พระพุทธรูปอินเดียแบบอมราวดี
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-052
- Item
- 2512
Part of บทความ
ศิลปะอมราวดีเจริญขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 7 ถึงพุทธศตวรรษที่ 9 ร่วมสมัยกับศิลปะคันธารราฐ พระพุทธรูปในศิลปะอมราวดีก็คงได้รับอิทธิพลมาจากศิลปคันธารราฐและมถุราผสมกัน เพราะศิลปะอมราวดีในขั้นแรกใช้สัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธรูป จนกระทั่งต่อมาภายหลังจึงได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์ พระพุทธรูปแบบอมราวดีแบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน มักยืนหันหน้าตรงอยู่บนฐานบัว ครองจีวรทั้งห่มเฉียงและห่มคลุม 2) แบบประทับนั่ง มีเฉพาะในภาพสลักนูนต่ำเท่านั้น 3) แบบนาคปรก พระพุทธรูปนาคปรกที่เก่าที่สุดตกอยู่ในแบบพระพุทธรูปประทับนั่งห่มเฉียง แบบที่ 2 ในศิลปะอมราวดี เป็นพระพุทธรูปที่มีวิวัฒนาการโดยเฉพาะของตนเองและเจริญขึ้นในศิลปะอมราวดี 4) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท พระพุทธรูปแบบนี้แสดงถึงการคิดค้นลักษณะรูปภาพที่สำคัญแบบใหม่ ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องอยู่กับบัลลังก์ซึ่งมีรูปร่างเหมือนม้านั่งหรือเก้าอี้มีท้าวแขน.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระพุทธรูปอินเดียแบบคุปตะ
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-053
- Item
- 2512
Part of บทความ
พระพุทธรูปอินเดียแบบคุปตะ เจริญขึ้นทางภาคกลางของประเทศอินเดียในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 9-10 และจัดเป็นพระพุทธรูปอินเดียที่งามที่สุด พระพุทธรูปแบบนี้มีประภามณฑลสลักเป็นลวดลายเต็มทั้งแผ่น พระเกศาขมวดกลมนูน มีพระเกตุมาลาประกอบอยู่ข้างบน พระขนงสลักเป็นเส้นนูนชัดเจนและไม่ได้จรดกัน พระเนตรมีม่านพระเนตรข้างบนตัดเป็นเส้นตรง พระศอเป็นริ้ว แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน กลุ่มแรกครองจีวรห่มคลุมเป็นริ้ว กลุ่มที่สองริ้วของผ้าจีวรหายไป และมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด 2) แบบประทับนั่ง ครองจีวรห่มคลุมเรียบและนั่งขัดสมาธิเพชรอย่างเดียว 3) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท ครองจีวรห่มคลุมเรียบไม่มีริ้ว พระพุทธรูปแบบหลังคุปตะเจริญขึ้นหลังสมัยราชวงศ์คุปตะ (ราว พ.ศ. 860-1090) ลงไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ 14 พระพุทธรูปแบบนี้มักเป็นพระพุทธรูปสลักนูน ส่วนใหญ่ไม่มีประภามณฑลประกอบ พระเกตุมาลาเป็นรูปกรวยค่อนข้างสูง ขมวดพระเกศาขนาดเล็กสลักนูนขึ้นมา และวาดเป็นเส้นตรงเหนือพระนลาฏ แบ่งเป็น 3 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน ครองผ้าจีวรทั้งห่มคลุมและห่มเฉียง 2) แบบประทับนั่ง ครองจีวรห่มคลุมและห่มเฉียง 3) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท มีลักษณะพิเศษ คือ มักแสดงปางปฐมเทศนาและครองจีวรห่มเฉียง.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระพุทธรูปอินเดียแบบหลังคุปตะ
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-054
- Item
- 2512
Part of บทความ
พระพุทธรูปอินเดียแบบหลังคุปตะ อยู่ในช่วงหลังสมัยราชวงศ์คุปตะ ราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 9-14 โดยจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน เช่น พระพุทธรูปที่สลักหน้าถ้ำอชันตา พระพุทธรูปแบบทวารวดีที่เก่าที่สุดในประเทศไทยก็คงได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปกลุ่มนี้ พระพุทธรูปอินเดียแบบหลังคุปตะน่าจะรับอิทธิพลจากอินเดียภาคกลาง รวมทั้งอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี คันธารราฐ
