อาณาจักรเจนละ
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-094
- Item
- 2519
Part of บทความ
บทความนี้มาจากหนังสือเรื่อง ประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Les Etats Hindouises d’Indochine et d’Indonesie) ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ศูนย์กลางดั้งเดิมของอาณาจักรเจนละ คงตั้งอยู่ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ำโขงแถบเมืองจำปาศักดิ์ในประเทศลาวปัจจุบัน อาณาจักรเจนละเป็นอาณาจักรขอมรุ่นต้นที่เคยเป็นประเทศราชต่ออาณาจักรฟูนัน ตั้งแต่สมัยพระเจ้าภววรมันที่1 ลงมาจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่1 เป็นระยะที่แผ่ขยายอำนาจลงไปทางทิศใต้แถบปากแม่น้ำโขง และทิศตะวันตกแถบทะเลสาบใหญ่ อันเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรฟูนันมาก่อน ต่อมาหลัง พ.ศ. 1249 อาณาจักรเจนละได้แบ่งแยกเป็น 2 แคว้น คือ ทางภาคเหนือหลายเป็นแคว้นเจนละบก ทางภาคใต้กลายเป็นแคว้นเจนละน้ำ ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 แห่งเมืองศัมภุปุระ (สมโบร์) ได้ทรงรวบรวมแคว้นเจนละบกและแคว้นเจนละน้ำเข้าด้วยกันเป็นการเริ่มต้นอาณาจักรขอมอย่างแท้จริง ใน พ.ศ. 1345.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
อาณาจักรขอม
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-093
- Item
- 2520
Part of บทความ
บทความนี้มาจากหนังสือเรื่องประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เริ่มเกี่ยวกับอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ได้เสด็จกลับมาจากชวา เพื่อมาครองราชย์ที่เมืองอินทรปุระ และย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหริหราลัย ศิลปะขอมสมัยกุเลนในรัชกาลของพระองค์เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร และศิลปะสมัยเมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะจามและศิลปะชวา ลำดับกษัตริย์ขอมที่ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พระเจ้าอินทรวรมัน พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระเจ้าราเชนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มีระยะเวลากว่า 100 ปี และอาจนับได้ว่าเป็นระยะที่วัฒนธรรมขอมเจริญสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเป็นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที 1 พระเจ้าอุทัยทิตย วรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมาธิปรเมศวร ซึ่งเป็นพระราชาองค์สุดท้ายที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกของขอมที่ปราสาทนครวัด.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 12]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-081
- Item
- 2516
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 7 สรุป) อาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย เห็นได้ชัดจากจารึกภาษาสันสกฤต และศาสนาที่มาจากคัมภีร์ต่าง ๆ วิวัฒนาการทางศาสนาซึ่งได้รับจากอินเดียแพร่หลายในอาณาจักรขอมอย่างรวดเร็ว ทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย มีหลักฐานจารึกและประติมากรรมที่หลงเหลืออยู่มาก รวมทั้งมีการเคารพบูชาศักติ หรือสัญลักษณ์ของพระนารายณ์และพระอิศวรด้วย การรับอิทธิพลจากอินเดียในอาณาจักรขอมมีการผสมผสานกับประเพณีพื้นเมือง ทำให้มีลักษณะดั้งเดิมของตนเอง แต่ก็อาจกล่าวได้ว่ามีรากฐานของอิทธิพลอินเดียที่เป็นพื้นฐานในศาสนาพราหมณ์
Bhattacharya, Kamaleswar
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 18]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-048
- Item
- 2513
Part of บทความ
นักวิชาการพยายามจัดกลุ่มเครื่องดินเผาที่พบในประเทศกัมพูชา โดยกลุ่มแรกคือ เครื่องดินเผาสมัยเมืองพระนคร ซึ่งยังสามารถจัดเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ 1) ภาชนะเนื้อดินปนทราย ไม่มีเคลือบ มีเคลือบไม่สม่ำเสมอ หรือเคลือบสีน้ำตาลแก่ และ 2) เครื่องดินเผาเนื้อดินค่อนข้างแดงมีเคลือบสีน้ำตาล
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังพบเครื่องดินเผากลุ่มอื่น ๆ อีก คือ 1) เครื่องดินเผาสมัยหลังเมืองพระนคร 2) เครื่องถ้วยที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ 3) เครื่องถ้วยจีน 4) เครื่องถ้วยไทย 5) เครื่องถ้วยต่างประเทศอื่น ๆ 6) พระพิมพ์.
Boisselier, Jean
ความคิดเกี่ยวกับพระพุทธรูปนาคปรก ของศาสตราจารย์ ชอง บวสเซอลีเย่
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-005
- Item
- 2524
Part of บทความ
พระพุทธรูปนาคปรกมีอยู่เป็นจำนวนมากในศิลปะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฉพาะอย่างยิ่งในศิลปะขอมและศิลปะลพบุรี ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปนาคปรกของขอมซึ่งเกิดขึ้นราวตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 ในรัชกาลของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 น่าจะได้แบบอย่างมาจากพระพุทธรูปนาคปรกรุ่นเก่าในประเทศไทย ซึ่งเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับศิลปะทางภาคใต้ของประเทศอินเดีย และมีอายุอย่างช้าที่สุดราวพุทธศตวรรษที่ 10 ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ ผู้แปลให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ศิลปะสมัยศรีวิชัยและศิลปะลพบุรีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน พระพุทธรูปนาคปรกในสมัยนั้นอาจเป็นปางสมาธิหรือปางมารวิชัยก็ได้.
Boisselier, Jean
600 ปี แห่งประวัติเมืองพระนครของขอม
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-001
- Item
- 2532
Part of บทความ
ประวัติศาสตร์ของเมืองพระนครเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.1345 กษัตริย์ขอมที่ครองราชย์สมัยเมืองพระนครที่สำคัญได้แก่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พระองค์กระทำพิธีราชาภิเษกเป็นพระจักรพรรดินับว่าเป็นกษัตริย์องค์แรกในสมัยนี้และตั้งราชธานีที่เมืองหริหราลัย พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทพระโคและปราสาทบากอง พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ทรงสร้างสระบารายตะวันออกและปราสาทโลเลย ทรงสร้างปราสาทพนมบาแค็ง ปราสาทพนมกรมและปราสาทพนมบก พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทปักษีจำกรง พระเจ้าราเชนทรวรมันทรงสร้างปราสาทแม่บุญตะวันออกกลางบารายตะวันออกและปราสาทแปรรูป พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทพนมชิสอร์ ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทพิมานอากาศ พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทบาปวน ปราสาทแม่บุญตะวันตก พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างประสาทนครวัด พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทพระขรรค์ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างปราสาทตาพรหม ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทตาสม และปราสาท ทรงเป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่ในสมัยเมืองพระนครและในประวัติศาสตร์ของขอม.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล