Showing 4 results

Archival description
เกาะชวา (อินโดนีเซีย)
Print preview View:

4 results with digital objects Show results with digital objects

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 4]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงการเผยแพร่ของวัฒนธรรมอินเดีย ต่อมาได้กล่าวถึงศิลปะชวาภาคกลางในประเทศอินโดนีเซียโดยเฉพาะ ทั้งสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าจันทิ ประติมากรรมในศาสนาพุทธและฮินดูที่คล้ายกับศิลปะอินเดียอย่างมาก มีการยกตัวอย่างจากบุโรพุทโธและจันทิอื่น ๆ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 5]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงทับหลังในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเมืองพระนคร ซึ่งมีพัฒนาการเป็นลำดับ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงเสาประดับกรอบประตูขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระธยานิพุทธที่บุโรพุทโธในเกาะชวา

บุโรพุทโธในเกาะชวาเป็นศาสนสถานที่ประกอบด้วยระเบียงในผังสี่เหลี่ยม 4 ชั้น เหนือขึ้นไปเป็นลานวงกลม 3 ชั้น ทั้งนี้ ผนังด้านในของระเบียงผังสี่เหลี่ยมแต่ละชั้นใช้เป็นผนังด้านนอกของระเบียงชั้นต่อไปขึ้นไปข้างบนจึงทำให้ระเบียงมี 4 ชั้น แต่ผนังมี 5 ชั้น
ที่ผนังระเบียงเหล่านี้นอกจากจะแกะสลักภาพเล่าเรื่องจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาแล้ว ยังมีการประดิษฐานประติมากรรมพระพุทธรูปภายในซุ้ม โดยพระพุทธรูปในแต่ละชั้นแสดงปาง (มุทรา) ต่างกัน ส่วนลานวงกลมด้านบนประดิษฐานสถูปเจาะรูเล็ก ๆ ภายในสถูปแต่ละองค์ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งแสดงปาง (มุทรา) เดียวกัน สถูปเหล่านี้เรียงรายเป็นแถว 3 แถวล้อมรอบสถูปใหญ่ผนังทึบไว้ตรงกลาง ภายในสถูปองค์นี้ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ยังแกะสลักไม่เสร็จ
ศาสตราจารย์ ฟัน โลฮุยเซน เดอ ลิว ศึกษาตีความทางประติมานวิทยาของพระพุทธรูปกลุ่มดังกล่าว สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปที่ผนังระเบียง 4 ชั้นแรกแทนพระธยานิพุทธเจ้าประจำทิศหลักทั้ง 4 ทิศ ส่วนพระพุทธรูปในระเบียงชั้นที่ 5 เป็นพระสมันตภัทรในสถานะพระธยานิพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ส่วนพระพุทธรูปภายในสถูปที่เจาะรูเล็ก ๆ หมายถึงพระมหาไวโรจนะ เป็นพระธยานิพุทธเจ้าองค์ที่ 6 ส่วนประติมากรรมที่อยู่ภายในสถูปองค์กลางอาจสัมพันธ์กับนิกายที่นับถือพระวัชรสัตว์และพระวัชรธรในสถานะสูงสุด.

Van Lohuizen-de Leeuw, J.E.

พระพุทธรูปประทับยืนห่มเฉียงปางประทานพรและพุทธศิลปในภาคเอเซียอาคเนย์

มีการค้นพบพระพุทธรูปศิลาองค์หนึ่งที่ตวลตาฮอย (Tuol-Ta-Hoy) ในประเทศกัมพูชา และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ มีลักษณะสำคัญคือ อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานพร และครองจีวรห่มเฉียง
จากการศึกษารูปแบบ สามารถจัดประติมากรรมองค์ดังกล่าวไว้ในสมัยก่อนเมืองพระนคร อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ใช่พระพุทธรูปที่เก่าที่สุดในยุคดังกล่าว เนื่องจากการแกะสลักจีวรค่อนข้างคร่าว ดังนั้น จึงไม่อาจมีอายุเก่าไปกว่า พ.ศ.1150-1200 รูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปองค์นี้ยังเป็นหลักฐานแสดงถึงบทบาทการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากทางตอนใต้ของอินเดีย
นอกจากนี้ หากพิจารณาความหมายทางด้านประติมานวิทยา การศึกษาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปที่ตวลตาฮอยอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าทีปังกร.

Boisselier, Jean