Showing 3 results

Archival description
เกาะสุมาตรา (อินโดนีเซีย)
Print preview View:

3 results with digital objects Show results with digital objects

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 24]

ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การยกทัพของอาณาจักรศรีวิชัย

จารึกของอาณาจักรศรีวิชัยที่เก่าที่สุดสลักอยู่บนก้อนหินซึ่งค้นพบที่เกดุกัน บุกิต เชิงเขาเซกุนตัง เมืองปาเล็มบัง ในเกาะสุมาตรา ศาสตราจารย์เซเดส์ มีความเห็นแย้งกับนักโบราณคดีอื่นที่สันนิษฐานว่า อาณาจักรศรีวิชัยตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1225 แต่ ศาสตราจารย์ เซเดส์ คัดค้านว่า อาณาจักรศรีวิชัยได้ตั้งมาก่อนหน้านั้น สิ่งสำคัญในจารึกก็คือ ระยะเวลาการออกเดินทางจากราชธานีและการยกทัพออกจากจุดที่ยกพลขึ้นบก รวมทั้งระยะเวลาที่อาณาจักรศรีวิชัยได้ครอบครองประเทศ (วเนา) อาจสรุปได้ว่า จารึกนี้เป็นจารึกเพื่อฉลองการยกทัพของอาณาจักรศรีวิชัยที่มีชัยชนะต่อประเทศกัมพูชา โดยมีหลักฐานสนับสนุนดังนี้ 1) ระยะเวลาที่พ้องกันพอดี คือ พ.ศ. 1225 เป็นระยะเวลาสุดท้ายแห่งรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 2) พระราชาแห่งราชอาณาจักรศรีวิชัยทราบพระนามว่า ชัยนาศ ซึ่งอาจหมายถึง ผู้ทำลายชัยชนะ (ของศัตรู) หรือหมายถึง ผู้ทำลายชัย คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 4) คำว่า มินางะ ตามวัน อาจมาจากคำพื้นเมืองซึ่งหมายถึงกลุ่มชนชาติล้าหลัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 4]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงการเผยแพร่ของวัฒนธรรมอินเดีย ต่อมาได้กล่าวถึงศิลปะชวาภาคกลางในประเทศอินโดนีเซียโดยเฉพาะ ทั้งสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าจันทิ ประติมากรรมในศาสนาพุทธและฮินดูที่คล้ายกับศิลปะอินเดียอย่างมาก มีการยกตัวอย่างจากบุโรพุทโธและจันทิอื่น ๆ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล