Showing 475 results

Archival description
Print preview View:

345 results with digital objects Show results with digital objects

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามกับนางแอนนา ลิโอโนเวนส์

นางแอนนา ลิโอโนเวนส์ เป็นครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักสยามสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเดินทางกลับประเทศ นางแอนนาแต่งหนังสือขึ้น 2 เล่ม คือ “ครูหญิงชาวอังกฤษ ณ ราชสำนักไทย” (The English Governess at the Siamese Cour) และ “ความรักในฮาเร็ม” (The Romance of the Harem) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่นางแอนนาระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่นางได้พบระหว่างเป็นครูสอนภาษาอังกฤษอยู่ในราชสำนักสยาม อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ที่บันทึกไว้หลายเหตุการณ์มีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เนื่องจากนางแอนนาบันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ตามทัศนคติและความเข้าใจของตนเอง รวมไปถึงเหตุการณ์หลายอย่างคัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ไม่ใช่จากประสบการณ์ของนางแอนนาเอง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปประทับยืนห่มเฉียงปางประทานพรและพุทธศิลปในภาคเอเซียอาคเนย์

มีการค้นพบพระพุทธรูปศิลาองค์หนึ่งที่ตวลตาฮอย (Tuol-Ta-Hoy) ในประเทศกัมพูชา และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ มีลักษณะสำคัญคือ อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานพร และครองจีวรห่มเฉียง
จากการศึกษารูปแบบ สามารถจัดประติมากรรมองค์ดังกล่าวไว้ในสมัยก่อนเมืองพระนคร อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ใช่พระพุทธรูปที่เก่าที่สุดในยุคดังกล่าว เนื่องจากการแกะสลักจีวรค่อนข้างคร่าว ดังนั้น จึงไม่อาจมีอายุเก่าไปกว่า พ.ศ.1150-1200 รูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปองค์นี้ยังเป็นหลักฐานแสดงถึงบทบาทการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากทางตอนใต้ของอินเดีย
นอกจากนี้ หากพิจารณาความหมายทางด้านประติมานวิทยา การศึกษาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปที่ตวลตาฮอยอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าทีปังกร.

Boisselier, Jean

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ๒ องค์ ณ เกาะเซเลเบส

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์องค์หนึ่งที่ค้นพบที่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเซเลเบส ประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ที่ค้นพบในเกาะบอร์เนียว ทั้งนี้ประติมากรรมทั้ง 2 องค์ไม่ได้ผลิตขึ้นในเกาะชวา เพราะรูปแบบศิลปกรรมที่สะท้อนความสัมพันธ์กับงานศิลปกรรมทวารวดีมากกว่า.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระโพธิสัตว์เปล่งรัศมี

แนวคิดเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์เปล่งรัศมีไม่ได้มีแต่เฉพาะพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเท่านั้น แต่คัมภีร์ในพระพุทธศาสนาหลายเล่ม ระบุลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะเฉพาะของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เช่น คัมภีร์กรัณฑพยุหะ เป็นต้น โดยในการเปล่งรัศมีของพระองค์ ปรากฏเทวดา พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ อยู่ภายในรัศมีหรือประภามณฑลของพระโพธิสัตว์ ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวมีผลต่อการสร้างงานศิลปกรรมหลายที่ เช่น ศิลปะเนปาล และศิลปะขอม.

Louis, Finot

รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507

ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.

