Showing 53 results

Archival description
อินเดีย
Print preview View:

53 results with digital objects Show results with digital objects

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 1]

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปลพบุรี

ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปะลพบุรีในประเทศไทย 4 ภาพ ภาพที่ 1 ศิลาทับหลัง ประตูวิหารหลังข้างเหนือที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นรูปพระนารายณ์บรรทมอยู่เหนือหลังพญาอนันตนาคราช พระองค์ค่อนข้างตั้งตรงขึ้น มีดอกบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ พ.ศ. 1600-1650 ภาพที่ 2 ทับหลังศิลา เดิมอยู่ในเทวสถานพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมสินธุ์ตะแคงขวา ก้านบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ 1600-1650 ภาพที่ 3 ศิลาทับหลังประตูมุขโถง ด้านตะวันออกตอนนอกที่ปราสาทหินพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร และมีพญานาคหลายเศียรแทรกอยู่ตรงกลาง มีก้านบัวหลายก้านผุดขึ้นจากหลังพระขนงพระนารายณ์ พระพรหมประทับอยู่เหนือบัวบานก้านกลาง คาดว่าสลักขึ้นหลังสมัยปราสาทนครวัดระหว่าง พ.ศ. 1675-1700 ภาพที่ 4 ทับหลัง ณ ปรางค์กู่สวนแตง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เป็นภาพพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร พญานาคที่แทรกอยู่ตรงกลางหายไป ก้านบัวแบ่งออกเป็นหลายก้านและมีพระพรหมประทับอยู่บนก้านกลาง สลักขึ้นในสมัยหลัง ระหว่าง พ.ศ. 1700-1750.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดีย [ตอนที่ 1]

ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 3-6) พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ยังไม่ปรากฏ แต่ช่างจะใช้สัญลักษณ์แทน เช่น ดอกบัว หมายถึงปางประสูติ ต้นโพธิ์ หมายถึงปางตรัสรู้ และสถูปหมายถึงปางปรินิพพาน แต่พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ได้เริ่มปรากฏมีขึ้นในศิลปะอินเดียสมัยที่ 2 คือ ศิลปะคันธารราฐ มถุรา และอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 6-9) และในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 10-11) แบบหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) และแบบปาละ (พุทธศตวรรษที่ 14-17) พระพุทธรูปแบบคันธารราฐเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์ มีลักษณะเป็นแบบกรีก-โรมัน แต่พระพุทธรูปแบบมถุรามีลักษณะเป็นแบบอินเดียอย่างแท้จริง คือ คล้ายคลึงกับรูปเทวดาหรือยักษ์ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดีย [ตอนที่ 2]

ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 3-6) พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ยังไม่ปรากฏ แต่ช่างจะใช้สัญลักษณ์แทน เช่น ดอกบัว หมายถึงปางประสูติ ต้นโพธิ์ หมายถึงปางตรัสรู้ และสถูปหมายถึงปางปรินิพพาน แต่พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ได้เริ่มปรากฏมีขึ้นในศิลปะอินเดียสมัยที่ 2 คือ ศิลปะคันธารราฐ มถุรา และอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 6-9) และในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 10-11) แบบหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) และแบบปาละ (พุทธศตวรรษที่ 14-17) พระพุทธรูปแบบคันธารราฐเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์ มีลักษณะเป็นแบบกรีก-โรมัน แต่พระพุทธรูปแบบมถุรามีลักษณะเป็นแบบอินเดียอย่างแท้จริง คือ คล้ายคลึงกับรูปเทวดาหรือยักษ์ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดียแบบอมราวดี

ศิลปะอมราวดีเจริญขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 7 ถึงพุทธศตวรรษที่ 9 ร่วมสมัยกับศิลปะคันธารราฐ พระพุทธรูปในศิลปะอมราวดีก็คงได้รับอิทธิพลมาจากศิลปคันธารราฐและมถุราผสมกัน เพราะศิลปะอมราวดีในขั้นแรกใช้สัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธรูป จนกระทั่งต่อมาภายหลังจึงได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์ พระพุทธรูปแบบอมราวดีแบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน มักยืนหันหน้าตรงอยู่บนฐานบัว ครองจีวรทั้งห่มเฉียงและห่มคลุม 2) แบบประทับนั่ง มีเฉพาะในภาพสลักนูนต่ำเท่านั้น 3) แบบนาคปรก พระพุทธรูปนาคปรกที่เก่าที่สุดตกอยู่ในแบบพระพุทธรูปประทับนั่งห่มเฉียง แบบที่ 2 ในศิลปะอมราวดี เป็นพระพุทธรูปที่มีวิวัฒนาการโดยเฉพาะของตนเองและเจริญขึ้นในศิลปะอมราวดี 4) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท พระพุทธรูปแบบนี้แสดงถึงการคิดค้นลักษณะรูปภาพที่สำคัญแบบใหม่ ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องอยู่กับบัลลังก์ซึ่งมีรูปร่างเหมือนม้านั่งหรือเก้าอี้มีท้าวแขน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดียแบบคุปตะ

พระพุทธรูปอินเดียแบบคุปตะ เจริญขึ้นทางภาคกลางของประเทศอินเดียในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 9-10 และจัดเป็นพระพุทธรูปอินเดียที่งามที่สุด พระพุทธรูปแบบนี้มีประภามณฑลสลักเป็นลวดลายเต็มทั้งแผ่น พระเกศาขมวดกลมนูน มีพระเกตุมาลาประกอบอยู่ข้างบน พระขนงสลักเป็นเส้นนูนชัดเจนและไม่ได้จรดกัน พระเนตรมีม่านพระเนตรข้างบนตัดเป็นเส้นตรง พระศอเป็นริ้ว แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน กลุ่มแรกครองจีวรห่มคลุมเป็นริ้ว กลุ่มที่สองริ้วของผ้าจีวรหายไป และมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด 2) แบบประทับนั่ง ครองจีวรห่มคลุมเรียบและนั่งขัดสมาธิเพชรอย่างเดียว 3) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท ครองจีวรห่มคลุมเรียบไม่มีริ้ว พระพุทธรูปแบบหลังคุปตะเจริญขึ้นหลังสมัยราชวงศ์คุปตะ (ราว พ.ศ. 860-1090) ลงไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ 14 พระพุทธรูปแบบนี้มักเป็นพระพุทธรูปสลักนูน ส่วนใหญ่ไม่มีประภามณฑลประกอบ พระเกตุมาลาเป็นรูปกรวยค่อนข้างสูง ขมวดพระเกศาขนาดเล็กสลักนูนขึ้นมา และวาดเป็นเส้นตรงเหนือพระนลาฏ แบ่งเป็น 3 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน ครองผ้าจีวรทั้งห่มคลุมและห่มเฉียง 2) แบบประทับนั่ง ครองจีวรห่มคลุมและห่มเฉียง 3) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท มีลักษณะพิเศษ คือ มักแสดงปางปฐมเทศนาและครองจีวรห่มเฉียง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดียแบบหลังคุปตะ

พระพุทธรูปอินเดียแบบหลังคุปตะ อยู่ในช่วงหลังสมัยราชวงศ์คุปตะ ราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 9-14 โดยจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน เช่น พระพุทธรูปที่สลักหน้าถ้ำอชันตา พระพุทธรูปแบบทวารวดีที่เก่าที่สุดในประเทศไทยก็คงได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปกลุ่มนี้ พระพุทธรูปอินเดียแบบหลังคุปตะน่าจะรับอิทธิพลจากอินเดียภาคกลาง รวมทั้งอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี คันธารราฐ
พุทธลักษณะมีพระเกตุมาลาเป็นรูปกรวยค่อนข้างสูง ขมวดพระเกศาขนาดเล็กสลักนูนขึ้นมา การครองจีวรมีทั้งแบบห่มคลุมและครองจีวรห่มเฉียง มีทั้งเรียบไม่มีริ้ว และมีริ้ว พระหัตถ์ขวาของพระพุทธรูปในกลุ่มครองจีวรห่มคลุมมักแสดงปางประทานอภัยแต่บางครั้งก็แสดงปางประทานพร ในกลุ่มพระพุทธรูปยืนแบบครองจีวรห่มเฉียงจะยืนด้วยอาการตริภังค์ 2) กลุ่มแบบประทับนั่ง มีการทำพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเป็นจำนวนมาก พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาใหญ่และแบบพระเกตุมาลาเป็นรูปกรวย มักครองจีวรห่มเฉียง บางองค์แสดงปางประทานปฐมเทศนา เช่นที่ถ้ำอชันตาที่ 27 ปางสมาธิ ปางประทานพร นิยมนั่งขัดสมาธิเพชร อันเป็นประเพณีของศิลปะอินเดียภาคกลางและภาคเหนือ มักประทับนั่งบนฐานบัว 3) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท พบมากสุดที่ถ้ำอชันตา เอารังคาพาท กันเหรี และเอลโลรา พระพุทธรูปแบบนี้มีลักษณะพิเศษเป็นของตนเอง คือ ปางปฐมเทศนา ท่าของพระชงฆ์ พระชานุแยกออกจากกันและข้อพระบาทเข้ามาชิดกัน ผ้าจีวรมักเลิกขึ้นไปเหนือพระชงฆ์และพระโสณีด้านซ้าย ด้วยเหตุนี้ผ้าจีวรจึงคลุมเฉพาะพระชงฆ์ขวา และต่อจากนั้นจึงเลิกขึ้นไปจนถึงบั้นพระองค์เบื้องซ้าย และมักประทับนั่งเหนือบัลลังก์และพระบาทวางอยู่เหนือฐานบัว.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 1]

ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 53