ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอม
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-084
- Item
- 2532
Part of บทความ
ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอมปรากฏหลักฐานให้เห็นทั้งในงานสถาปัตยกรรมในศาสนาและประติมากรรม โดยในกลุ่มประติมากรรมยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เทวรูปในศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธรูป ทั้งนี้ การที่ศิลปกรรมสมัยก่อนเมืองพระนครปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเท่านั้น เนื่องจากในสมัยโบราณ การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมไปถึงพระราชวัง สร้างด้วยวัสดุที่ไม่คงทนถาวร ต่างจากการสร้างศาสนสถานและประติมากรรมในศาสนา นอกจากนี้ หลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า ศิลปะขอมได้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดีย และต่อมามีการพัฒนารูปแบบเป็นของตนเอง โดยเฉพาะประติมากรรม.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 9]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-078
- Item
- 2515
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 4 การเคารพบูชาเทพชั้นรอง) พระขันธกุมาร ในอาณาจักรขอมไม่พบว่ามีการบูชาอย่างแพร่หลาย มีจารึกและประติมากรรมอยู่เล็กน้อย เป็นรูปพระขันธกุมารมี 2 กร ประทับนั่งเหนือนกยูงและพระกรยึดคอนกยูงอยู่ เทวดาผู้รักษาทิศและเทวดานพเคราะห์ เทวดาผู้รักษาทิศมีจำนวนแตกต่างกันไป มีจำนวน 8 องค์หรือ 10 องค์ สลักเป็นภาพนูนต่ำประจำทิศของอาคาร ชื่อผู้รักษาทิศจะแตกต่างกันเล็กน้อยตามคัมภีร์สำหรับเทวดานพเคราะห์ ประกอบด้วยเทพ 9 องค์ ตามลำดับคือพระอาทิตย์ พระจันทร์ เทพผู้รักษาทิศ 5 องค์ พระราหู และพระเกตุ มารดา 7 องค์ พบเป็นภาพสลักบนทับหลังแต่ไม่ปรากฏในจารึก คือ รูปนางจามุณฑา นางไอนทรี นางวาราหิ นางไวษณวี นางเกามารี นางมเหศวร และนางพราหมี พระวิศวกรรม พระอินทร์ และพระอัคนี ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระวิศวกรรมได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรก และมีการบูชาอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา เป็นการบูชาในฐานะช่างของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ เช่นเดียวกับพระอินทร์ด้วย แต่พระอัคนีพบประติมากรรมเพียงองค์เดียว
Bhattacharya, Kamaleswar
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 13]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-043
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงพัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม อันได้แก่ สิงห์ หงส์ ม้า ลิง เต่า มกร คชสีห์ มังกร ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงลายพันธุ์พฤกษา ทั้งในศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 12]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-042
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นพุทธศาสนา ทั้งพระศรีศากยมุนี ประติมากรรมในพุทธศาสนามหายาน เช่น พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาหรือศักติ รวมถึงเทพในพุทธศาสนาองค์อื่น ๆ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปสัตว์และลวดลายพันธุ์พฤกษาในศิลปะขอม ไม่ว่าจะเป็นโค ครุฑ ช้าง.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 11]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-041
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าชั้นรองในศาสนาฮินดู ทั้งพระคเณศ พระขันธกุมาร พระอาทิตย์ พระอินทร์ เทพผู้รักษาทิศ จากนั้นกล่าวถึงเทวสตรี อันได้แก่พระอุมา พระลักษมี ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงเทวดาชั้นรอง เช่น ทวารบา เทพธิดา นางอัปสร คณะ อสูร นาค คนธรรพ์.
Boisselier, Jean