Showing 49 results

Archival description
กัมพูชา
Print preview View:

49 results with digital objects Show results with digital objects

ความก้าวหน้าในการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ

การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปเอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ 3 เรื่อง 1) ปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรเจนละ โดยทั่วไป ประวัติศาสตร์สมัยโบราณในประเทศกัมพูชาสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (pre-Angkorean period) และมีอายุก่อน พ.ศ. 1355 นั้น นิยมใช้ชื่อตามที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุจีน คือ อาณาจักรฟูนัน และอาณาจักรเจนละ ซึ่งนักวิชาการหลายท่านสนใจศึกษาค้นคว้า เช่น ศาสตราจารย์โคลด ชาค (Claude Jacques) ศาสตราจารย์เปลลิโอต์ (Paul Pelliot) ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) ศาสตราจารย์ฟิโนต์ (Louis Finot) ศาสตราจารย์ดูปองต์ (P. Dupont) 2) เดิม ศาสตราจารย์เซเดส์ เขียนไว้ในหนังสือว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ของขอมทรงเป็นเชื้อชาติมาลายู และเสด็จขึ้นมาจากเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาได้เปลี่ยนความเห็นว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงเป็นจ้าชายขอมแต่ดั้งเดิม 3) หลักฐานทางด้านโบราณคดีที่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นซากโบราณสถานที่เนินทางพระ พบวัตถุสำคัญที่สลักจากศิลาคือ องค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรยืน เศียรพระพุทธรูป ประติมากรรมสัมฤทธิ์ เช่น เศียรพระพุทธรูปหรือพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดเล็ก และพระพิมพ์ เครื่องประดับปูนปั้นรูปเทวดา มนุษย์และยักษ์ ประติมากรรมปูนปั้นในศาสนาฮินดู เศียรเทวดา ครุฑ ลวดลายพันธุ์พฤกษา แผ่นอิฐมีจารึกตัวอักษรขอมว่า “ ก “ และเครื่องมือเหล็กสำหรับสกัดศิลา หลักฐานที่ค้นพบนี้ยืนยันว่า เมืองสุวรรณปุระในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ในประเทศกัมพูชา คงจะเป็นเมืองสุพรรณบุรีของไทยอย่างแน่นอน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ทับหลังแบบถาลาบริวัตรในประเทศไทย

นางมิเรย เบนิสตี (Mireille Benisti) กล่าวถึงทับหลังแบบถาลาบริวัต (Thala Borivat) ว่าเป็นทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดของศิลปขอมในราวกลาง พุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งค้นพบทับหลังศิลา 6 ชิ้น ที่ถาลาบริวัต บริเวณฝั่งขวาของแม่โขง และพบที่ปราสาทขตป (Khtop) 2 ชิ้น นางเบนิสตี เห็นว่าทับหลังซึ่งค้นพบที่ถาลาบริวัตเก่ากว่าที่สมโบร์ไพรกุก และถาลาบริวัตอาจเป็นสถานที่ตั้งของเมืองภวปุระของพระเจ้าภรวรมัน สำหรับทับหลัง 2 ชิ้น ซึ่งค้นพบที่ปราสาทขตปนั้น นางเบนิสตีเห็นว่าคงสลักขึ้นในปลายศิลปแบบสมโบร์ไพรกุก ราว พ.ศ. 1200 ในประเทศไทยได้ค้นพบทับหลังแบบถาลาบริวัต 4 ชิ้นที่วัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี ซึ่งนับว่าเป็นทับหลังขอมแบบถาลาบริวัตอย่างแท้จริง นอกจากนั้น ยังได้ค้นพบศิลาจารึกขอมในพุทธศตวรรษที่ 12 หลักหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงการสร้างศาสนสถานของพระเจ้าอีศานวรมันท ี่1 พร้อมกันนี้ยังมีทับหลังอีกชิ้นหนึ่งซึ่งรักษาอยู่หน้าอุโบสถวัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี อาจกล่าวได้ว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปขอมแบบ ถาลาบริวัตและสมโบร์ไพรกุก และอาจสลักขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1150.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปลพบุรี

ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปะลพบุรีในประเทศไทย 4 ภาพ ภาพที่ 1 ศิลาทับหลัง ประตูวิหารหลังข้างเหนือที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นรูปพระนารายณ์บรรทมอยู่เหนือหลังพญาอนันตนาคราช พระองค์ค่อนข้างตั้งตรงขึ้น มีดอกบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ พ.ศ. 1600-1650 ภาพที่ 2 ทับหลังศิลา เดิมอยู่ในเทวสถานพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมสินธุ์ตะแคงขวา ก้านบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ 1600-1650 ภาพที่ 3 ศิลาทับหลังประตูมุขโถง ด้านตะวันออกตอนนอกที่ปราสาทหินพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร และมีพญานาคหลายเศียรแทรกอยู่ตรงกลาง มีก้านบัวหลายก้านผุดขึ้นจากหลังพระขนงพระนารายณ์ พระพรหมประทับอยู่เหนือบัวบานก้านกลาง คาดว่าสลักขึ้นหลังสมัยปราสาทนครวัดระหว่าง พ.ศ. 1675-1700 ภาพที่ 4 ทับหลัง ณ ปรางค์กู่สวนแตง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เป็นภาพพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร พญานาคที่แทรกอยู่ตรงกลางหายไป ก้านบัวแบ่งออกเป็นหลายก้านและมีพระพรหมประทับอยู่บนก้านกลาง สลักขึ้นในสมัยหลัง ระหว่าง พ.ศ. 1700-1750.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระศิวนาฏราชในศิลปลพบุรี

พระศิวนาฏราช หรือ พระอิศวรทรงฟ้อนรำ จัดเป็นประติมากรรมที่สำคัญที่สุดในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะขอมนั้นเป็นภาพสลักนูนต่ำทั้งสิ้น ไม่เคยค้นพบประติมากรรมลอยตัวรูปพระศิวนาฏราชเลย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะลพบุรีเป็นภาพสลักนูนต่ำ 4 รูป คือ 1) ภาพสลักบนหน้าบันด้านในของปราสาทนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร อายุอยู่ในราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1650 เป็นพระศิวนาฏราชสวมมงกุฏมี 10 กร 2) ทับหลังของปราสาทองค์กลางที่ ปราสาทบ้านระแงง อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1650 ทับหลังมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ ตรงกลางเป็นรูปพระศิวนาฏราช 10 กร 3) บนหน้าบันของมุขด้านใต้ของปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีภาพสลักเป็นรูปพระศิวนาฏราชหลายกร คงสร้างขึ้นราวระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 4) ทับหลังศิลา เดิมอยู่ที่ปรางค์กู่สวนแตง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภาพพระศิวนาฏราช 2 กร อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 รูปพระศิวนาฏราชหรือพระอิศวรทรงฟ้อนรำของศิลปะลพบุรีในประเทศไทย ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอมราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1750 อิทธิพลดั้งเดิมคงมาจากประเทศอินเดียภาคเหนือ แต่ในศิลปะลพบุรีอาจมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียภาคใต้เข้ามาปะปนอยู่บ้าง จึงมีรูปยักษ์เข้ามาผสมอยู่.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Prasat Phra Viharn

Prasat Phra Viharn is one of the most beautiful ruins of antiquity. Situated at a majestic height on the Dongrek Mountain Range, which marks the frontier between Cambodia and south-east Thailand, it is a Khmer shrine built between the 11th and 13th centuries. A series of sanctuaries and flights of stone stairways leads up the mountain to the temple tower, the centre of the worship of the god Siอa, to whom the shrine was dedicated. The extensive ruins, older than Angkor Wat, are evocatively preserved; roofs and columns have fallen, but the great native stone walls remain, and the massive carvings have been only softened and mellowed by the centuries.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

600 ปี แห่งประวัติเมืองพระนครของขอม

ประวัติศาสตร์ของเมืองพระนครเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.1345 กษัตริย์ขอมที่ครองราชย์สมัยเมืองพระนครที่สำคัญได้แก่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พระองค์กระทำพิธีราชาภิเษกเป็นพระจักรพรรดินับว่าเป็นกษัตริย์องค์แรกในสมัยนี้และตั้งราชธานีที่เมืองหริหราลัย พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทพระโคและปราสาทบากอง พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ทรงสร้างสระบารายตะวันออกและปราสาทโลเลย ทรงสร้างปราสาทพนมบาแค็ง ปราสาทพนมกรมและปราสาทพนมบก พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทปักษีจำกรง พระเจ้าราเชนทรวรมันทรงสร้างปราสาทแม่บุญตะวันออกกลางบารายตะวันออกและปราสาทแปรรูป พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทพนมชิสอร์ ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทพิมานอากาศ พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทบาปวน ปราสาทแม่บุญตะวันตก พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างประสาทนครวัด พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทพระขรรค์ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างปราสาทตาพรหม ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทตาสม และปราสาท ทรงเป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่ในสมัยเมืองพระนครและในประวัติศาสตร์ของขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 49