Showing 70 results

Archival description
ไทย
Print preview View:

69 results with digital objects Show results with digital objects

เนื้อหาจัดแสดงภายในนิทรรศการ 100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมเสวนา “100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล” ผ่านการถ่ายทอดพระเกียรติคุณของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ในบทบาทฐานะอาจารย์ , บทบาทในฐานะภัณฑารักษ์, บทบาทในฐานะมัคคุเทศก์, บทบาทในฐานะนักวิชาการ, บทบาทในฐานะการจัดการมรดกวัฒนธรรมระดับนานาชาติ
โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ และอดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวางแผนพัฒนา, ศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์, ศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นผู้ร่วมเสวนา และดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี

หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เสวนา 100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมเสวนา “100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล” ผ่านการถ่ายทอดพระเกียรติคุณของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ในบทบาทฐานะอาจารย์ , บทบาทในฐานะภัณฑารักษ์, บทบาทในฐานะมัคคุเทศก์, บทบาทในฐานะนักวิชาการ, บทบาทในฐานะการจัดการมรดกวัฒนธรรมระดับนานาชาติ
โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ และอดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวางแผนพัฒนา, ศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์, ศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นผู้ร่วมเสวนา และดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี

หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร

โปสเตอร์ นิทรรศการ 100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดกิจกรรมรำลึก ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ผ่านนิทรรศการ “100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล”
โดยมี หม่อมราชวงศ์ดำรงเดช ดิศกุล ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดนิทรรศการ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้กล่าวคำรำลึกถึงท่านอาจารย์ สำหรับนิทรรศการครั้งนี้ สมาชิกราชสกุลดิศกุลศาสตราจารย์ ดร.ภก.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร คณบดี ทีมผู้บริหารสำนักหอสมุดกลาง ศิษย์เก่าตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมพิธีเปิดและชมนิทรรศการฯ โดยมี ผศ.นันทพล จั่นเงิน ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะผู้จัดงาน ได้ทำหน้าที่นำชมในครั้งนี้
ในพิธีเปิดนิทรรศการฯ ครั้งนี้ สมาคมนักศึกษาเก่าคณะโบราณคดี ได้มอบพระรูปประติมากรรม ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ให้แก่หอสมุดวังท่าพระ โดย ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ผู้แทนสมาคมฯ เป็นผู้มอบ
ภายในนิทรรศการบอกเล่าบทบาทสำคัญทั้ง 5 บทบาทของท่านอาจารย์ ได้แก่ บทบาทในฐานะอาจารย์ , บทบาทในฐานะภัณฑารักษ์, บทบาทในฐานะมัคคุเทศก์, บทบาทในฐานะนักวิชาการ, บทบาทในฐานะการจัดการมรดกวัฒนธรรมระดับนานาชาติ ตลอดจนการจัดแสดง ต้นฉบับลายมือ ต้นฉบับบทความ หนังสือและภาพถ่ายของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล
นิทรรศการ “100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล” จัดแสดงระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน - 28 ธันวาคม 2566

หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศิลาจารึกบ่ออีกา

บ่ออีกา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองราชสีมาเก่า โบราณวัตถุที่ค้นพบได้แก่ จารึกศิลาทรายสีแดง ขนาด 1.10 x 0.56 x 0.25 เมตร หลักหนึ่ง ซึ่งแตกออกเป็น 2 ชิ้น แต่ละด้านมีจารึกภาษาสันสกฤต ใช้ตัวอักษรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา จารึกที่เก่าที่สุดประกอบด้วยจารึก 4 บรรทัด ประกอบเป็นคาถา “สรัคธรา” สลักด้วยตัวอักษรขนาดค่อนข้างใหญ่ ข้อความในจารึกที่อ่านได้เกี่ยวกับพุทธศาสนา และกล่าวถึงพระราชาแห่งอาณาจักรศรีจนาศะทรงอุทิศปศุสัตว์และทาสทั้งชายหญิงถวายแด่พระภิษุสงฆ์ จารึกด้านที่ 2 เป็นภาษาสันสกฤต 12 บรรทัด และจารึกภาษาขอม 5 บรรทัด กล่าวถึงการสรรเสริญพระอิศวรก่อนกล่าวถึงอังศเทพ หลักฐานสำคัญของจารึกหลักนี้ก็คือ ทำให้ทราบว่าใน พ.ศ. 1411 ดินแดนจังหวัดนครราชสีมา อาจเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรโบราณชื่อ จนาศะ ซึ่งยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชา.

