Showing 475 results

Archival description
Print preview View:

345 results with digital objects Show results with digital objects

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 27]

ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 28]

ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด

กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต โปรดให้รื้อตำหนักไทยของพระบิดา คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต มาปลูกไว้ที่วังสวนผักกาด และทรงเริ่มตกแต่งตำหนักเหล่านั้นด้วยโบราณวัตถุไทยที่พระธิดาได้ทรงรวบรวมไว้แต่ก่อน ต่อมา เสด็จในกรมฯ ได้ประทานวังสวนผักกาดให้เป็นพิพิธภัณฑ์และตั้งชื่อให้ว่า พิพิธภัณฑ์จุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ประกอบด้วยตำหนักไทยหลังแรกทางด้านทิศเหนือมีพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระพุทธรูป
คันธารราฐ เทวรูปพระอุมา รูปอรรธนารีศวร (ในบทความใช้ว่ารูปอรรธนารี) ภาพสลักบนไม้ จิตรกรรมบนไม้เรื่องพุทธประวัติสมัยอยุธยา ฯลฯ ตำหนักไทยด้านทิศใต้มีพระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัย เครื่องมุก เครื่องถม พัดรอง ฯลฯ หอเขียนมีภาพลายรดน้ำตั้งอยู่ทางทิศใต้ของบริเวณวัง เรือนไทยทางทิศตะวันตกมีภาพเขียนสมัยปัจจุบันของศิลปินไทย เรือนไทยทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย เครื่องถ้วยชามสมัยลพบุรีและสมัยก่อนประวัติศาสตร์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

มหาวิหารโพธิที่พุทธคยาและการจำลองแบบ

ต้นพระศรีมหาโพธิและวัชราสน์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับตรัสรู้ ถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มหาวิหารโพธิที่พุทธคยา คงสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์กุษานะ แทนที่อาคารไม่มีหลังคาซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช อาคารนี้ได้รับการตกแต่งเพิ่มเติมหลายครั้ง ประกอบด้วยเรือนธาตุขนาดใหญ่ ซึ่งมีวิหารสำคัญตั้งอยู่ภายในและลานชั้นบนรองรับยอด 5 ยอด ทั้งเรือนธาตุและยอดก่อด้วยอิฐมีลายปูนปั้นประดับ
เอ. บี. กริสโวลด์ (A.B. Griswold) เชื่อว่า ประเทศต่างๆ ได้มีการจำลองแบบเพื่อให้ผู้ที่ไม่สามารถเดินทางไปถึงประเทศอินเดียหรือเกาะศรีลังกาสามารถเคารพบูชาแทนได้ เช่น วิหารโพธิที่เมืองพุกาม วิหารที่วัดมหาโพธารามที่เมืองเชียงใหม่ วิหารชเวคูคยีที่เมืองหงสาวดี วิหารวูตาซือ และวิหารปิยุนซูที่กรุงปักกิ่ง วิหารมหาโพธิที่เมืองปาตานในประเทศเนปาล เจดีย์เจ็ดยอดที่เมืองเชียงราย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

มหิษมรรททินี

การประชุมสภาศึกษาวัฒนธรรมทมิฬระหว่างชาติ ครั้งที่ 2 (Second International Congress of Tamil Studies) ณ เมืองมาดราส ประเทศอินเดีย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-8 ม.ค. 2511 ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษพร้อมฉายภาพนิ่งประกอบเรื่อง มหิษมรรททินีในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปมหิษมรรททินี (Mahisa – marddini) หรือมหิษาสุรมรรทินี (Mahisasuramardini) ที่พบในประเทศไทยรูปนี้ เป็นประติมากรรมศิลาสูงทั้งเดือย 1.60 เมตร ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ลักษณะเป็นภาพสลักนูนสูงรูปพระอุมาหรือนางทุรคา 4 กร ประทับยืนอยู่บนศีรษะควาย กล่าวได้ว่าได้รับแบบมาจากประเทศอินเดีย สมัยราชวงศ์ปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) ประติมากรรมแบบนี้จัดว่าเก่าที่สุดที่เคยพบในประเทศไทย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

