บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 7]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-022
- Item
- 2495
Part of บทความ
ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงวิวัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม โดยยกตัวอย่างนาคตั้งแต่สมัยพระโคจนถึงศิลปะบายน ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงภาพจำหลักเล่าเรื่องในศิลปะขอม โดยมีการยกตัวอย่างจากปราสาทบันทายสรี นครวัดและบายน (ในบทความเรียกศิลปะบายนว่า “บรรยงก์)
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 6]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-036
- Item
- 2511
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะกลาง จำนวน 4 สมัย คือศิลปะแปรรูป ศิลปะบันทายศรี ศิลปะคลังและศิลปะบาปวน มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญ ซึ่งมีทั้งพัฒนาการและการเลียนแบบศิลปะรุ่นเก่า มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 10]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-040
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าหลักในศาสนาฮินดู ทั้งพระพรหม พระนารายณ์และอวตารของพระองค์ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นนรสิงหาวตาร ตรีวิกรม พระราม พระกฤษณะ พระพลราม พระกัลกิน จากนั้นจึงกล่าวถึงพระอิศวรและศิวลึงค์ ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงประติมากรรมผสมทั้งพระหริหระและอรรธนารีศวร.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 11]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-041
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าชั้นรองในศาสนาฮินดู ทั้งพระคเณศ พระขันธกุมาร พระอาทิตย์ พระอินทร์ เทพผู้รักษาทิศ จากนั้นกล่าวถึงเทวสตรี อันได้แก่พระอุมา พระลักษมี ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงเทวดาชั้นรอง เช่น ทวารบา เทพธิดา นางอัปสร คณะ อสูร นาค คนธรรพ์.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 12]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-042
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นพุทธศาสนา ทั้งพระศรีศากยมุนี ประติมากรรมในพุทธศาสนามหายาน เช่น พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาหรือศักติ รวมถึงเทพในพุทธศาสนาองค์อื่น ๆ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปสัตว์และลวดลายพันธุ์พฤกษาในศิลปะขอม ไม่ว่าจะเป็นโค ครุฑ ช้าง.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 13]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-043
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงพัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม อันได้แก่ สิงห์ หงส์ ม้า ลิง เต่า มกร คชสีห์ มังกร ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงลายพันธุ์พฤกษา ทั้งในศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 15]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-045
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม อันได้แก่กระดิ่งที่ใช้ในพิธีกรรม คันฉ่อง ฐาน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเครื่องประดับประติมากรรม อาวุธที่ถอดได้และลวดลายขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ประกอบยานพาหนะและที่นั่ง ยอดธง กระดึงและเครื่องดนตรีสำหรับตี วัตถุเครื่องใช้สอบ เครื่องประดับ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม.
Boisselier, Jean
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 3]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-072
- Item
- 2514
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) ศิลาจารึกขอมกล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย 2 นิกาย คือ นิกายปาศุปัต (กลางพุทธศตวรรษที่ 12) และนิกายไศวะ (ต้นพุทธศตวรรษมี่ 15) ซึ่งทั้งสองนิกายเป็นการรับอิทธิพลมาจากอินเดีย ซึ่งหลังจากรัชกาลพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงนิกายปาศุปัต และจารึกที่พบทั้งหมดกล่าวถึงนิกายไศวะเท่านั้น คัมภีร์ในนิกายไศวะพบในการท่องปุราณะ กาพย์ และสลักเป็นภาพเล่าเรื่อง รวมทั้งจารึกตามในศาสนสถาน นามของพระอิศวรที่พบในจารึกขอมมีจำนวนมาก นามจะเกี่ยวข้องกับคัมภีร์ต่างๆ สถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง และจากคำที่มาจากคำเปรียบเปรย พบมาแล้วในจารึกก่อนเมืองพระนคร
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 4]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-073
- Item
- 2514
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) ปรัชญาในศาสนาพราหมณ์พบในจารึกขอมที่กล่าวสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าในจารึกภาษาสันสกฤต แสดงถึงพระอิศวรทรงเป็นทั้งพระผู้เป็นเจ้า และเป็นผู้ยิ่งใหญ่อันประเสริฐ เกิดเป็นรูปอยู่ประจำทั้ง 8 ขึ้น (อษฺฏ มูรติ)คือ แผ่นดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ และอาตมัน แนวความคิดรูปทั้งแปดพบมากในอาณาจักรขอม โดยในงานพิธีกรรมก็สอดคล้องกับแนวคิดในประเทศอินเดียด้วย ปฺรณว เครื่องหมายโอม เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของพระอิศวร มีลักษณะ 3 ประการ ลักษณะที่ 1 คือพระอาทิตย์ ดวงจันทร์ และไฟ ลักษณะที่ 2 คือตรีมูรติ และลักษณะที่ 3 คือคุณสมบัติ 3 ประการ ซึ่งทำให้นึกถึงพระเนตรทั้งสามของพระอิศวรด้วย
พิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเกี่ยวข้องกับการสังเวชบูชาไฟในการเคารพพระอิศวร พระอัคนีเป็นรูปหนึ่งของ อษฺฏ - มูรติ ไฟก็คือแสงประจำโลก และคือพระอาทิตย์ซึ่งมีลักษณะเดียวกัน โดยแสงนั้นเป็นแสงสว่างขั้นต้นกำเนิดโดยพระผู้สร้าง โดยศิวลึงค์เปรียบได้กับเสาแห่งไฟ ที่เป็นแสงสว่างเหนือความมืด สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ที่สัมพันธ์กับแสงสว่าง ลัทธิโยคะยังเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความเคารพบูชา
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 5]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-074
- Item
- 2515
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) รูปแบบของพระอิศวรปรากฏตามลักษณะประติมานวิทยาหลายรูปแบบ ศิวลึงค์เป็นลักษณะหนึ่งที่พบมากและมีหลายหลายรูปแบบ คือรูปแบบศิวลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และรูปแบบศิวลึงค์ที่สร้างขึ้น รูปแบบที่สำคัญคือ มุขลึงค์ มีลักษณะเป็นลึงค์ที่มีพระพักตร์ของพระอิศวร เป็นต้น นอกจากนี้สัญลักษณ์ของพระอิศวรยังปรากฏในรูปแบบ ศิวบาท รวมทั้งตรีศูลและโคนนทิ ทั้งนี้การสร้างพระอิศวรในรูปมนุษย์ไม่นิยมนัก ในสมัยก่อนเมืองพระนครพบเพียง 4 ชิ้น ต่อมาในสมัยเมืองพระนครพบว่ามีการสร้างรูปมนุษย์มากขึ้นและมีหลายปาง ที่นิยมคือรูปพระอุมา-มเหศวร และรูปพระศิวนาฏราช เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประติมานวิทยาที่แสดงออกในรูปโคนนทิและพระกาล รวมทั้งรูปพระอุมาซึ่งเป็นศักติของพระอิศวร มีรูปแบบพระอุมาที่สำคัญคือ รูปมหิษาสุรมรรทนี และรูปอรรธนารีศวร เป็นต้น จากหลักฐานจารึกและงานศิลปกรรมสามารถกล่าวได้ว่าศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกายในอาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย
Bhattacharya, Kamaleswar