ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอม
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-02-084
Item
2532
Part of บทความ
ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอมปรากฏหลักฐานให้เห็นทั้งในงานสถาปัตยกรรมในศาสนาและประติมากรรม โดยในกลุ่มประติมากรรมยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เทวรูปในศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธรูป ทั้งนี้ การที่ศิลปกรรมสมัยก่อนเมืองพระนครปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเท่านั้น เนื่องจากในสมัยโบราณ การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมไปถึงพระราชวัง สร้างด้วยวัสดุที่ไม่คงทนถาวร ต่างจากการสร้างศาสนสถานและประติมากรรมในศาสนา นอกจากนี้ หลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า ศิลปะขอมได้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดีย และต่อมามีการพัฒนารูปแบบเป็นของตนเอง โดยเฉพาะประติมากรรม.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ประติมากรรมสัมฤทธิ์จากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-035
Item
2516
Part of บทความ
มีการค้นพบประติมากรรมสำริดจำนวนหนึ่ง ที่ปราสาทแห่งหนึ่งในอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และถูกนำลักลอบออกนอกประเทศเกือบหมด คงมีเหลืออยู่แต่ในพิพิธภัณฑ์ของเอกชนเพียง 2-3 รูปเท่านั้น นายอัลแบรต์ เลอบอนเนอ (Albert Le Bonheur) กล่าวถึงรูปพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด สูง 46 เซนติเมตร ซึ่งพิพิธภัณฑ์กีเมต์ได้ซื้อไว้ โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประติมากรรมสำริดซึ่งค้นพบที่อำเภอประโคนชัยเหล่านี้ กับอาณาจักรศรีจานาศะ และค้านความคิดเห็นของ ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ เกี่ยวกับอิทธิพลของศิลปศรีวิชัยสำหรับลักษณะรูปภาพ (iconography) ของประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย นายเลอบอนเนอได้นำไปเปรียบเทียบกับภาพสลักที่ถ้ำเขาถมอรัตน์ ใกล้กับเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำหรับการกำหนดอายุเห็นว่ายังไม่อาจกระทำได้อย่างแน่นอน ส่วนนางสาวเอมมา ซี บังเกอร์ (Emma C. Bunker) ได้รวบรวมรูปภาพเกี่ยวกับประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย และให้รูปปราสาทอิฐที่ค้นพบประติมากรรมสำริดเหล่านี้ไว้ด้วย แต่ไม่ได้บอกชื่อปราสาท พร้อมทั้งรูปประติมากรรมสำริดที่ค้นพบอีก 24 รูป ซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา และร้านค้าของเก่า.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
โบราณศิลปวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทย
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-033
Item
2531
Part of บทความ
โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทยและปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์เอกชนประเทศสหรัฐอเมริกาจากหนังสือเรื่อง The Ideal Image, the Gupta Sculptural Tradition and Its Influence แต่งโดย Pratapaditya Pal ได้แก่ 1) พระพุทธรูปสำริดปางทรงแสดงธรรม สูงประมาณ 5 เซนติเมตร คล้ายกับศิลปะทวารวดี 2) เทพธิดาศิลาทราย (เทวสตรี) 4 กร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร คล้ายกับเทวรูปที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 3) พระพุทธรูปศิลาทราย สูงประมาณ 1.10 เมตร สมัยทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 4) พระพิมพ์ดินเผา สูงประมาณ 12 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับพระพิมพ์ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 5) พระอิศวรศิลา สูงประมาณ 70 เซนติเมตร กล่าวว่าได้มาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 6) แผ่นทองดุนนูนรูปพระอิศวร สูงประมาณ 17 เซนติเมตร อาจพบที่เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 7) แผ่นเงินดุนนูนรูปพระพุทธองค์ สูงประมาณ 14 เซนติเมตร คล้ายกับที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 8) พระพุทธรูปสำริด ยืนตริภังค์ สูงประมาณ 51 เซนติเมตร จัดอยู่ในศิลปะทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 9) พระพุทธรูปสำริด สูงประมาณ 22 เซนติเมตร จัดอยู่ในศิลปะทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 10) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สูงประมาณ 44 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายกับที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 11) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด สูงประมาณ 1.20 เมตร ลักษณะคล้ายกับศิลปะขอม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 โดยบทความนี้หวังว่าให้คนไทยมีความกระตือรือร้นในการสงวนรักษาโบราณวัตถุสถานของเราให้มากยิ่งขึ้น.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทย
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-031
Item
2531
Part of บทความ
วัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทยจากที่พบในหนังสือเรื่อง The Ideal Image, the Gupta Sculptural Tradition and Its Influence แต่งโดย Pratapaditya Pal มีทั้งหมด 11 ชิ้น ดังนี้ 1) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางทรงแสดงธรรม สูงประมาณ 5 เซนติเมตร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 10-11 2) รูปเทพธิดาศิลาทราย 4 กร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร 3) พระพุทธรูปศิลาทราย สูง 1.10 เมตร สมัยทวาราวดี 4) พระพิมพ์ดินเผารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสูง 12 เซนติเมตร 5) รูปพระอิศวรศิลาสูงประมาณ 70 เซนติเมตร มาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 6) แผ่นทองดุนนูนเป็นรูปพระอิศวร สูง 17 เซนติเมตร อาจมาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 7) แผ่นเงินดุนนูนเป็นรูปพระพุทธองค์ สูง 14 เซนติเมตร อาจค้นพบจาก อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 8) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนสูง 51 เซนติเมตร ศิลปทวาราวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 9) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ สูง 22 เซนติเมตร คาดว่าค้นพบทางภาคใต้ของประเทศไทย 11) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร เป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดและงามที่สุดองค์หนึ่งในบรรดาประติมากรรมซึ่งค้นพบที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล