ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 6]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-036
- Item
- 2511
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะกลาง จำนวน 4 สมัย คือศิลปะแปรรูป ศิลปะบันทายศรี ศิลปะคลังและศิลปะบาปวน มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญ ซึ่งมีทั้งพัฒนาการและการเลียนแบบศิลปะรุ่นเก่า มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 10]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-040
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าหลักในศาสนาฮินดู ทั้งพระพรหม พระนารายณ์และอวตารของพระองค์ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นนรสิงหาวตาร ตรีวิกรม พระราม พระกฤษณะ พระพลราม พระกัลกิน จากนั้นจึงกล่าวถึงพระอิศวรและศิวลึงค์ ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงประติมากรรมผสมทั้งพระหริหระและอรรธนารีศวร.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 11]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-041
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าชั้นรองในศาสนาฮินดู ทั้งพระคเณศ พระขันธกุมาร พระอาทิตย์ พระอินทร์ เทพผู้รักษาทิศ จากนั้นกล่าวถึงเทวสตรี อันได้แก่พระอุมา พระลักษมี ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงเทวดาชั้นรอง เช่น ทวารบา เทพธิดา นางอัปสร คณะ อสูร นาค คนธรรพ์.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 13]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-043
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงพัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม อันได้แก่ สิงห์ หงส์ ม้า ลิง เต่า มกร คชสีห์ มังกร ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงลายพันธุ์พฤกษา ทั้งในศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 16]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-046
- Item
- 2513
Part of บทความ
ประติมากรรมสัมฤทธิ์สมัยหลังเมืองพระนครสามารถแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ ประติมากรรมขนาดเล็ก เครื่องใช้ในกิจพิธีและเครื่องใช้สอย เชิงเทียน กระดึง ภาชนะต่าง ๆ เครื่องม้า และอาวุธ ประติมากรรมเหล่านี้ส่วนหนึ่งยังคงรักษารูปแบบศิลปะสมัยเมืองพระนคร แต่บางส่วนแสดงถึงอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะไทย นอกจากนี้ ยังมีศิลปกรรมแขนงอื่น ๆ ของศิลปะเขมรทั้งในสมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยเมืองพระนคร และสมัยหลังเมืองพระนคร ที่น่าศึกษา ได้แก่ เครื่องเหล็ก เครื่องทองและเงิน (ในบทความใช้คำว่า “เครื่องเพชรพลอย) โดยในกลุ่มหลังนี้ ประกอบด้วย เครื่องเพชรพลอย แม่พิมพ์เครื่องประดับ ที่ประทับตรา และเงินตรา.
Boisselier, Jean
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 7]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-076
- Item
- 2515
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 3 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย) รูปแบบประติมานวิทยาของพระนารายณ์ที่พบในอาณาจักรขอม ยังมีรูปพระนารายณ์ปางตรีวิกรม หรือตรีบาท พบในภาพเขียนและภาพสลักนูนต่ำเท่านั้น ในส่วนปราสาทนครวัดมีภาพสลักนูนต่ำที่แสดงพระนารายณ์อวตารเป็นพระรามตามเรื่องราวในคัมภีร์รามายณะ อย่างไรก็ตามการอวตารเป็นพระกฤษณะดูจะสำคัญที่สุด และยังปรากฎรูปวราหาวตาร นรสิงหาวตาร และกูรมาวตาร ซึ่งการบูชาพระนารายณ์ในปางต่างๆแพร่หลายมากในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นอกจากเทวรูปมีการสร้างพระวิษณุบาทเป็นสัญลักษณ์ด้วย พระนารายณ์มีศักติคือพระศรีหรือพระลักษมีและพระเทวีหรือพระอุมา และมีการสร้างรูปของพระชายาทั้งสององค์ จากหลักฐานจารึกและงานศิลปกรรมสามารถกล่าวได้ว่าศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไวษณพนิกายในอาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย ซึ่งดินแดนแถบมธุราก็ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอาณาจักรขอมด้วย
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 9]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-078
- Item
- 2515
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 4 การเคารพบูชาเทพชั้นรอง) พระขันธกุมาร ในอาณาจักรขอมไม่พบว่ามีการบูชาอย่างแพร่หลาย มีจารึกและประติมากรรมอยู่เล็กน้อย เป็นรูปพระขันธกุมารมี 2 กร ประทับนั่งเหนือนกยูงและพระกรยึดคอนกยูงอยู่ เทวดาผู้รักษาทิศและเทวดานพเคราะห์ เทวดาผู้รักษาทิศมีจำนวนแตกต่างกันไป มีจำนวน 8 องค์หรือ 10 องค์ สลักเป็นภาพนูนต่ำประจำทิศของอาคาร ชื่อผู้รักษาทิศจะแตกต่างกันเล็กน้อยตามคัมภีร์สำหรับเทวดานพเคราะห์ ประกอบด้วยเทพ 9 องค์ ตามลำดับคือพระอาทิตย์ พระจันทร์ เทพผู้รักษาทิศ 5 องค์ พระราหู และพระเกตุ มารดา 7 องค์ พบเป็นภาพสลักบนทับหลังแต่ไม่ปรากฏในจารึก คือ รูปนางจามุณฑา นางไอนทรี นางวาราหิ นางไวษณวี นางเกามารี นางมเหศวร และนางพราหมี พระวิศวกรรม พระอินทร์ และพระอัคนี ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระวิศวกรรมได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรก และมีการบูชาอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา เป็นการบูชาในฐานะช่างของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ เช่นเดียวกับพระอินทร์ด้วย แต่พระอัคนีพบประติมากรรมเพียงองค์เดียว
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 11]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-080
- Item
- 2516
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 6 การผสมระหว่างลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย) ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอมทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกายมีการนับถือพระนารายณ์และพระอิศวรด้วยกันทั้งสองลัทธิ ในอินเดียก็คัมภีร์ของทั้งสองนิกายมีความพยายามรวมกันของพระนารายณ์และพระอิศวรเช่นกัน ในอาณาจักรขอมผู้นับถือลัทธิไศวนิกายจะถือว่าพระอิศวรเป็นผู้สูงสุด และมีพระนารายณ์และพระพรหมต่ำกว่าเพราะออกมาจากพระอิศวร ลัทธิไวษณพนิกายถือว่าพระอิศวรและพระพรหมออกมาจากพระนารายณ์ เนื่องจากพระพรหมไม่มีนิกาย ทำให้พระนารายณ์และพระอิศวรเป็นศูนย์กลางของลัทธิทั้งสอง จึงมีความพยายามการรวมกันของสองพระองค์ คือพระหริหระ นอกจากนี้การผสมกันของสองนิกายได้มีผลแก่รูปแบบของพระคเณศด้วย.
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 12]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-081
- Item
- 2516
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 7 สรุป) อาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย เห็นได้ชัดจากจารึกภาษาสันสกฤต และศาสนาที่มาจากคัมภีร์ต่าง ๆ วิวัฒนาการทางศาสนาซึ่งได้รับจากอินเดียแพร่หลายในอาณาจักรขอมอย่างรวดเร็ว ทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย มีหลักฐานจารึกและประติมากรรมที่หลงเหลืออยู่มาก รวมทั้งมีการเคารพบูชาศักติ หรือสัญลักษณ์ของพระนารายณ์และพระอิศวรด้วย การรับอิทธิพลจากอินเดียในอาณาจักรขอมมีการผสมผสานกับประเพณีพื้นเมือง ทำให้มีลักษณะดั้งเดิมของตนเอง แต่ก็อาจกล่าวได้ว่ามีรากฐานของอิทธิพลอินเดียที่เป็นพื้นฐานในศาสนาพราหมณ์
Bhattacharya, Kamaleswar
อาณาจักรขอม
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-093
- Item
- 2520
Part of บทความ
บทความนี้มาจากหนังสือเรื่องประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เริ่มเกี่ยวกับอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ได้เสด็จกลับมาจากชวา เพื่อมาครองราชย์ที่เมืองอินทรปุระ และย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหริหราลัย ศิลปะขอมสมัยกุเลนในรัชกาลของพระองค์เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร และศิลปะสมัยเมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะจามและศิลปะชวา ลำดับกษัตริย์ขอมที่ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พระเจ้าอินทรวรมัน พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระเจ้าราเชนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มีระยะเวลากว่า 100 ปี และอาจนับได้ว่าเป็นระยะที่วัฒนธรรมขอมเจริญสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเป็นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที 1 พระเจ้าอุทัยทิตย วรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมาธิปรเมศวร ซึ่งเป็นพระราชาองค์สุดท้ายที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกของขอมที่ปราสาทนครวัด.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล