Showing 475 results

Archival description
Print preview View:

345 results with digital objects Show results with digital objects

วิจารณ์แบบศิลปในประเทศไทย ของ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์

ผู้เขียนมีความเห็นตรงกันกับ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เห็นว่า คำว่า สมัยทางประวัติศาสตร์ และแบบของศิลปะนั้น เป็นระยะเวลาต่างกัน ไม่ควรนำมาใช้ปะปนหรือใช้แทนกัน แต่ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ใช้คำว่าศิลปะมอญ แทนคำว่า ศิลปะทวาราวดี พร้อมทั้งยอมรับว่า คำว่า ศิลปะลพบุรี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่เหมาะสมตามที่ ดร.พิริยะ กล่าว สำหรับศิลปะไทยที่เสนอให้แบ่งออกตามท้องถิ่น ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเพราะคงจะมีมากมายหลายสกุลช่างจนเป็นการยุ่งยากแก่นักศึกษา รวมทั้งเรื่องที่เสนอให้นำศิลปะอู่ทองมารวมกับ ศิลปะอยุธยา และเรียกว่า ศิลปะอยุธยา ส่วนศิลปะรัตนโกสินทร์ที่ ดร.พิริยะ กล่าวว่า เกิดขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 หรือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ลงมา และเสนอให้เรียกศิลปะก่อนหน้านั้นว่าศิลปะอยุธยา ผู้เขียนไม่เห็นด้วย สำหรับการศึกษาศิลปะศรีวิชัย หรือศิลปะทางภาคใต้ของประเทศไทย ผู้เขียนมีความเห็นคล้อยตามว่าควรจะแยกศึกษาจากกำเนิดที่มาต่าง ๆ กัน นอกจากนั้น ผู้เขียนยังวิจารณ์โบราณวัตถุที่นำมาจัดตั้งแสดงตามรูปในหนังสือ เฉพาะในส่วนที่มีความเห็นแตกต่างกับ ดร.พิริยะ เท่านั้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี

ศิลปะทวารวดีภายในประเทศไทยเจริญขึ้นระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ทางภาคกลางของประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐม คูบัว อ่างทอง และลพบุรี และได้แผ่ขึ้นไปทางเหนือยังอาณาจักรหริภุญชัย (ลำพูน) จนกระทั่งถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ประติมากรรมสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ แต่ก็ยังคงแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีซึ่งเข้ามาถึงก่อนหน้านั้น ตัวอย่างของศิลปะทวารวดีสมัยต้น ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาขนาดเล็ก ครองจีวรตามแบบอมราวดีแต่จีวรไม่มีริ้ว แสดงปางประทานอภัยหรือวิตรรกะ 2) พระพุทธรูปนาคปรกศิลา ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 3) พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ค้นพบในถ้ำเขาพระ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 4) ประติมากรรมดินเผา ค้นพบที่เมืองคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 5) ประติมากรรมดินเผาค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 6) เทวรูปพระคเณศศิลา ค้นพบที่เมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ตัวอย่างศิลปะทวารวดีสมัยที่สอง ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาองค์ใหญ่ พบที่ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับประติมากรรมรูปพระศรีอาริยเมตไตรย 2 องค์ สูง 47 เซนติเมตร และสูง 1.37 เมตร ศิลปะทวารวดีสมัยที่สาม อิทธิพลศิลปะขอมสมัยบาปวนเริ่มเข้ามาปะปน ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ พระพุทธรูปปางสมาธิศิลา ค้นพบ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์

ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในวิชาโบราณคดี ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย ได้ถึงแก่กรรมที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2512 สิริรวมอายุได้ 83 ปี ได้เข้ารับราชการในประเทศไทย 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 – 2472 ประวัติการทำงานของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้บันทึกไว้ในคำนำหนังสือ โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ รวมทั้งการฟังเรื่องราวมาจากศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และจากประสบการณ์ของหม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลปและประวัติศาสตร์สุโขทัย

บทความทรงวิจารณ์ของศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ภายในกล่าวถึงบทความ "ศิลปสมัยสุโขทัย" ของ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี นายเขียน ยิ้มศิริ แปลต้นฉบับภาษาอังกฤษ บทความ "ประวัติศาสตร์สุโขทัย" นางจิรา จงกล เรียบเรียง บทความ "การเมืองของสุโขทัยจากศิลาจารึกหลักที่ ๔๕ และ ๖๔" นายนิคม มูสิกะคามะ เรียบเรียง และบทความ "ประเพณีไทยสมัยสุโขทัย" น.ส.ทัศนีย์ นาวิกชีวิน เรียบเรียง

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM

องค์การหรือสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ มีชื่อย่อว่า ICOM ย่อมาจากคำว่า International Council of Museums ประกอบด้วยสมาชิกจากชนชาติต่าง ๆ หลายชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2489 ICOM เป็นองค์การฝ่ายวิชาการในแผนกพิพิธภัณฑ์ของ Unesco ซึ่งมีกติกา (Constitution) และบทบัญญัติ ( by law) วางไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ โดยมีสาระสำคัญคือ เพื่อส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ มีประเทศต่าง ๆ เป็นสมาชิกกว่า 50 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย การประชุมของ ICOM ทุกคราวเป็นการรายงานกิจการพิพิธภัณฑ์แห่งประเทศของตน ให้ประเทศที่เป็นสมาชิกทราบ การประชุมแต่ละคราวแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ ผู้แทนประเทศใดจะเข้าประชุมในแผนกที่ตรงกับวิชาและกิจการของตนก็ได้ เมื่อประชุมแผนกเสร็จแล้วถ้าเป็นเรื่องสำคัญก็มักจะมาพูดในการประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งและมีมติหลังการประชุมทุกคราว.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี--เสด็จไปมหาวิทยาลัย ท่านทรงพกขนมไปด้วย

สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เกี่ยวกับการเรียนระดับปริญญาโท ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร และพระนิพนธ์หนังสือเรื่อง ชมช่อมาลตี และบุหงารำไป.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

สาส์น 2 ศาสตราจารย์ ศจ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ศจ. น.พ. สุด แสงวิเชียร : คนไทยอยู่ที่นี่หรือมาจากไหน?

จดหมายระหว่าง ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด แสงวิเชียร เกี่ยวกับคนไทยในดินแดนไทยเมื่อ 4,000 ปี มาแล้ว ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ เคยแสดงปาฐกถาเรื่อง ทับหลัง 4 ชิ้น จากประสาทเขาน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันจังหวัดสระแก้ว) ว่า “ปราสาทที่สร้างอยู่ในดินแดนประเทศไทยนั้น เข้าใจว่าเป็นของช่างอีกพวกหนึ่งไม่ใช่พวกช่างเขมร แต่เป็นช่างที่อยู่ในบริเวณใกล้กับปราสาท” ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด คิดว่า น่าจะเป็นช่างพื้นเมืองซึ่งอาจเป็นคนไทยที่ลอกเลียนแบบจากฝีมือช่างเขมร ซึ่งจากการขุดค้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี สรุปได้ว่า อาจมีคนไทยอยู่ในดินแดนไทยอย่างน้อยประมาณ 4,000 ปี แต่ ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ เชื่อว่า คนไทยอพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนตามหลักทางด้านภาษาศาสตร์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด เห็นด้วยว่า ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าโครงกระดูกของคนผิวเหลืองนั้นเป็นคนไทย แต่เสนอสิ่งที่มนุษย์เมื่อ 4,000 ปี ในดินแดนประเทศไทยทำขึ้นใช้ในการดำเนินชีวิต คือ เครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผา ลูกรอก (pulley) การควั่นงาช้างทำเป็นลูกปัด และเครื่องขุดทำจากหิน เป็นต้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

หลักการค้นคว้าวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์

การค้นคว้าในวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์จำต้องอาศัยหลัก 3 ประการ ซึ่งมีลำดับดังนี้ 1) หลักฐานอันดับ 1 ได้แก่ หลักฐานที่สร้างหรือแต่งขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น คือ โบราณวัตถุสถาน จารึกและจดหมายเหตุ 2) หลักฐานอันดับ 2 ได้แก่ หลักฐานที่สร้างหรือแต่งขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้นล่วงไปแล้ว ได้แก่ ตำนาน หรือ จดหมายเหตุพื้นเมืองต่าง ๆ ที่แต่งหรือรวบรวมขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้วเป็นเวลาหลายร้อยปี 3) หลักฐานอันดับ 3 ได้แก่ หนังสือต่าง ๆ ที่มีผู้เขียนขึ้นในสมัยปัจจุบัน โบราณวัตถุในภาคเอเชียอาคเนย์ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในศาสนา ได้แก่พุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ จึงควรเรียนรู้ลักษณะของศิลปกรรม วิวัฒนาการของประติมากรรม โบราณสถาน ควรพิจารณาแบบของศิลปะ ลวดลายที่ใช้ประดับสถาปัตยกรรม สำหรับจารึกควรพิจารณาข้อความในจารึก ภาษาที่ใช้โดยเฉพาะภาษาพื้นเมือง จดหมายเหตุสำหรับวิชาโบราณคดีในภาคเอเชียอาคเนย์ มีจดหมายเหตุที่สำคัญคือจดหมายเหตุจีน จดหมายเหตุของชาวยุโรป และจดหมายเหตุของพ่อค้าชาวอาหรับ ตามลำดับ ตำนานหรือจดหมายเหตุพื้นเมืองสมควรที่จะมีการขุดค้นหาหลักฐานทางโบราณวัตถุสถานเพื่อพิสูจน์คำกล่าวในตำนานหรือจดหมายเหตุพื้นเมือง หนังสือต่าง ๆ ที่มีผู้เขียนขึ้นในสมัยปัจจุบัน ให้พิจารณาที่หลักฐานอันควรเชื่อถือ และใช้วิจารณญาณอันเที่ยงธรรมโดยไม่มีการจำกัดเชื้อชาติ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

A dated crowned Buddha image from Thailand

In the exhibition entitled "The Arts of Thailand", which recently completed a tour of the United States and which will later be seen in Europe, there's a bronze image of the standing Buddha wearing the crown of royalty. The image which is 1.87 m. high and belongs to the Monastery of the Fifth King (Pencamapabitra), Bangkok, is of unknown provenance; and until recently its date was a matter of doubt. Though crowned Buddhas are rare in Sukhothai art, it is clearly a work of that school. We can be sure from the face, the suave modeling, and especially the ‘hallmark’ in the form of the little hooks at the lower coners of the robe. The figure ought to be dated in the 15th century, a time when Sukhothai had already lost its political independence (to Ayutthaya), but not its artistic inspiration.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

The Difference Between Valmiki’s Ramayana and the Thai Version of Ramayana (Ramakirti) of King Rama I of Thailand (1782-1809)

The story of the Ramayana has been very popular in Thailand; there are many versions of the story. It is pronounced in Thai as Ramakian, which probably derives from the word Ramakirti in Sanskrit. The word Rama existed already during the Sukhothai period (about 1250-1450 AD). The story of the Ramayana was referred to several times in Thai literature during the Ayutthaya period (1350-1767 AD) but the extant manuscripts for dance drama exist only from the Thonburi period (1767-1782 AD).

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 301 to 310 of 475