Showing 10 results

Archival description
อินโดนีเซีย
Print preview View:

10 results with digital objects Show results with digital objects

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ๒ องค์ ณ เกาะเซเลเบส

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์องค์หนึ่งที่ค้นพบที่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเซเลเบส ประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ที่ค้นพบในเกาะบอร์เนียว ทั้งนี้ประติมากรรมทั้ง 2 องค์ไม่ได้ผลิตขึ้นในเกาะชวา เพราะรูปแบบศิลปกรรมที่สะท้อนความสัมพันธ์กับงานศิลปกรรมทวารวดีมากกว่า.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปประทับยืนห่มเฉียงปางประทานพรและพุทธศิลปในภาคเอเซียอาคเนย์

มีการค้นพบพระพุทธรูปศิลาองค์หนึ่งที่ตวลตาฮอย (Tuol-Ta-Hoy) ในประเทศกัมพูชา และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ มีลักษณะสำคัญคือ อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานพร และครองจีวรห่มเฉียง
จากการศึกษารูปแบบ สามารถจัดประติมากรรมองค์ดังกล่าวไว้ในสมัยก่อนเมืองพระนคร อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ใช่พระพุทธรูปที่เก่าที่สุดในยุคดังกล่าว เนื่องจากการแกะสลักจีวรค่อนข้างคร่าว ดังนั้น จึงไม่อาจมีอายุเก่าไปกว่า พ.ศ.1150-1200 รูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปองค์นี้ยังเป็นหลักฐานแสดงถึงบทบาทการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากทางตอนใต้ของอินเดีย
นอกจากนี้ หากพิจารณาความหมายทางด้านประติมานวิทยา การศึกษาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปที่ตวลตาฮอยอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าทีปังกร.

Boisselier, Jean

พระธยานิพุทธที่บุโรพุทโธในเกาะชวา

บุโรพุทโธในเกาะชวาเป็นศาสนสถานที่ประกอบด้วยระเบียงในผังสี่เหลี่ยม 4 ชั้น เหนือขึ้นไปเป็นลานวงกลม 3 ชั้น ทั้งนี้ ผนังด้านในของระเบียงผังสี่เหลี่ยมแต่ละชั้นใช้เป็นผนังด้านนอกของระเบียงชั้นต่อไปขึ้นไปข้างบนจึงทำให้ระเบียงมี 4 ชั้น แต่ผนังมี 5 ชั้น
ที่ผนังระเบียงเหล่านี้นอกจากจะแกะสลักภาพเล่าเรื่องจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาแล้ว ยังมีการประดิษฐานประติมากรรมพระพุทธรูปภายในซุ้ม โดยพระพุทธรูปในแต่ละชั้นแสดงปาง (มุทรา) ต่างกัน ส่วนลานวงกลมด้านบนประดิษฐานสถูปเจาะรูเล็ก ๆ ภายในสถูปแต่ละองค์ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งแสดงปาง (มุทรา) เดียวกัน สถูปเหล่านี้เรียงรายเป็นแถว 3 แถวล้อมรอบสถูปใหญ่ผนังทึบไว้ตรงกลาง ภายในสถูปองค์นี้ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ยังแกะสลักไม่เสร็จ
ศาสตราจารย์ ฟัน โลฮุยเซน เดอ ลิว ศึกษาตีความทางประติมานวิทยาของพระพุทธรูปกลุ่มดังกล่าว สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปที่ผนังระเบียง 4 ชั้นแรกแทนพระธยานิพุทธเจ้าประจำทิศหลักทั้ง 4 ทิศ ส่วนพระพุทธรูปในระเบียงชั้นที่ 5 เป็นพระสมันตภัทรในสถานะพระธยานิพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ส่วนพระพุทธรูปภายในสถูปที่เจาะรูเล็ก ๆ หมายถึงพระมหาไวโรจนะ เป็นพระธยานิพุทธเจ้าองค์ที่ 6 ส่วนประติมากรรมที่อยู่ภายในสถูปองค์กลางอาจสัมพันธ์กับนิกายที่นับถือพระวัชรสัตว์และพระวัชรธรในสถานะสูงสุด.

Van Lohuizen-de Leeuw, J.E.

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 5]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงทับหลังในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเมืองพระนคร ซึ่งมีพัฒนาการเป็นลำดับ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงเสาประดับกรอบประตูขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 4]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงการเผยแพร่ของวัฒนธรรมอินเดีย ต่อมาได้กล่าวถึงศิลปะชวาภาคกลางในประเทศอินโดนีเซียโดยเฉพาะ ทั้งสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าจันทิ ประติมากรรมในศาสนาพุทธและฮินดูที่คล้ายกับศิลปะอินเดียอย่างมาก มีการยกตัวอย่างจากบุโรพุทโธและจันทิอื่น ๆ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การยกทัพของอาณาจักรศรีวิชัย

จารึกของอาณาจักรศรีวิชัยที่เก่าที่สุดสลักอยู่บนก้อนหินซึ่งค้นพบที่เกดุกัน บุกิต เชิงเขาเซกุนตัง เมืองปาเล็มบัง ในเกาะสุมาตรา ศาสตราจารย์เซเดส์ มีความเห็นแย้งกับนักโบราณคดีอื่นที่สันนิษฐานว่า อาณาจักรศรีวิชัยตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1225 แต่ ศาสตราจารย์ เซเดส์ คัดค้านว่า อาณาจักรศรีวิชัยได้ตั้งมาก่อนหน้านั้น สิ่งสำคัญในจารึกก็คือ ระยะเวลาการออกเดินทางจากราชธานีและการยกทัพออกจากจุดที่ยกพลขึ้นบก รวมทั้งระยะเวลาที่อาณาจักรศรีวิชัยได้ครอบครองประเทศ (วเนา) อาจสรุปได้ว่า จารึกนี้เป็นจารึกเพื่อฉลองการยกทัพของอาณาจักรศรีวิชัยที่มีชัยชนะต่อประเทศกัมพูชา โดยมีหลักฐานสนับสนุนดังนี้ 1) ระยะเวลาที่พ้องกันพอดี คือ พ.ศ. 1225 เป็นระยะเวลาสุดท้ายแห่งรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 2) พระราชาแห่งราชอาณาจักรศรีวิชัยทราบพระนามว่า ชัยนาศ ซึ่งอาจหมายถึง ผู้ทำลายชัยชนะ (ของศัตรู) หรือหมายถึง ผู้ทำลายชัย คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 4) คำว่า มินางะ ตามวัน อาจมาจากคำพื้นเมืองซึ่งหมายถึงกลุ่มชนชาติล้าหลัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Exhibition of Masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 4]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. Art objects of Sukothai period, regarded as the best period of Thai art, will be described.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 1]

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล