Showing 475 results

Archival description
Print preview View:

345 results with digital objects Show results with digital objects

Reviews : Art styles in Thailand : a selection from National Provincial Museums, and an essay in conceptualization : ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ แบบศิลปในประเทศไทย คัดเลือกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สาขาส่วนภูมิภาค

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล นิพนธ์บทความปริทัศน์เกี่ยวกับหนังสือ Art Styles in Thailand: A Selection from National Provincial Museum, and an Essay in Conceptualization โดยนิพนธ์ร่วมกับ H.G. Quaritch Wales นอกจากจะสรุปเนื้อหาของหนังสือแล้ว ยังมีการให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาบางส่วนด้วย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Reviews : [Piriya Krairiksh. Art in peninsular Thailand prior to the fourteenth century A.D.]

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุลนิพนธ์บทความปริทัศน์เกี่ยวกับหนังสือเรื่อง Art in Peninsular Thailand Prior to the Fourteenth Century A.D. ซึ่งเป็นผลงานของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ โดยกล่าวถึงเนื้อหาในแต่ละบทของหนังสืออย่างย่อๆ พร้อมทั้งให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาบางส่วนด้วย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Pierre Dupont: L'archaeologie mone de Dvaravati

This article is a book review of L'archaeologie mone de Dvaravati, written by Pierre Dupont. This book is dedicated to Pierre Dupont’s teacher, Alfred Foucher. A note by Madame Dupont Thanks whose who helped to prepae the work for publication after Pierre Dupont’s death. Then after a short preface by the author, comes text itself, consisting of 9 chapters. Finally, there are inventories of the objects discovered in the excavations of Dvaravati sites conducted by the author; indexes; bibliography; etc.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

The Art of the Ancient Kingdom of Champa Its Originality and Diversity

For those who have visited the Bangkok National Museum, the art, or at least the sculpture, of ancient Champa is not completely unknown. And while this art, which is at times so admirable, yet often so perplexing, is not as well represented in the museum as Javanese art, the six sculptures in the collection which were presented to King Rama VII about seventy years ago, reveal certain tendencies which are the most striking and the most unvarying in Cham art. Dating from the 10th to 12th centuries, these six pieces are almost sufficient in showing how different, both in terms of aesthetics and popular themes, the schools of Cham art are from the rest of Southeast Asia.

บวสเซอลีเย่, ฌอง

อายุของภาพสลักนูนต่ำรุ่นหลัง 2 ภาพที่ปราสาทนครวัด

ที่ผนังระเบียงชั้นนอกของปราสาทนครวัดนั้นมีภาพสลักทั้งหมด 8 ภาพ โดยมี 2 ภาพที่สลักบนปีกเหนือของระเบียงด้านตะวันออก แสดงการรบพุ่งระหว่างพระนารายณ์และอสูร กับที่สลักอยู่บนปีกตะวันออกของระเบียงด้านเหนือแสดงรูปพระกฤษณะรบชนะพระเจ้ากรุงพาณ อาจสลักขึ้นหลังการก่อสร้างปราสาทนครวัด และหลังกว่าภาพสลักนูนต่ำอีก 6 ภาพ โดยทั้ง 2 ภาพมีศักราชจารึกอยู่ใต้ภาพระบุว่า ใน พ.ศ. 2089 พระราชาเขมรพระนามว่า นักองค์จันท์ได้เป็นผู้สั่งให้สลักภาพบนระเบียงชั้นนอกของปราสาทนครวัดให้แล้วสำเร็จ ซึ่งสำเร็จลงใน พ.ศ. 2106 และภาพสลักทั้ง 2 ภาพนี้ มีอิทธิพลของศิลปะจีนอยู่บ้าง แต่อิทธิพลส่วนใหญ่มาจากศิลปะไทย เพราะมีความคล้ายคลึงกันอย่างมากระหว่างรูปเทวดาบางองค์บนภาพสลักนี้กับรูปเทวดาในหนังสือตำนานเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ของไทย รวมทั้งฆ้องวง เครื่องประดับ ลวดลายดอกไม้ภายในเครื่องประดับ เครื่องแต่งกายรูปกินรีแบบไทยและฉัตร ซึ่งทั้งหมดนี้มีอยู่ในศิลปะอยุธยาของไทยตั้งแต่ พ.ศ. 1975.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

อาณาจักรเจนละ

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่อง ประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Les Etats Hindouises d’Indochine et d’Indonesie) ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ศูนย์กลางดั้งเดิมของอาณาจักรเจนละ คงตั้งอยู่ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ำโขงแถบเมืองจำปาศักดิ์ในประเทศลาวปัจจุบัน อาณาจักรเจนละเป็นอาณาจักรขอมรุ่นต้นที่เคยเป็นประเทศราชต่ออาณาจักรฟูนัน ตั้งแต่สมัยพระเจ้าภววรมันที่1 ลงมาจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่1 เป็นระยะที่แผ่ขยายอำนาจลงไปทางทิศใต้แถบปากแม่น้ำโขง และทิศตะวันตกแถบทะเลสาบใหญ่ อันเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรฟูนันมาก่อน ต่อมาหลัง พ.ศ. 1249 อาณาจักรเจนละได้แบ่งแยกเป็น 2 แคว้น คือ ทางภาคเหนือหลายเป็นแคว้นเจนละบก ทางภาคใต้กลายเป็นแคว้นเจนละน้ำ ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 แห่งเมืองศัมภุปุระ (สมโบร์) ได้ทรงรวบรวมแคว้นเจนละบกและแคว้นเจนละน้ำเข้าด้วยกันเป็นการเริ่มต้นอาณาจักรขอมอย่างแท้จริง ใน พ.ศ. 1345.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

