Showing 2 results

Archival description
วัดพระพายหลวง (สุโขทัย)
Print preview View:

2 results with digital objects Show results with digital objects

การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จ. สุโขทัย

วัดพระพายหลวงตั้งอยู่นอกเมืองสุโขทัยเก่า ศาสนสถานของวัดนี้ คือ พระปรางค์ 3 องค์ตั้งเรียงกัน จากการขุดแต่งค้นพบหลักฐานแสดงถึงศิลปขอมที่เผยแพร่เข้ามา ณ เมืองสุโขทัย สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพระปรางค์องค์กลางมีหลักฐานแสดงว่า สมัยสุโขทัยชาวไทยได้มาแก้ไขใหม่เป็นแบบสุโขทัย ภายในซุ้มของพระเจดีย์สำคัญมีพระพุทธรูปแบบเชียงแสนประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัยหลายองค์ ด้านหน้าพระเจดีย์มีผนังสูงใหญ่และมีพระพุทธรูปยืนอยู่ 5 องค์ จากร่องรอยโบราณวัตถุสถานที่พบแสดงว่าระหว่าง พ.ศ. 1800 -1825 เป็นระยะที่ก่อสร้างศิลปแบบสุโขทัยขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม ศิลปะลังกาและศิลปะแบบเชียงแสน และมีการดัดแปลงตกแต่งวัดนี้อีกหลายครั้ง แสดงว่าวัดพระพายหลวงเป็นวัดสำคัญอยู่ตลอดสมัยสุโขทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

จดหมายเรื่องศิลปแบบเชียงแสน

จดหมายของเอ.บี. กริสโวลด์ ถึง ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เพื่อคัดค้านข้อความอ้างอิงในบทความเรื่อง “การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล” ที่ว่า กริสโวลด์เป็นผู้กล่าวว่าการผลิตพระพุทธรูปในศิลปแบบเชียงแสนเพิ่งเริ่มต้นในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2130) และแสดงความเห็นต่อไปว่า “ศิลปแบบเชียงแสน” ย่อมมีความหมายแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละบุคคล ซึ่งผู้แปลไม่เห็นพ้องกับทฤษฎีของกริสโวลด์และเห็นว่า พระพุทธรูปปูนปั้นในซุ้ม ณ พระเจดีย์ทิศตะวันออกของวัดพระพายหลวงนั้น แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปเชียงแสนรุ่นแรก เนื่องจากพระเจดีย์องค์นี้อาจสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.1800 -1825 อันเป็นระยะแรกของสมัยสุโขทัย แสดงว่าศิลปเชียงแสนรุ่นแรกเกิดขึ้นก่อนศิลปสุโขทัย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล