเมตร ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณองค์นี้ ค้นพบที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะของศิลปะต่าง ๆ หลายแบบปะปนกัน เมื่อ พ.ศ. 2513 ผู้เขียนเคยจัดให้อยู่ในสมัยลพบุรี โดยมีอิทธิพลของศิลปอินเดียสมัยปาละเข้ามาปะปน และตีพิมพ์ในหนังสือ ชื่อ ศิลปวัตถุชิ้นเอกของเอกชน (Masterpieces from Private Collection) แต่บัดนี้ผู้เขียนมีความเห็นเปลี่ยนแปลงไป โดยจัดให้พระพุทธรูปองค์นี้เป็นศิลปสมัยหริภุญชัยตอนปลายราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18-19 เนื่องจากหลักฐานทางด้านศิลปะ โดยเฉพาะสร้อยคอที่แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะขอมสมัยนครวัด หลักฐานจากตำนานเรื่องจามเทวีวงศ์ นอกจากนั้นที่ด้านหลังพระพุทธรูปยังมีจารึกปรากฏอยู่เป็นตัวอักษรขอมและเป็นภาษาบาลี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปสำคัญสมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธรูปสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ วัดพระเชตุพนฯ มี พระศรีสรรเพชญ พระพุทธเทวปฏิมากร พระโลกนาถ พระพุทธปูปวัดเขาอินทร์ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระคันธารราฐ วัดมหาธาตุฯ มีพระประธานในพระอุโบสถและวิหาร หอพระสุราลัยพิมาน มีพระพุทธจุลจักร และพระพุทธจักรวรรดิ สมัยรัชกาลที่ 2 ได้แก่ วัดอรุณฯ มีพระพุทธธรรมิสรราช วัดสุทัศน์ฯ มีพระศรีศากยมุนี สมัยรัชกาลที่ 3 ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธนฤมิตร พระพุทธรังสฤษดิ์ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ 34 ปาง วัดพระเชตุพนฯ มีพระไสยาสน์ วัดสุทัศน์ฯ มีพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ วัดราชโอรสฯ มีพระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร วัดกัลยาณมิตรมีพระพุทธไตรรัตนนายก วัดราชนัดดามีพระเศรษฐตมมุนี วัดเฉลิมพระเกียรติมีพระพุทธมหาโลกาภินันท์ สมัยรัชกาลที่ 4 ได้แก่ วัดปทุมวันมีพระเสริม วัดคฤหบดีมีพระแซกคำ วัดอัปสรสวรรค์มีพระฉันสมอ พระประธานในอุโบสถวัดเทพธิดาฯ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระสัมพุทธพรรณี ซึ่งประดิษฐานไว้แทนพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเชิญไปไว้ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระนิรันตราย 18 องค์ที่วัดพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย วัดอรุณฯ มีพระพุทธนฤมิตและพระอรุณ วัดราชประดิษฐ์มีพระพทุธสิหิงคปฏิมากร พระปฐมเจดีย์มีพระสิหิงค์ วัดปทุมวนารามมีพระใส วัดหงส์รัตนารามมีพระแสน วัดเสนาสน์มีพระอินทร์ สมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ พระพุทธรูปคันธารราฐ วัดบวรนิเวศมีพระพุทธวัชรญาณ พระพุทธปัญญาอัคคะ พระสมุทรนินนาท วัดเบญจมบพิตรมีพระพุทธอังคีรส พระพุทธชินราชจำลอง พระพุทธนรสีห์น้อย วัดราชาธิวาสมีพระสัมพุทธพรรณีจำลอง วัดนิเวศธรรมประวัติมีประพุทธนฤมลธรรโมภาส ใน พ.ศ. 2500 ได้มีความพยายามที่จะสร้างพระพุทธรูปแบบรัตนโกสินทร์ จึงมอบให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้คิดแบบ เพื่อให้เป็นต้นแบบของพระพุทธรูปที่จะประดิษฐาน ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สำหรับพระชัย หรือ พระชัยวัฒน์โปรดฯ ให้หล่อขึ้นทุกรัชกาล และยังมีพระแก้วประจำรัชกาลอีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ประดิษฐานอยู่ในหอพระสุราลัยพิมาณในพระบรมมหาราชวัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปสำคัญสมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธรูปสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ วัดพระเชตุพนฯ มี พระศรีสรรเพชญ พระพุทธเทวปฏิมากร พระโลกนาถ พระพุทธปูปวัดเขาอินทร์ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระคันธารราฐ วัดมหาธาตุฯ มีพระประธานในพระอุโบสถและวิหาร หอพระสุราลัยพิมาน มีพระพุทธจุลจักร และพระพุทธจักรวรรดิ สมัยรัชกาลที่ 2 ได้แก่ วัดอรุณฯ มีพระพุทธธรรมิสรราช วัดสุทัศน์ฯ มีพระศรีศากยมุนี สมัยรัชกาลที่ 3 ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธนฤมิตร พระพุทธรังสฤษดิ์ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ 34 ปาง วัดพระเชตุพนฯ มีพระไสยาสน์ วัดสุทัศน์ฯ มีพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ วัดราชโอรสฯ มีพระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร วัดกัลยาณมิตรมีพระพุทธไตรรัตนนายก วัดราชนัดดามีพระเศรษฐตมมุนี วัดเฉลิมพระเกียรติมีพระพุทธมหาโลกาภินันท์ สมัยรัชกาลที่ 4 ได้แก่ วัดปทุมวันมีพระเสริม วัดคฤหบดีมีพระแซกคำ วัดอัปสรสวรรค์มีพระฉันสมอ พระประธานในอุโบสถวัดเทพธิดาฯ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระสัมพุทธพรรณี ซึ่งประดิษฐานไว้แทนพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเชิญไปไว้ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระนิรันตราย 18 องค์ที่วัดพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย วัดอรุณฯ มีพระพุทธนฤมิตและพระอรุณ วัดราชประดิษฐ์มีพระพทุธสิหิงคปฏิมากร พระปฐมเจดีย์มีพระสิหิงค์ วัดปทุมวนารามมีพระใส วัดหงส์รัตนารามมีพระแสน วัดเสนาสน์มีพระอินทร์ สมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ พระพุทธรูปคันธารราฐ วัดบวรนิเวศมีพระพุทธวัชรญาณ พระพุทธปัญญาอัคคะ พระสมุทรนินนาท วัดเบญจมบพิตรมีพระพุทธอังคีรส พระพุทธชินราชจำลอง พระพุทธนรสีห์น้อย วัดราชาธิวาสมีพระสัมพุทธพรรณีจำลอง วัดนิเวศธรรมประวัติมีประพุทธนฤมลธรรโมภาส ใน พ.ศ. 2500 ได้มีความพยายามที่จะสร้างพระพุทธรูปแบบรัตนโกสินทร์ จึงมอบให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้คิดแบบ เพื่อให้เป็นต้นแบบของพระพุทธรูปที่จะประดิษฐาน ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สำหรับพระชัย หรือ พระชัยวัฒน์โปรดฯ ให้หล่อขึ้นทุกรัชกาล และยังมีพระแก้วประจำรัชกาลอีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ประดิษฐานอยู่ในหอพระสุราลัยพิมาณในพระบรมมหาราชวัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดีย [ตอนที่ 1]

ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 3-6) พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ยังไม่ปรากฏ แต่ช่างจะใช้สัญลักษณ์แทน เช่น ดอกบัว หมายถึงปางประสูติ ต้นโพธิ์ หมายถึงปางตรัสรู้ และสถูปหมายถึงปางปรินิพพาน แต่พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ได้เริ่มปรากฏมีขึ้นในศิลปะอินเดียสมัยที่ 2 คือ ศิลปะคันธารราฐ มถุรา และอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 6-9) และในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 10-11) แบบหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) และแบบปาละ (พุทธศตวรรษที่ 14-17) พระพุทธรูปแบบคันธารราฐเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์ มีลักษณะเป็นแบบกรีก-โรมัน แต่พระพุทธรูปแบบมถุรามีลักษณะเป็นแบบอินเดียอย่างแท้จริง คือ คล้ายคลึงกับรูปเทวดาหรือยักษ์ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดีย [ตอนที่ 2]

ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 3-6) พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ยังไม่ปรากฏ แต่ช่างจะใช้สัญลักษณ์แทน เช่น ดอกบัว หมายถึงปางประสูติ ต้นโพธิ์ หมายถึงปางตรัสรู้ และสถูปหมายถึงปางปรินิพพาน แต่พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ได้เริ่มปรากฏมีขึ้นในศิลปะอินเดียสมัยที่ 2 คือ ศิลปะคันธารราฐ มถุรา และอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 6-9) และในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 10-11) แบบหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) และแบบปาละ (พุทธศตวรรษที่ 14-17) พระพุทธรูปแบบคันธารราฐเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์ มีลักษณะเป็นแบบกรีก-โรมัน แต่พระพุทธรูปแบบมถุรามีลักษณะเป็นแบบอินเดียอย่างแท้จริง คือ คล้ายคลึงกับรูปเทวดาหรือยักษ์ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 251 to 260 of 475