อาณาจักรขอม

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่องประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เริ่มเกี่ยวกับอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ได้เสด็จกลับมาจากชวา เพื่อมาครองราชย์ที่เมืองอินทรปุระ และย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหริหราลัย ศิลปะขอมสมัยกุเลนในรัชกาลของพระองค์เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร และศิลปะสมัยเมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะจามและศิลปะชวา ลำดับกษัตริย์ขอมที่ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พระเจ้าอินทรวรมัน พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระเจ้าราเชนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มีระยะเวลากว่า 100 ปี และอาจนับได้ว่าเป็นระยะที่วัฒนธรรมขอมเจริญสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเป็นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที 1 พระเจ้าอุทัยทิตย วรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมาธิปรเมศวร ซึ่งเป็นพระราชาองค์สุดท้ายที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกของขอมที่ปราสาทนครวัด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

อดีตรับใช้ปัจจุบัน จีนคอมมิวนิสต์มองวิชาโบราณคดีอย่างไร

ชาวจีนในปัจจุบันไม่สนใจประวัติศาสตร์ดังแต่ก่อน และหันมาสนใจกับอนาคตมากกว่า แต่ชาวจีนยังคงหวังให้อดีตรับใช้ปัจจุบัน อย่างไรก็ดี นักวิชาการทั้งรุ่นเก่าและใหม่ในวงวิชาการด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์วัฒนธรรมยังคงสนใจศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการศึกษาบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านโบราณคดีของจีนที่คัดเลือก 3 ชื่อ แสดงให้เห็นว่า บทความส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของจีนสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่15 และข้อเขียนในวารสารทั้ง 3 ฉบับส่วนใหญ่ แสดงให้เห็นความพยายามที่จะตีความประวัติศาสตร์จากหลักฐานโบราณวัตถุและจารึกที่ได้ขุดค้นพบ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลาจารึกโวคาญ

ศิลาจารึกนี้เป็นศิลาจารึกภาษาสันสกฤตที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีนและหมู่เกาะอินโดนีเซีย ค้นพบที่หมู่บ้านโวคาญ เขตเมืองญาตรัง เป็นจารึกที่สลักบนหินแกรนิต สูงกว่า 2.70 เมตร ตัดเป็นเสารูปสี่เหลี่ยมกว้าง 72 เซนติเมตร หนา 67 เซนติเมตร ตัวอักษรที่จารึกมีขนาดใหญ่ความสูงราว 4 เซนติเมตร และคล้ายคลึงกับตัวอักษรบนจารึกของรุทรทามัน (Rudradaman) ที่ คิรนรร (Girnar) ของวาสิษฐีบุตร (Vasisthiputra) ที่กันเหริ (Kanheri) ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 7-8 ศาสตราจารย์ ฟิลลิโอซาต์ อธิบายว่า แม้จะจารึกในภาษาสันสกฤต แต่ต้นเค้าเดิมคงมาจากประเพณีทมิฬ และคงไม่ใช่จารึกในพุทธศาสนา แต่แสดงประเพณีตามแบบศาสนาฮินดู และสรุปว่า พระเจ้าศรีมาระอาจเป็นพระราชาในราชวงศ์ปาณฑยะทางประเทศอินเดียภาคใต้ ตามตำแหน่ง “มารัน” ในภาษาทมิฬ แต่พระองค์อาจไม่ได้เสด็จมาครองราชย์ในอาณาจักรทางแหลมอินโดจีน แต่ผู้ปกครองอาณาจักรอาจเป็นเพียงเชื้อสายของพระองค์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 5 และ 6

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงจากบทความของศาสตราจารย์ฮัลลิเดย์ (R. Halliday) - ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 5 จารึกวัดมหาวัน (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 3) จารึกจำนวน 4 ด้าน (แก้ไขในบทความจากเดิม 3 ด้าน) ทั้งหมด 85 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึง ความสัตย์ที่แท้จริง คือ จรมตฺต ในผลงานของท่าน (กษัตริย์) ผู้บำเพ็ญ พระราชกุศลในพระพุทธศาสนา การสร้างพระเจดีย์ พระพุทธรูปทั้ง 3 กุฏิ คูหา ฉัตร และการถวายข้าพระ กล่าวถึงราชตระกูลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการนี้ (ส่วนใหญ่เป็นคำวิสามานยนาม) และการถวายสิ่งของแด่วัดและพระสงฆ์ ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 6 จารึกวัดบ้านหลวย (จารึกวัดบ้านหลุย) (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 6) จารึกจำนวน 2 ด้าน ทั้งหมด 32 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึงการบำเพ็ญกุศลในพุทธศาสนา เช่น การอุทิศข้าพระสำหรับบำรุงรักษาวัดและสระน้ำ การถวายสิ่งของต่าง ๆ เช่นหม้อน้ำ, ฉัตรและเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมทั้งกล่าวถึงผู้สร้างเจดีย์และคูหา

Halliday, Robert

Results 51 to 60 of 475