Boisselier, Jean

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 1]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ
ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมประเภทหนึ่งในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ คือ สถูป พัฒนาการสำคัญคือ ลวดลายเครื่องตกแต่งที่มากขึ้นเรื่อย ๆ และสัญลักษณ์มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในชั้นแรก สถูปแสดงถึงสถานที่เคารพบูชา หรือสัญลักษณ์แสดงถึงตอนหนึ่งในพุทธประวัติ แต่ต่อมาสถูปมีความสำคัญเท่ากับองค์พระพุทธเจ้าเอง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 2]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงรูปรั้วจำลอง และรูปประตู (โตรณะ) จำลอง
ลักษณะของรูปรั้วจำลองในยุคต้นแสดงถึงโครงสร้างของรั้วที่นิยมทำในยุคนั้นคือ ประกอบด้วยเสาและลูกกรงนอน แต่ในสมัยหลัง องค์ประกอบเหล่านี้เริ่มหายไป และมีลวดลายอื่น ๆ ประดับเข้ามาแทนที่
ส่วนประตู (โตรณะ) จำลอง นั้น รูปแบบในยุคแรกยังคงองค์ประกอบประตูแบบที่อยู่ด้านหน้าของสถูปสาญจีหมายเลข 1 และ 3 คือประกอบด้วย เสา 1 คู่ ด้านบนเป็นวงโค้ง 3 ท่อนพาดบนเสา ในสมัยต่อมา ช่างปรับเปลี่ยนรูปแบบประตูโดยลดหรือปรับรูปทรงขององค์ประกอบที่กล่าวมาข้างต้น และมีการประดับลวดลายต่าง ๆ มากขึ้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 3]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายรูปพืชและสัตว์ในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงลายใบไม้ ลายพวงมาลัย และลายก้านขด ทั้งนี้ ในส่วนลายใบไม้ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ลายใบไม้คดโค้ง และลายใบไม้เป็นขอ โดยลายใบไม้ประเภทแรกอายุที่เก่ากว่า
สำหรับลายพวงมาลัย มีต้นแบบมาจากลายพวงมาลัยมีกามเทพแบกแบบศิลปะกรีก-โรมัน ต่อมามีรูปแบบที่พัฒนาเป็นอินเดียมากขึ้น โดยยุคแรกจะมีการประดับลายใบไม้คดโค้ง แต่ในยุคสมัยต่อมาประดับลายใบไม้เป็นขอ
ส่วนลายก้านขด แสดงพัฒนาการโดยมีการประดับใบไม้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และในยุคแรกเป็นลายก้านขดที่มีดอกไม้ประดับเป็นส่วนใหญ่ ต่อมานิยมประดับลายใบไม้คดโค้งและลายใบไม้เป็นขอ ตามลำดับ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 4]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนาการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายรูปพืชและสัตว์ในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงวงกลมซึ่งมีลายดอกบัวสลักอยู่ภายใน และมกร
สำหรับลายวงกลมซึ่งมีลายดอกบัวสลักอยู่ภายใน มีพัฒนาการสำคัญคือ ลายดอกบัวซึ่งมองเห็นทางด้านข้างที่มุม จำนวนแถวกลีบที่มีเพิ่มขึ้น ลายก้านขดแบบต่าง ๆ และลายใบไม้ซึ่งในยุคแรกเป็นลายใบไม้แบบคดโค้ง และในยุคถัดมานิยมลายใบไม้เป็นขอเข้ามาแทนที่ ส่วนรูปมกรนั้น ยุคแรกแสดงลักษณะที่ผสมกันระหว่างจระเข้และปลาอย่างชัดเจน แต่ต่อมาช่างลดทอนลักษณะดังกล่าว และแสดงความเคลื่อนไหวยิ่งขึ้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 5]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยมีลวดลายกลุ่มหนึ่งในศิลปะอมราวดีที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด โดยในบทความนี้กล่าวถึง บัลลังก์ และกุฑุ ทั้งนี้ในส่วนของภาพบัลลังก์นั้น สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ 1) บัลลังก์ไม่มีลายรูปสัตว์และไม่มีลายเส้นเฉียงมีรอยตวัด และ 2) บัลลังก์ที่มีลายหัวมกร สิงห์ และลายเส้นเฉียงมีรอยตวัด ส่วนกุฑุ มีทั้งหมด 2 แบบ คือ 1) กุฑุที่มีรูปทรงเหมือนกับที่ภารหุต แสดงวงโค้งเหนือประตูและหน้าต่าง 2) กุฑุที่มีรูปวงโค้งเกือกม้า มีลักษณะคล้ายกับกุฑุในศิลปะคุปตะ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 381 to 390 of 475