เมืองฟ้าแดด

เมืองฟ้าแดดมีบริเวณล้อมรอบหมู่บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กำแพงเมืองประกอบด้วยเชิงเทินดิน มีคูน้ำอยู่กลาง ภายในเชิงเทินมีร่องรอยของเมืองที่เก่าและเล็ก มีพระธาตุยาคู ทางทิศตะวันตกของพระธาตุยาคูมีเนินอีกแห่งหนึ่งซึ่งได้ค้นพบพระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิ ทิศเหนือของเนินมีสระขนาดใหญ่ ใต้หมู่บ้านเสมามีวัดปัจจุบันชื่อ วัดโพธิศรีเสมา ซึ่งรวบรวมแผ่นหินทรายทำเป็นรูปใบเสมาขนาด 105 x 85 x30 เซนติเมตร ซึ่งค้นพบทั้งในและนอกเชิงเทินเมืองฟ้าแดด บางแผ่นมีภาพสลักศิลปแบบทวาราวดี แบ่งได้เป็น 3 ขั้น ขั้นที่ 1 มี 4 แผ่น แผ่นที่ 1 แสดงรูปพระพุทธองค์ปางเสด็จลงจากดาวดึงษ์ แผ่นที่ 2 แสดงภาพพระพุทธองค์เสด็จกลับมายังเมืองกบิลพัสด์ภายหลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว แผ่นที่ 3 แสดงภาพเทวดาหรือเจ้าชาย แผ่นที่ 4 แสดงภาพบุคคลกำลังรับคำสั่งจากเจ้าชายและเจ้าหญิงหน้าบรรณ ศาลากลางป่า ขั้นที่2 มี 2 แผ่น สลักแบนกว่าขั้นที่ 1 แผ่นที่1 แสดงรูปเจ้าชายจ้องมองพระพุทธองค์ ซึ่งกำลังประทับอยู่เหนือเมฆ แผ่นที่ 2 แสดงถึงเวสสันดรชาดก ขั้นที่ 3 มี 1 แผ่น แสดงภาพพระพุทธองค์และสานุศิษย์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รอยพระพุทธบาทคู่ที่สระมรกต ดงศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี

มีการค้นพบโบราณวัตถุชิ้นใหม่ที่สระมรกต ดงศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี คาดว่าสลักขึ้นในสมัยทวาราวดี อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-15 เชื่อว่าเป็นรอยพระพุทธบาท เนื่องจากมีธรรมจักรสลักอยู่บนฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ส่วนหลุมเสาที่อยู่ระหว่างฝ่าพระบาทนั้น ดร.นันทนา ชุติวงศ์ กล่าวว่าอาจทำขึ้นเพื่อรองรับคันฉัตรอันเป็นเครื่องสูงและมักปรากฏอยู่ร่วมกับพระพุทธรูปและสัญลักษณ์แทนพระองค์อื่น ๆ นอกจากนั้น รอยพระทับของฝ่าเท้าไม่ใช่รอยเท้าที่นูนขึ้นเหนือฝ่าเท้าดังตัวอย่างพระบาทคู่อื่น ๆ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการนำนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรไปทำการขุดค้นที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 1 คณะโบราณคดีนำคณะนักศึกษาไปขุดซากโบราณสถานภายในตัวเมืองอู่ทองที่ซากพระเจดีย์นอกคูเมือง บริเวณแนวปูนปั้นที่เคยใช้ประดับพระเจดีย์ได้พบปูนปั้นจำนวนมาก และวัตถุต่างๆ ที่น่าสนใจ 30 ชิ้น มีทั้งองค์พระพุทธรูป ฐานพระพุทธรูป ฐานบัวพระพุทธรูปและพระบาท ครุฑและปีกครุฑ เศียรพระพุทธรูป ลายก้านขด องค์เทวรูป พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์แบบทวาราวดีปางเทศนาสูง 13 เซนติเมตร และพระพิมพ์ดินเผาแบบทวาราวดี เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย สูง 8 ½ เซนติเมตร หลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า พระเจดีย์องค์นี้คงจะสร้างขึ้นในสมัยทวาราวดีรุ่นหลัง ครั้งที่ 2 ได้นำคณะนักศึกษาไปขุดซากโบราณสถานภายในตัวเมืองอู่ทองอีก ส่วนใหญ่พบวัตถุปูนปั้นและได้ขุดพบพระพุทธรูปปูนปั้นยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นแบบอู่ทองยุคที่ 1 สูง 34 เซนติเมตร เศียรเทวดาแบบทวาราวดีรุ่นหลังขนาดสูง 15 เซนติเมตร และลวดลายปูนปั้นแปลกๆ เช่นลายบันได ลายประจำยาม ลายวงกลมโค้งต่อกัน จากหลักฐานโบราณวัตถุที่ขุดค้นทั้ง 2 ครั้ง แสดงว่า ศิลป ณ.เมืองอู่ทองมีสืบลงมาตั้งแต่แบบทวาราวดีจนถึงแบบอู่ทอง สันนิษฐานว่า เมื่อศิลปแบบคุปตะแพร่ออกมาจากประเทศอินเดีย คงจะมาเจริญแพร่หลายที่เมืองนครปฐม ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลก่อน ต่อจากนั้นจึงได้แผ่ขึ้นมายังอู่ทอง ทำให้ได้รับอิทธิพลของชาวพื้นเมืองมากขึ้นและฝีมือก็คลายลง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการเดินทางไปสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ

การสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษของคณะโบราณคดี ระหว่างวันที่ 21-27 มี.ค. 2513 ได้เยี่ยมชมโบราณวัตถุสถานที่สำคัญได้แก่ ที่อำเภออรัญญประเทศ ชมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่สมาคมพุทธมามกสงเคราะห์ สำรวจซากโบราณสถานเมืองไผ่ ปราสาทเขาน้อย ที่อำเภอตาพญา ชมปราสาททัพเสียม ปราสาทหนองไผ่และประสาทสะล๊อกก๊อก ที่อำเภอวัฒนานคร ชมปราสาทสระหิน เสาประดับกรอบประตูศิลาจากปราสาทบ้านน้อย วัดนครธรรม ปราสาทอุโมงค์ ทับหลังศิลาหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านกรวดและปราสาทใบแขก ที่อำเภอขุนหาร จังหวัดศรีสะเกษ ชมปราสาทตำหนักไทร ทับหลังศิลาที่วัดภูฝ้าย และปราสาทบ้านเยอร์ ที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ชมปราสาทภูมิโพน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รูปพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย สมัยศรีวิชัยในพิพิธสถานแห่งชาติพระนคร

ประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปนี้ ขุดได้ที่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เมื่อ พ.ศ. 2466 เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวบาน แสดงปางปฐมเทศนา พระเกตุมาลาค่อนข้างใหญ่ เครื่องอาภรณ์ประกอบด้วยกุณฑล กรองศอ และพาหุรัด มีสิงห์4 ตัว แบกบัลลังก์บนแท่นซึ่งรองรับฐานบัว มีผ้าทิพย์ห้อยลงมาเป็นรูปครึ่งวงกลม ทั้งด้านหน้าและด้านข้าง สองข้างบัลลังก์มีดอกบัวซึ่งบนดอกบัวมีสตรียืนถือดอกบัวมือหนึ่ง อีกมือหนึ่งแสดงปางประทานพร
ศ.เซเดส์ เชื่อว่า รูปบุคคลนี้เป็นรูปประโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงอย่างที่สุดกับประติมากรรมของสกุลช่างอินเดีย-ชวา และคิดว่าคงอยู่ในศิลปแบบนั้น แต่ ดร.เคมเปอร์ส (Dr. A-J. Bernet Kempers) เห็นว่าเป็นลักษณะของศิลปอินเดียทางทิศเหนือโดยเฉพาะ ไม่ใช่ลักษณะของประติมากรรมสัมฤทธิ์ในเกาะชวา.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 291 to 300 of 475