Showing 17 results

Archival description
จีน
Print preview View:

17 results with digital objects Show results with digital objects

อดีตรับใช้ปัจจุบัน จีนคอมมิวนิสต์มองวิชาโบราณคดีอย่างไร

ชาวจีนในปัจจุบันไม่สนใจประวัติศาสตร์ดังแต่ก่อน และหันมาสนใจกับอนาคตมากกว่า แต่ชาวจีนยังคงหวังให้อดีตรับใช้ปัจจุบัน อย่างไรก็ดี นักวิชาการทั้งรุ่นเก่าและใหม่ในวงวิชาการด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์วัฒนธรรมยังคงสนใจศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการศึกษาบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านโบราณคดีของจีนที่คัดเลือก 3 ชื่อ แสดงให้เห็นว่า บทความส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของจีนสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่15 และข้อเขียนในวารสารทั้ง 3 ฉบับส่วนใหญ่ แสดงให้เห็นความพยายามที่จะตีความประวัติศาสตร์จากหลักฐานโบราณวัตถุและจารึกที่ได้ขุดค้นพบ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระนางซูสีไทเฮา

พระนางซูสีไทยเฮา เดิมชื่อนางเยโฮนาลา (ดอกกล้วยไม้) ถือกำเนิดในสกุลแมนจู ที่ค่อนข้างขัดสน ได้รับการคัดเลือกขึ้นเป็นนางสนมของพระเจ้าเซียนฟงกษัตริย์องค์ที่ 7 ในราชวงศ์เช็ง หรือ ชิง นางเยโฮนาลาเป็นหญิงฉลาดเฉลียว มักอาสาช่วยเหลือพระเจ้าเซียนฟงในการเก็บรักษาเอกสารราชการจนกระทั่งมีความรู้เกี่ยวกับราชการงานเมืองเป็นอย่างดี เมื่อนางมีโอรสกับพระเจ้าเซียนฟง จึงได้เลื่อนขั้นขึ้นเป็นพระสนมเอก และได้พระนามว่า “ซูสี” ต่อมา โอรสของนางได้ขึ้นครองราชสมบัติ นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการและกลายเป็นผู้ปกครองประเทศจีนอย่างแท้จริง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เมื่อมีพระชนม์ 73 พรรษา.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 14]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงสถาปัตยกรรมจีนและญี่ปุ่นไปพร้อมกัน โดยเน้นศิลปะญี่ปุ่นมากกว่าเพราะหลงเหลือตัวอย่างมากกว่า เช่น ศาลเจ้าที่มักสร้างขึ้นเลียนแบบของโบราณ วัดโฮริวจิ และศาลาฟินิกซ์ที่เบียวโดอิน
ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงศิลปะเอเชียกลาง ที่ได้รับอิทธิพลคันธาระผสมผสานกับศิลปะจีน ตะวันตกและอิหร่าน มีการยกตัวอย่างจิตรกรรมที่มิราน กิซีล ดันดันอุยลิค เป็นต้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 13]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงจิตรกรรมสมัยราชวงศ์ซึ่งมีความเป็นธรรมชาตินิยม นิยมเขียนภาพทิวทัศน์และพันธุ์พืช มีการยกตัวอย่างชิ้นงานพร้อมกับชื่อจิตรกรคนสำคัญ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงศิลปะญี่ปุ่น ทั้งระฆังสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมเล่าเรื่องนิทานพื้นเมือง (ยามาโตเอะ) และหน้ากากสำหรับละครโนะ ท้ายสุดกล่าวถึงภาพพิมพ์ในระยะหลัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 12]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงพุทธประติมากรรมและจิตรกรรมในศิลปะจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งได้รับอิทธิพลอินเดียและส่งอิทธิพลไปถึงศิลปะญี่ปุ่น ในช่วงกลางกล่าวถึงศิลปะญี่ปุ่นทั้งประติมากรรมและจิตรกรรม เช่นที่วัดโฮริวจิ ในช่วงท้ายของบทความพูดถึงศิลปะสมัยราชวงศ์ซ่งซึ่งจิตรกรรมโดดเด่นกว่าประติมากรรม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 11]

ประติมากรรมในศิลปะสมัยราชวงศ์เว่ย (เว้) สมัยราชวงศ์เหลียง และสมัยราชวงศ์สุย ทั้งรูปสิงห์ พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงอิทธิพลพุทธศิลป์จีนต่อศิลปะญี่ปุ่นระยะต้น รวมถึงกล่าวถึงศิลปะจีนในสมัยราชวงศ์ถังด้วย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 10]

ช่วงต้นของบทความให้ข้อมูลสังเขปศิลปะจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งปรากฏเครื่องสัมฤทธิ์และประติมากรรมสลักหิน ในช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงจิตรกรรมภาพม้วนในสมัยราชวงศ์เว่ย (เว้).

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 3]

ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พงศาวดารจีนกับภาพยนตร์กำลังภายใน

กล่าวถึงประวัติราชวงศ์จีน ตั้งแต่สังคมบุรพกาล หรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมทาสได้แก่ สมัยราชวงศ์เซีย ราชวงศ์ส่าง ราชวงศ์จิวตะวันตก และราชวงศ์จิวตะวันออก สมัยสังคมศักดินาได้แก่สมัยเลียดก๊ก ราชวงศ์จิ๋น ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก สมัยสามก๊ก ราชวงศ์จิ้น สมัย 6 ราชวงศ์ ราชวงศ์วุย ราชวงศ์ถัง สมัยห้าราชวงศ์ ราชวงศ์ซ้อง ราชวงศ์หงวน และราชวงศ์เหม็ง นอกจากนั้น ยังกล่าวถึงภาพยนตร์กำลังภายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์จีน เช่น เจ้าชายฮั่วตูแห่งราชวงศ์หงวนจากเรื่องฤทธิ์หมัดสะท้านบู้ลิ้ม จูเหวียงจาง เหวินเหวิน และเอี้ยนอ๋องแห่งราชวงศ์เหม็งจากเรื่องฤทธิ์หมัดสะท้านบู้ลิ้มภาคที่ 2 กษัตริย์คังฮีแห่งราชวงศ์เช็งจากเรื่องอุ้ยเซียวป้อ องค์ชายสี่ องค์ชายสิบสี่จากเรื่องศึกสายเลือด พรรคบัวขาวจากเรื่องกระบี่ไร้เทียมทานและจอมยุทธจักรมังกรฟ้า นอกจากนั้น ยังมีภาพยนตร์เรื่องศึกสายเลือด และศึกสองนางพญา.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิชาโบราณคดีจีน [ตอนที่ 7]

โบราณคดีจีนสมัยหินเก่าจนถึงสมัยหินใหม่ (600,000 ปี มาแล้ว – 3,500 ปี ก่อนพุทธกาล) ได้ค้นพบมนุษย์ลันเถียร มนุษย์วานรที่เก่าที่สุดมีชีวิตราว 500,000 ปี มาแล้ว วัฒนธรรมแบบยางเชา (Yang-chao) วัฒนธรรมแบบซิงเหลียนกัง และวัฒนธรรมแบบลองชาน อยู่ในปลายสมัยหินใหม่ในประเทศจีน ราชวงศ์ส่างเป็นราชวงศ์ที่เริ่มใช้สัมฤทธิ์และตัวอักษรนับว่าเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริง ซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุสถานจำนวนมาก การค้นพบบ่อน้ำที่เก่าที่สุดแสดงให้เห็นว่าราชวงศ์จิวภาคตะวันตกเป็นผู้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในทิศตะวันออกไกล นอกจากนั้นยังพบภาชนะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผา และเริ่มมีระฆังจีน สมัยเลียดก๊กเป็นสมัยที่ความรู้ทางปัญญาเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีการค้นพบซากโรงหล่อโลหะ แม่พิมพ์สำหรับหล่ออาวุธ เครื่องรัก การฝังเงินฝังทองลงไปในโลหะ สร้างกำแพงเมืองจีน และกำหนดมาตราชั่งตวงวัดใหม่ ส่วนการใช้หนังสือเดินทางพบในสมัยราชวงศ์จิ๋น สมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีการสอบจอหงวน ทางเดินของสินค้าไหมกลายเป็นแกนแห่งการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศจีนกับเมืองอันติโอคุสบนฝั่งทะเลเมติเตอร์เรเนียน ระบบชลประทานดีขึ้น มีการใช้เหล็กกันทั่วไป สมัยราชวงศ์ซินในระยะนี้ พุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในประเทศจีน เริ่มมีกระเบื้องถ้วย (porcelain) สมัยราชวงศ์ถังมีการบรรจุ มิงคีหรือประติมากรรมที่เกี่ยวกับการศพนับร้อยจนกระทั่งต้องออกกฎหมายกำหนดการใช้มิงคี พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ถัง สำหรับเครื่องกระเบื้องถ้วยเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 17