บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 11]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-026
- Item
- 2496
Part of บทความ
ประติมากรรมในศิลปะสมัยราชวงศ์เว่ย (เว้) สมัยราชวงศ์เหลียง และสมัยราชวงศ์สุย ทั้งรูปสิงห์ พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงอิทธิพลพุทธศิลป์จีนต่อศิลปะญี่ปุ่นระยะต้น รวมถึงกล่าวถึงศิลปะจีนในสมัยราชวงศ์ถังด้วย.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 12]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-027
- Item
- 2496
Part of บทความ
ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงพุทธประติมากรรมและจิตรกรรมในศิลปะจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งได้รับอิทธิพลอินเดียและส่งอิทธิพลไปถึงศิลปะญี่ปุ่น ในช่วงกลางกล่าวถึงศิลปะญี่ปุ่นทั้งประติมากรรมและจิตรกรรม เช่นที่วัดโฮริวจิ ในช่วงท้ายของบทความพูดถึงศิลปะสมัยราชวงศ์ซ่งซึ่งจิตรกรรมโดดเด่นกว่าประติมากรรม.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 13]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-028
- Item
- 2496
Part of บทความ
ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงจิตรกรรมสมัยราชวงศ์ซึ่งมีความเป็นธรรมชาตินิยม นิยมเขียนภาพทิวทัศน์และพันธุ์พืช มีการยกตัวอย่างชิ้นงานพร้อมกับชื่อจิตรกรคนสำคัญ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงศิลปะญี่ปุ่น ทั้งระฆังสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมเล่าเรื่องนิทานพื้นเมือง (ยามาโตเอะ) และหน้ากากสำหรับละครโนะ ท้ายสุดกล่าวถึงภาพพิมพ์ในระยะหลัง.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 14]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-029
- Item
- 2496
Part of บทความ
ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงสถาปัตยกรรมจีนและญี่ปุ่นไปพร้อมกัน โดยเน้นศิลปะญี่ปุ่นมากกว่าเพราะหลงเหลือตัวอย่างมากกว่า เช่น ศาลเจ้าที่มักสร้างขึ้นเลียนแบบของโบราณ วัดโฮริวจิ และศาลาฟินิกซ์ที่เบียวโดอิน
ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงศิลปะเอเชียกลาง ที่ได้รับอิทธิพลคันธาระผสมผสานกับศิลปะจีน ตะวันตกและอิหร่าน มีการยกตัวอย่างจิตรกรรมที่มิราน กิซีล ดันดันอุยลิค เป็นต้น.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
โบราณคดีวิจารณ์
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-030
- Item
- 2510
Part of บทความ
การวิจารณ์หนังสือเรื่อง “เจ้าแม่คงคาและยมุนา ณ ประตูศาสนสถานในประเทศอินเดีย” ของนางโอแดต เวียนโนต์ โดยสรุปทฤษฎีวิวัฒนาการของเจ้าแม่คงคาและยมุนาในศิลปะอินเดีย มีการแบ่งขั้นพัฒนาการตามตำแหน่งและความโดดเด่นของเทพีทั้งสองที่ประดับบนกรอบประตู รวมถึงการแพร่กระจายในศิลปะอินเดีย .
Viennot, Odette
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 1]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-031
- Item
- 2510
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงวิธีการแบ่งยุคสมัยย่อยในศิลปะขอม และประติมากรรมขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งในแง่ของวัสดุต่าง ๆ ทั้งโลหะ ศิลา ปูนปั้น ไม้ ซึ่งมีเงื่อนไขทางด้านเทคนิคแตกต่างกันไป ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปร่างและท่าทางโดยเน้นถึงสุนทรียภาพของประติมากรรมขอม.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 2]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-032
- Item
- 2510
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 2 สมัยแรกคือศิลปะพนมดาและสมโบร์ไพรกุก มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลังในประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 3]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-033
- Item
- 2510
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 3 สมัยคือศิลปะไพรกเมง ศิลปะแบบปราสาทอันเดตและศิลปะกำพงพระ มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลัง โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 4]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-034
- Item
- 2511
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อและศิลปะระยะต้นสุดของสมัยเมืองพระนคร จำนวน 2 สมัย คือศิลปะกุเลนและศิลปะพระโค มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญโดยเจาะจงประติมากรรมลอยตัวซึ่งพัฒนาไปสู่การไม่มีวงโค้งยึดอีกต่อไป มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.
Boisselier, Jean