พุทธลักษณะมีพระเกตุมาลาเป็นรูปกรวยค่อนข้างสูง ขมวดพระเกศาขนาดเล็กสลักนูนขึ้นมา การครองจีวรมีทั้งแบบห่มคลุมและครองจีวรห่มเฉียง มีทั้งเรียบไม่มีริ้ว และมีริ้ว พระหัตถ์ขวาของพระพุทธรูปในกลุ่มครองจีวรห่มคลุมมักแสดงปางประทานอภัยแต่บางครั้งก็แสดงปางประทานพร ในกลุ่มพระพุทธรูปยืนแบบครองจีวรห่มเฉียงจะยืนด้วยอาการตริภังค์ 2) กลุ่มแบบประทับนั่ง มีการทำพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเป็นจำนวนมาก พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาใหญ่และแบบพระเกตุมาลาเป็นรูปกรวย มักครองจีวรห่มเฉียง บางองค์แสดงปางประทานปฐมเทศนา เช่นที่ถ้ำอชันตาที่ 27 ปางสมาธิ ปางประทานพร นิยมนั่งขัดสมาธิเพชร อันเป็นประเพณีของศิลปะอินเดียภาคกลางและภาคเหนือ มักประทับนั่งบนฐานบัว 3) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท พบมากสุดที่ถ้ำอชันตา เอารังคาพาท กันเหรี และเอลโลรา พระพุทธรูปแบบนี้มีลักษณะพิเศษเป็นของตนเอง คือ ปางปฐมเทศนา ท่าของพระชงฆ์ พระชานุแยกออกจากกันและข้อพระบาทเข้ามาชิดกัน ผ้าจีวรมักเลิกขึ้นไปเหนือพระชงฆ์และพระโสณีด้านซ้าย ด้วยเหตุนี้ผ้าจีวรจึงคลุมเฉพาะพระชงฆ์ขวา และต่อจากนั้นจึงเลิกขึ้นไปจนถึงบั้นพระองค์เบื้องซ้าย และมักประทับนั่งเหนือบัลลังก์และพระบาทวางอยู่เหนือฐานบัว.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระศิวนาฏราชในศิลปลพบุรี
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-055
- Item
- 2515
Part of บทความ
พระศิวนาฏราช หรือ พระอิศวรทรงฟ้อนรำ จัดเป็นประติมากรรมที่สำคัญที่สุดในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะขอมนั้นเป็นภาพสลักนูนต่ำทั้งสิ้น ไม่เคยค้นพบประติมากรรมลอยตัวรูปพระศิวนาฏราชเลย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะลพบุรีเป็นภาพสลักนูนต่ำ 4 รูป คือ 1) ภาพสลักบนหน้าบันด้านในของปราสาทนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร อายุอยู่ในราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1650 เป็นพระศิวนาฏราชสวมมงกุฏมี 10 กร 2) ทับหลังของปราสาทองค์กลางที่ ปราสาทบ้านระแงง อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1650 ทับหลังมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ ตรงกลางเป็นรูปพระศิวนาฏราช 10 กร 3) บนหน้าบันของมุขด้านใต้ของปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีภาพสลักเป็นรูปพระศิวนาฏราชหลายกร คงสร้างขึ้นราวระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 4) ทับหลังศิลา เดิมอยู่ที่ปรางค์กู่สวนแตง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภาพพระศิวนาฏราช 2 กร อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 รูปพระศิวนาฏราชหรือพระอิศวรทรงฟ้อนรำของศิลปะลพบุรีในประเทศไทย ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอมราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1750 อิทธิพลดั้งเดิมคงมาจากประเทศอินเดียภาคเหนือ แต่ในศิลปะลพบุรีอาจมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียภาคใต้เข้ามาปะปนอยู่บ้าง จึงมีรูปยักษ์เข้ามาผสมอยู่.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 1]
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-056
- Item
- 2516
Part of บทความ
ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 2]
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-057
- Item
- 2517
Part of บทความ
ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 3]
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-058
- Item
- 2517
Part of บทความ
ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 4]
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-059
- Item
- 2517
Part of บทความ
ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 5]
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-060
- Item
- 2517
Part of บทความ
ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 6]
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-061
- Item
- 2517
Part of บทความ
ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล