Showing 32 results

Archival description
ประติมากรรมขอม
Print preview View:

32 results with digital objects Show results with digital objects

ทับหลังแบบถาลาบริวัตรในประเทศไทย

นางมิเรย เบนิสตี (Mireille Benisti) กล่าวถึงทับหลังแบบถาลาบริวัต (Thala Borivat) ว่าเป็นทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดของศิลปขอมในราวกลาง พุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งค้นพบทับหลังศิลา 6 ชิ้น ที่ถาลาบริวัต บริเวณฝั่งขวาของแม่โขง และพบที่ปราสาทขตป (Khtop) 2 ชิ้น นางเบนิสตี เห็นว่าทับหลังซึ่งค้นพบที่ถาลาบริวัตเก่ากว่าที่สมโบร์ไพรกุก และถาลาบริวัตอาจเป็นสถานที่ตั้งของเมืองภวปุระของพระเจ้าภรวรมัน สำหรับทับหลัง 2 ชิ้น ซึ่งค้นพบที่ปราสาทขตปนั้น นางเบนิสตีเห็นว่าคงสลักขึ้นในปลายศิลปแบบสมโบร์ไพรกุก ราว พ.ศ. 1200 ในประเทศไทยได้ค้นพบทับหลังแบบถาลาบริวัต 4 ชิ้นที่วัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี ซึ่งนับว่าเป็นทับหลังขอมแบบถาลาบริวัตอย่างแท้จริง นอกจากนั้น ยังได้ค้นพบศิลาจารึกขอมในพุทธศตวรรษที่ 12 หลักหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงการสร้างศาสนสถานของพระเจ้าอีศานวรมันท ี่1 พร้อมกันนี้ยังมีทับหลังอีกชิ้นหนึ่งซึ่งรักษาอยู่หน้าอุโบสถวัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี อาจกล่าวได้ว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปขอมแบบ ถาลาบริวัตและสมโบร์ไพรกุก และอาจสลักขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1150.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

นางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์สมัยลพบุรี ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายเกี่ยวกับรูปนางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2518 ที่กล่าวว่า มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-14 คือในสมัยระหว่างศิลปขอมสมัยไพรกเมง – กำพงพระ - กุเลน รูปนางปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปสตรีสูง 59 เซนติเมตร พบที่อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี การกำหนดอายุของประติมากรรมรูปนี้กำหนดได้ 2 ทาง คือ จากทรงผมและผ้านุ่ง ทรงผมที่รวบขึ้นไปเป็นมวยและห้อยตกลงมาเป็นวงพร้อมทั้งมีขมวดอยู่ภายใน มีมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร คือ ในสมัยไพรกเมง - กำพงพระ (พุทธศตวรรษที่ 13-14) ส่วนผ้าทรงเป็นผ้านุ่งจีบเป็นริ้วทั้งตัวและนุ่งแบบพับป้ายนั้น ไม่เคยปรากฎในศิลปขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ 12-14) ผู้เขียนยืนยันว่า รูปนางปรัชญาปารมิตาหรือนางปรัชญาบารมีสัมฤทธิ์รูปนี้ เป็นประติมากรรมสมัยลพบุรีที่หล่อขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 15 มิใช่ศิลปแบบก่อนขอมราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 อย่างแน่นอน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณศิลปวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทย

โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทยและปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์เอกชนประเทศสหรัฐอเมริกาจากหนังสือเรื่อง The Ideal Image, the Gupta Sculptural Tradition and Its Influence แต่งโดย Pratapaditya Pal ได้แก่ 1) พระพุทธรูปสำริดปางทรงแสดงธรรม สูงประมาณ 5 เซนติเมตร คล้ายกับศิลปะทวารวดี 2) เทพธิดาศิลาทราย (เทวสตรี) 4 กร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร คล้ายกับเทวรูปที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 3) พระพุทธรูปศิลาทราย สูงประมาณ 1.10 เมตร สมัยทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 4) พระพิมพ์ดินเผา สูงประมาณ 12 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับพระพิมพ์ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 5) พระอิศวรศิลา สูงประมาณ 70 เซนติเมตร กล่าวว่าได้มาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 6) แผ่นทองดุนนูนรูปพระอิศวร สูงประมาณ 17 เซนติเมตร อาจพบที่เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 7) แผ่นเงินดุนนูนรูปพระพุทธองค์ สูงประมาณ 14 เซนติเมตร คล้ายกับที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 8) พระพุทธรูปสำริด ยืนตริภังค์ สูงประมาณ 51 เซนติเมตร จัดอยู่ในศิลปะทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 9) พระพุทธรูปสำริด สูงประมาณ 22 เซนติเมตร จัดอยู่ในศิลปะทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 10) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สูงประมาณ 44 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายกับที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 11) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด สูงประมาณ 1.20 เมตร ลักษณะคล้ายกับศิลปะขอม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 โดยบทความนี้หวังว่าให้คนไทยมีความกระตือรือร้นในการสงวนรักษาโบราณวัตถุสถานของเราให้มากยิ่งขึ้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปลพบุรี

ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปะลพบุรีในประเทศไทย 4 ภาพ ภาพที่ 1 ศิลาทับหลัง ประตูวิหารหลังข้างเหนือที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นรูปพระนารายณ์บรรทมอยู่เหนือหลังพญาอนันตนาคราช พระองค์ค่อนข้างตั้งตรงขึ้น มีดอกบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ พ.ศ. 1600-1650 ภาพที่ 2 ทับหลังศิลา เดิมอยู่ในเทวสถานพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมสินธุ์ตะแคงขวา ก้านบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ 1600-1650 ภาพที่ 3 ศิลาทับหลังประตูมุขโถง ด้านตะวันออกตอนนอกที่ปราสาทหินพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร และมีพญานาคหลายเศียรแทรกอยู่ตรงกลาง มีก้านบัวหลายก้านผุดขึ้นจากหลังพระขนงพระนารายณ์ พระพรหมประทับอยู่เหนือบัวบานก้านกลาง คาดว่าสลักขึ้นหลังสมัยปราสาทนครวัดระหว่าง พ.ศ. 1675-1700 ภาพที่ 4 ทับหลัง ณ ปรางค์กู่สวนแตง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เป็นภาพพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร พญานาคที่แทรกอยู่ตรงกลางหายไป ก้านบัวแบ่งออกเป็นหลายก้านและมีพระพรหมประทับอยู่บนก้านกลาง สลักขึ้นในสมัยหลัง ระหว่าง พ.ศ. 1700-1750.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระศิวนาฏราชในศิลปลพบุรี

พระศิวนาฏราช หรือ พระอิศวรทรงฟ้อนรำ จัดเป็นประติมากรรมที่สำคัญที่สุดในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะขอมนั้นเป็นภาพสลักนูนต่ำทั้งสิ้น ไม่เคยค้นพบประติมากรรมลอยตัวรูปพระศิวนาฏราชเลย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะลพบุรีเป็นภาพสลักนูนต่ำ 4 รูป คือ 1) ภาพสลักบนหน้าบันด้านในของปราสาทนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร อายุอยู่ในราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1650 เป็นพระศิวนาฏราชสวมมงกุฏมี 10 กร 2) ทับหลังของปราสาทองค์กลางที่ ปราสาทบ้านระแงง อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1650 ทับหลังมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ ตรงกลางเป็นรูปพระศิวนาฏราช 10 กร 3) บนหน้าบันของมุขด้านใต้ของปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีภาพสลักเป็นรูปพระศิวนาฏราชหลายกร คงสร้างขึ้นราวระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 4) ทับหลังศิลา เดิมอยู่ที่ปรางค์กู่สวนแตง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภาพพระศิวนาฏราช 2 กร อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 รูปพระศิวนาฏราชหรือพระอิศวรทรงฟ้อนรำของศิลปะลพบุรีในประเทศไทย ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอมราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1750 อิทธิพลดั้งเดิมคงมาจากประเทศอินเดียภาคเหนือ แต่ในศิลปะลพบุรีอาจมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียภาคใต้เข้ามาปะปนอยู่บ้าง จึงมีรูปยักษ์เข้ามาผสมอยู่.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 6]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงทับหลังในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเมืองพระนคร ซึ่งมีพัฒนาการเป็นลำดับ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงเสาประดับกรอบประตูขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 7]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงวิวัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม โดยยกตัวอย่างนาคตั้งแต่สมัยพระโคจนถึงศิลปะบายน ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงภาพจำหลักเล่าเรื่องในศิลปะขอม โดยมีการยกตัวอย่างจากปราสาทบันทายสรี นครวัดและบายน (ในบทความเรียกศิลปะบายนว่า “บรรยงก์)

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 8]

กล่าวถึงวิวัฒนาการของประติมากรรมลอยตัวในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเองพระนคร นอกจากนี้ยังกล่าวถึงทวารบาลนูนต่ำ และรูปสัมฤทธิ์ด้วย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 1]

บทความกล่าวถึงวิธีการแบ่งยุคสมัยย่อยในศิลปะขอม และประติมากรรมขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งในแง่ของวัสดุต่าง ๆ ทั้งโลหะ ศิลา ปูนปั้น ไม้ ซึ่งมีเงื่อนไขทางด้านเทคนิคแตกต่างกันไป ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปร่างและท่าทางโดยเน้นถึงสุนทรียภาพของประติมากรรมขอม.

Boisselier, Jean

Results 1 to 10 of 32