วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 6]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-065
- Item
- 2506
Part of บทความ
ภาพสลักจำนวนหนึ่งในศิลปะอมราวดีไม่มีลวดลายที่แสดงวิวัฒนาการแบบสืบเนื่องและลวดลายที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน จึงดูเหมือนว่า เราไม่สามารถกำหนดอายุภาพสลักเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ดี ในภาพสลักเหล่านี้ อาจมีลวดลายบางอย่างที่อาจนำมาพิจารณาร่วมกับลวดลายอื่น ๆ ที่สามารถกำหนดอายุได้ เพื่อมาช่วยในการกำหนดอายุให้ชัดเจนมากขึ้น โดยในบทความนี้กล่าวถึงลวดลายประเภทดังกล่าว 2 กลุ่ม ได้แก่ เครื่องประดับ ทรงผม โดยในกลุ่มเครื่องประดับ ยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 4 กลุ่ม คือ สร้อยคอที่ห้อยตกลงมาระหว่างถัน ถุงเท้าและกำไลเท้า และสร้อยคอซึ่งพาดอยู่บนบ่า ส่วนทรงผมนั้น ในบทความนี้กล่าวถึง ทรงผมบุรุษ.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 7]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-066
- Item
- 2506
Part of บทความ
ภาพสลักจำนวนหนึ่งในศิลปะอมราวดีไม่มีลวดลายที่แสดงวิวัฒนาการแบบสืบเนื่องและลวดลายที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน จึงดูเหมือนว่า เราไม่สามารถกำหนดอายุภาพสลักเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ดี ในภาพสลักเหล่านี้ อาจมีลวดลายบางอย่างที่อาจนำมาพิจารณาร่วมกับลวดลายอื่น ๆ ที่สามารถกำหนดอายุได้ เพื่อมาช่วยในการกำหนดอายุให้ชัดเจนมากขึ้น โดยในบทความนี้กล่าวถึงลวดลายประเภทดังกล่าว 4 กลุ่ม ได้แก่ ทรงผมสตรี เครื่องแต่งกาย เข็มขัด และลวดลายเครื่องประดับต่าง ๆ.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 8]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-067
- Item
- 2507
Part of บทความ
จากการศึกษาลวดลายต่าง ๆ บนภาพสลักในศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี จะพบว่า ลวดลายแต่ละประเภทมีพัฒนาการแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา อย่างไรก็ดี เมื่อนำลวดลายแต่ละประเภทมาพิจารณาร่วมกันแล้ว จะพบว่า ลวดลายกลุ่มหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาเดียวกันทั้งหมด 4 ครั้ง ดังนั้น จึงสามารถแบ่งยุคสมัยศิลปะอมราวดีได้ทั้งหมด 4 สมัย โดยในบทความนี้กล่าวถึงศิลปะอมราวดีในสมัยที่ 1 และ 2.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 9]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-068
- Item
- 2507
Part of บทความ
จากการศึกษาลวดลายต่าง ๆ บนภาพสลักในศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี จะพบว่า ลวดลายแต่ละประเภทมีพัฒนาการแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา อย่างไรก็ดี เมื่อนำลวดลายแต่ละประเภทมาพิจารณาร่วมกันแล้ว จะพบว่า ลวดลายกลุ่มหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาเดียวกันทั้งหมด 4 ครั้ง ดังนั้น จึงสามารถแบ่งยุคสมัยศิลปะอมราวดีได้ทั้งหมด 4 สมัย โดยในบทความนี้กล่าวถึงศิลปะอมราวดีในสมัยที่ 3 และ 4.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
วิวัฒนาการแห่งจิตรกรรมฝาผนังของไทย
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-069
- Item
- 2502
Part of บทความ
จิตรกรรมฝาผนังของไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ศิลปะแบบสุโขทัย เช่น จิตรกรรมที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว จังหวัดสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการจิตรกรรมของไทยซึ่งกำลังก่อรูปแบบเป็นแบบของตนเอง เฉพาะพระพุทธรูปมีลักษณะเป็นไทย ในขณะที่รูปบุคคลอื่น ๆ ยังคงมีลักษณะเป็นแบบอินเดียหรือเขมรอยู่
ศิลปะแบบอยุธยา เช่น ผนังในองค์พระปรางค์วัดราชบูรณะ มีจิตรกรรมปูนเปียกเป็นรูปเทวดามีลักษณะเช่นเดียวกับลายสลักที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลลายเส้นจากเกาะลังกาได้มาแพร่หลายถึงกรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกัน ภาพเขียนที่ฝาผนังในองค์พระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบสุโขทัยเป็นส่วนมาก รวมทั้งมีอิทธิพลศิลปะแบบอู่ทองและอินเดียอยู่บ้าง
ศิลปะแบบธนบุรี มีสมุดภาพเรื่องไตรภูมิพระร่วง ที่เขียนขึ้นใน พ.ศ. 2335 ภายหลังสมุดภาพเรื่องไตรภูมิสมัยอยุธยา ในสมุดภาพเรื่องไตรภูมิสมัยธนบุรี ภาพสถาปัตยกรรมและภาพบุคคลได้เขียนไปตรามกฎเกณฑ์
ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ ในสมัยนี้มีการสร้างวัดกันขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีหลายวัดประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนัง ช่างสมัยอยุธยาได้เข้ามาทำงาน และได้เกิดมีสกุลช่างเขียนที่สำคัญ สกุลช่างเขียนสมัยรัตนโกสินทร์ในภาคกลางเขียนภาพเรื่องศาสนาหรือเรื่องนิยายต่าง ๆ แบ่งออกได้ 5 แบบ 1. แบบคลาสสิคเกี่ยวกับเรื่องราวเทวดาและเรื่องนิยายต่าง ๆ 2. แบบคลาสสิคเกี่ยวกับตัวละคอนในเรื่องรามเกียรติ์ 3. นักดนตรี นางรำ ข้าราชสำนัก และบรรดาชนชั้นสูง 4. ประชาชนธรรมดา 5. ภาพนรก
ศิลป์ พีระศรี
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 1]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-070
- Item
- 2514
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) อาณาจักรขอมเป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมจากอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 มีชื่อตามเอกสารและจารึกที่ปรากฎ คือ ฟูนัน เจนละ และกัมพุเทศหรือกัมพุชเทศ ซึ่งดินแดนของอาณาจักรขอมแผ่ขยายออกไปกว้างขวาง ช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 11 หลักฐานในจดหมายเหตุจีน ศิลาจารึก และประติมากรรมได้ชี้ให้เห็นว่าดินแดนแถบนี้มีการนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเป็นหลัก และลัทธิไวษณพนิกายรวมอยู่ด้วย รวมถึงศาสนาพุทธซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าเป็นนิกายใด ซึ่งในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีจารึกส่วนใหญ่ที่เก่าและแสดงถึงนิกายเถรวาทก่อนจะเป็นนิกายมหายาน
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 2]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-071
- Item
- 2514
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) ลัทธิเทวราชปรากฎขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พ.ศ. 1345 ซึ่งทำให้พระราชากลายเป็นสมมติเทพ และเป็นส่วนหนึ่งของพระอิศวรมีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์ มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแล ศาสนาพราหมณ์จึงควบคู่ไปกับอำนาจของกษัตริย์ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 ทรงนับถือลัทธิไวษณพนิกายและลัทธิเทวราชา รวมทั้งมีการสร้างเทวรูปหริหระแสดงถึงการผสมผสานทั้ง 2 ลัทธิเข้าด้วยกัน ต่อมาในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ทำให้ศาสนาในอาณาจักรขอมเป็นศาสนาผสมอย่างแท้จริง ดังที่ปรากฎในการสร้างยโศธราศรมเพื่อถวายแก่เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์หลายองค์ ส่วนพุทธศาสนาก็ได้มีการสร้างพุทธสถานโดยข้าราชการเนื่องจากพุทธศาสนาไม่ได้รับการสนับสนุนตั้งแต่ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 จนมาในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 จารึกในรัชกาลพระเจ้าชัยวีรวรมันได้แสดงให้เห็นว่ามีทั้งศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ลัทธิไวษณพนิกาย และศาสนาพุทธ โดยศาสนาในอาณาจักรขอมยังเป็นศาสนาแบบผสมจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีลัทธิพุทธราชาเข้ามาแทนที่เทวราชาที่มีมาแต่เดิม แต่เมื่อสิ้นสมัยแล้วก็กลับไปนิยมศาสนาพราหมณ์ตามเดิม จน พ.ศ. 1839 พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ได้ประดิษฐานในอาณาจักรขอม พระเจ้าศรีนทรวรมันได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ แต่ก็ต้องสละราชสมบัติในเวลาต่อมา และกลับไปตั้งมั่นในลัทธิไศวนิกายตามเดิม