ฉ่ำ ทองคำวรรณ

ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอม

ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอมปรากฏหลักฐานให้เห็นทั้งในงานสถาปัตยกรรมในศาสนาและประติมากรรม โดยในกลุ่มประติมากรรมยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เทวรูปในศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธรูป ทั้งนี้ การที่ศิลปกรรมสมัยก่อนเมืองพระนครปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเท่านั้น เนื่องจากในสมัยโบราณ การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมไปถึงพระราชวัง สร้างด้วยวัสดุที่ไม่คงทนถาวร ต่างจากการสร้างศาสนสถานและประติมากรรมในศาสนา นอกจากนี้ หลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า ศิลปะขอมได้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดีย และต่อมามีการพัฒนารูปแบบเป็นของตนเอง โดยเฉพาะประติมากรรม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลปทวารวดี ตอนที่ ๑

ศิลปะทวารวดีแบ่งเป็น 2 สมัยใหญ่ ๆ คือ 1) สมัยก่อนทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 8-11 ปรากฏมีการวางรากฐานแห่งอารยธรรมอินเดียโดยเฉพาะทางพุทธศาสนาลงในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันมีการสร้างงานศิลปกรรมแบบพื้นเมืองรุ่นแรกที่เลียนแบบหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปวัตถุอินเดีย 2) สมัยทวาราวดีอย่างแท้จริง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12-17 ซึ่งแบ่งเป็น 4 สมัยย่อย คือ สมัยเริ่มก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12, สมัยก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13, สมัยฟื้นฟูใหม่ ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15, สมัยเสื่อม ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยในแต่ละยุคสมัยมีรูปแบบศิลปกรรมที่แสดงถึงการผสมผสานแรงบันดาลใจจากภายนอกและความคิดของช่างพื้นถิ่น.

Boisselier, Jean

รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507

ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.

Boisselier, Jean

พระโพธิสัตว์เปล่งรัศมี

แนวคิดเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์เปล่งรัศมีไม่ได้มีแต่เฉพาะพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเท่านั้น แต่คัมภีร์ในพระพุทธศาสนาหลายเล่ม ระบุลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะเฉพาะของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เช่น คัมภีร์กรัณฑพยุหะ เป็นต้น โดยในการเปล่งรัศมีของพระองค์ ปรากฏเทวดา พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ อยู่ภายในรัศมีหรือประภามณฑลของพระโพธิสัตว์ ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวมีผลต่อการสร้างงานศิลปกรรมหลายที่ เช่น ศิลปะเนปาล และศิลปะขอม.

Louis, Finot

พระพุทธรูปประทับยืนห่มเฉียงปางประทานพรและพุทธศิลปในภาคเอเซียอาคเนย์

มีการค้นพบพระพุทธรูปศิลาองค์หนึ่งที่ตวลตาฮอย (Tuol-Ta-Hoy) ในประเทศกัมพูชา และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ มีลักษณะสำคัญคือ อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานพร และครองจีวรห่มเฉียง
จากการศึกษารูปแบบ สามารถจัดประติมากรรมองค์ดังกล่าวไว้ในสมัยก่อนเมืองพระนคร อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ใช่พระพุทธรูปที่เก่าที่สุดในยุคดังกล่าว เนื่องจากการแกะสลักจีวรค่อนข้างคร่าว ดังนั้น จึงไม่อาจมีอายุเก่าไปกว่า พ.ศ.1150-1200 รูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปองค์นี้ยังเป็นหลักฐานแสดงถึงบทบาทการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากทางตอนใต้ของอินเดีย
นอกจากนี้ หากพิจารณาความหมายทางด้านประติมานวิทยา การศึกษาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปที่ตวลตาฮอยอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าทีปังกร.

Boisselier, Jean

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามกับนางแอนนา ลิโอโนเวนส์

นางแอนนา ลิโอโนเวนส์ เป็นครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักสยามสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเดินทางกลับประเทศ นางแอนนาแต่งหนังสือขึ้น 2 เล่ม คือ “ครูหญิงชาวอังกฤษ ณ ราชสำนักไทย” (The English Governess at the Siamese Cour) และ “ความรักในฮาเร็ม” (The Romance of the Harem) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่นางแอนนาระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่นางได้พบระหว่างเป็นครูสอนภาษาอังกฤษอยู่ในราชสำนักสยาม อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ที่บันทึกไว้หลายเหตุการณ์มีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เนื่องจากนางแอนนาบันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ตามทัศนคติและความเข้าใจของตนเอง รวมไปถึงเหตุการณ์หลายอย่างคัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ไม่ใช่จากประสบการณ์ของนางแอนนาเอง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 70