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 3]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-072
- Item
- 2514
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) ศิลาจารึกขอมกล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย 2 นิกาย คือ นิกายปาศุปัต (กลางพุทธศตวรรษที่ 12) และนิกายไศวะ (ต้นพุทธศตวรรษมี่ 15) ซึ่งทั้งสองนิกายเป็นการรับอิทธิพลมาจากอินเดีย ซึ่งหลังจากรัชกาลพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงนิกายปาศุปัต และจารึกที่พบทั้งหมดกล่าวถึงนิกายไศวะเท่านั้น คัมภีร์ในนิกายไศวะพบในการท่องปุราณะ กาพย์ และสลักเป็นภาพเล่าเรื่อง รวมทั้งจารึกตามในศาสนสถาน นามของพระอิศวรที่พบในจารึกขอมมีจำนวนมาก นามจะเกี่ยวข้องกับคัมภีร์ต่างๆ สถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง และจากคำที่มาจากคำเปรียบเปรย พบมาแล้วในจารึกก่อนเมืองพระนคร
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 4]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-073
- Item
- 2514
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) ปรัชญาในศาสนาพราหมณ์พบในจารึกขอมที่กล่าวสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าในจารึกภาษาสันสกฤต แสดงถึงพระอิศวรทรงเป็นทั้งพระผู้เป็นเจ้า และเป็นผู้ยิ่งใหญ่อันประเสริฐ เกิดเป็นรูปอยู่ประจำทั้ง 8 ขึ้น (อษฺฏ มูรติ)คือ แผ่นดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ และอาตมัน แนวความคิดรูปทั้งแปดพบมากในอาณาจักรขอม โดยในงานพิธีกรรมก็สอดคล้องกับแนวคิดในประเทศอินเดียด้วย ปฺรณว เครื่องหมายโอม เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของพระอิศวร มีลักษณะ 3 ประการ ลักษณะที่ 1 คือพระอาทิตย์ ดวงจันทร์ และไฟ ลักษณะที่ 2 คือตรีมูรติ และลักษณะที่ 3 คือคุณสมบัติ 3 ประการ ซึ่งทำให้นึกถึงพระเนตรทั้งสามของพระอิศวรด้วย
พิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเกี่ยวข้องกับการสังเวชบูชาไฟในการเคารพพระอิศวร พระอัคนีเป็นรูปหนึ่งของ อษฺฏ - มูรติ ไฟก็คือแสงประจำโลก และคือพระอาทิตย์ซึ่งมีลักษณะเดียวกัน โดยแสงนั้นเป็นแสงสว่างขั้นต้นกำเนิดโดยพระผู้สร้าง โดยศิวลึงค์เปรียบได้กับเสาแห่งไฟ ที่เป็นแสงสว่างเหนือความมืด สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ที่สัมพันธ์กับแสงสว่าง ลัทธิโยคะยังเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความเคารพบูชา
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 5]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-074
- Item
- 2515
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) รูปแบบของพระอิศวรปรากฏตามลักษณะประติมานวิทยาหลายรูปแบบ ศิวลึงค์เป็นลักษณะหนึ่งที่พบมากและมีหลายหลายรูปแบบ คือรูปแบบศิวลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และรูปแบบศิวลึงค์ที่สร้างขึ้น รูปแบบที่สำคัญคือ มุขลึงค์ มีลักษณะเป็นลึงค์ที่มีพระพักตร์ของพระอิศวร เป็นต้น นอกจากนี้สัญลักษณ์ของพระอิศวรยังปรากฏในรูปแบบ ศิวบาท รวมทั้งตรีศูลและโคนนทิ ทั้งนี้การสร้างพระอิศวรในรูปมนุษย์ไม่นิยมนัก ในสมัยก่อนเมืองพระนครพบเพียง 4 ชิ้น ต่อมาในสมัยเมืองพระนครพบว่ามีการสร้างรูปมนุษย์มากขึ้นและมีหลายปาง ที่นิยมคือรูปพระอุมา-มเหศวร และรูปพระศิวนาฏราช เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประติมานวิทยาที่แสดงออกในรูปโคนนทิและพระกาล รวมทั้งรูปพระอุมาซึ่งเป็นศักติของพระอิศวร มีรูปแบบพระอุมาที่สำคัญคือ รูปมหิษาสุรมรรทนี และรูปอรรธนารีศวร เป็นต้น จากหลักฐานจารึกและงานศิลปกรรมสามารถกล่าวได้ว่าศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกายในอาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย
Bhattacharya, Kamaleswar