โบราณวัตถุที่ค้นพบจากพระปรางค์วัดราชบูรณะ รุ่นที่ ๒
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-029
Item
2502
Part of บทความ
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2501 ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรกำลังดำเนินงานสร้างอุโมงค์และทำบันไดเพื่อให้ลงไปชมภาพเขียนผนังภายในพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้พบกรุพระพุทธรูปและพระพิมพ์บรรจุอยู่ภายในองค์พระปรางค์ โดยพยายามทำงานขุดค้นและควบคุมดูแลรักษานำของขึ้นจากกรุ ซึ่งวัตถุที่ค้นพบแบ่งออกได้หลายชนิดด้วยกัน คือ
พระพุทธรูป รูปพระโพธิสัตว์ เทวดา และพุทธสาวก แบ่งออกได้เป็น ก. พระพุทธรูปและรูปพระโพธิสัตว์ต่างประเทศ ที่สำคัญคือ พระพุทธรูป 8 ปาง แบบปาละ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย แบบปาละ แบบอินเดียภาคใต้รุ่นหลัง พระพุทธรูปแบบลังการุ่นหลัง แบบชวา แบบพม่า แบะพระพุทธรูปและรูปพระโพธิสัตว์แบบเนปาลหรือธิเบต ข. พระพุทธรูปในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น (1) พระพุทธรูปแบบทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16 บางองค์อาจทำในชั้นหลังและทำตามแบบทวารวดี (2) พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์แบบศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-18 (3) พระพุทธรูป รูปพระโพธิสัตว์ และเทวดา ในศิลปะแบบลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-19 (4) พระพุทธรูปแบบสุโขทัย สกุลช่างวัดตระกวน 6 องค์ เป็นสกุลช่างที่คลายไปจากศิลปะแบบสุโขทัยไปมาก และยากที่จะกำหนดอายุเวลาได้ และไม่พบพระพุทธรูปแบบสุโขทัยแท้ ๆ (5) พระพุทธรูปแบบอู่ทอง แบ่งออกได้เป็น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 ยุคที่ 2 ราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 ยุคที่ 3 ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 (6) พระพุทธรูปและรูปพระสาวกแบบอยุธยา
พระพิมพ์
แบบต่างประเทศ คือ แบบปาละของอินเดีย
แบบทวารวดี อาจเป็นแบบทวารวดี หรือทำเลียนแบบทวารวดีขึ้นในสมัยอยุธยา และแบบทวารวดีแต่มีศิลปะแบบลพบุรีเข้ามาปนบ้าง
แบบลพบุรี เป็นพระพิมพ์ในแบบมหายาน
แบบอยุธยา แบ่งได้ 2 แบบ คือ (1) เลียนแบบสุโขทัย ส่วนมากมักทำเป็นพระลีลา หรือบางทีเป็นปางยมกปาฏิหารย์ (2) แบบอยุธยาแท้ ทำเป็นรูปพระพุทธองค์ ปางมารวิชัย ปางประทานอภัย ปางสมาธิ หรือปางประทานเทศนา นอกจากพระพิมพ์ที่เป็นพระพุทธรูปแล้ว ยังมีรูปสาวกโดด ๆ เช่น พระสังกัจจายน์ และรูปท้าวเวสสุวรรณ เป็นต้น
วัตถุอื่น ๆ เช่น แผ่นโลหะเขียนเป็นรูปพระพุทธองค์ปางมารวิชัยประทับนั่งบนดอกบัว เครื่องเชียนหมากทำด้วยโลหะ แก้วประเภทนพรัตน์และคันฉ่องโลหะฝีมือช่างจีน
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบจากเมืองศรีเทพ
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-030
Item
2522
Part of บทความ
เมืองศรีเทพ บางท่านเรียกว่า เมืองอภัยสาลี เดิมตั้งอยู่ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาตั้งอยู่ในอำเภอศรีเทพแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงค้นพบเมืองนี้เมื่อ พ.ศ. 2448 ประติมากรรมศิลาที่ค้นพบส่วนใหญ่เป็นเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ต่อมาพบศิลาจารึกอีก 2 หลัก แสดงว่าอาณาจักรเจนละหรือขอมรุ่นแรกในขณะนั้นได้แผ่อำนาจเข้ามาถึงยังลุ่มแม่น้ำป่าสักแล้ว โบราณวัตถุซึ่งถูกลักลอบออกไปจากเมืองศรีเทพ 3 ชิ้น และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์นอร์ตัน ไซมอน (Norton Simon Museum of Art) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ 1) เทวรูปศิลาทราย สูงประมาณ 1.14 เมตร คาดว่าเป็นพระอาทิตย์และเป็นชิ้นที่สำคัญที่สุด 2) แผ่นทอง สูงประมาณ 30 ซม. ดุนเป็นเทวรูปพระนารายณ์ 3) พระพุทธรูปสมัยทวาราวดี สลักด้วยศิลาทรายสีเทา สูงประมาณ 2.18 เมตร.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทย
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-031
Item
2531
Part of บทความ
วัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทยจากที่พบในหนังสือเรื่อง The Ideal Image, the Gupta Sculptural Tradition and Its Influence แต่งโดย Pratapaditya Pal มีทั้งหมด 11 ชิ้น ดังนี้ 1) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางทรงแสดงธรรม สูงประมาณ 5 เซนติเมตร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 10-11 2) รูปเทพธิดาศิลาทราย 4 กร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร 3) พระพุทธรูปศิลาทราย สูง 1.10 เมตร สมัยทวาราวดี 4) พระพิมพ์ดินเผารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสูง 12 เซนติเมตร 5) รูปพระอิศวรศิลาสูงประมาณ 70 เซนติเมตร มาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 6) แผ่นทองดุนนูนเป็นรูปพระอิศวร สูง 17 เซนติเมตร อาจมาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 7) แผ่นเงินดุนนูนเป็นรูปพระพุทธองค์ สูง 14 เซนติเมตร อาจค้นพบจาก อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 8) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนสูง 51 เซนติเมตร ศิลปทวาราวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 9) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ สูง 22 เซนติเมตร คาดว่าค้นพบทางภาคใต้ของประเทศไทย 11) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร เป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดและงามที่สุดองค์หนึ่งในบรรดาประติมากรรมซึ่งค้นพบที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
โบราณศิลปวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทย
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-033
Item
2531
Part of บทความ
โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทยและปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์เอกชนประเทศสหรัฐอเมริกาจากหนังสือเรื่อง The Ideal Image, the Gupta Sculptural Tradition and Its Influence แต่งโดย Pratapaditya Pal ได้แก่ 1) พระพุทธรูปสำริดปางทรงแสดงธรรม สูงประมาณ 5 เซนติเมตร คล้ายกับศิลปะทวารวดี 2) เทพธิดาศิลาทราย (เทวสตรี) 4 กร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร คล้ายกับเทวรูปที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 3) พระพุทธรูปศิลาทราย สูงประมาณ 1.10 เมตร สมัยทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 4) พระพิมพ์ดินเผา สูงประมาณ 12 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับพระพิมพ์ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 5) พระอิศวรศิลา สูงประมาณ 70 เซนติเมตร กล่าวว่าได้มาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 6) แผ่นทองดุนนูนรูปพระอิศวร สูงประมาณ 17 เซนติเมตร อาจพบที่เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 7) แผ่นเงินดุนนูนรูปพระพุทธองค์ สูงประมาณ 14 เซนติเมตร คล้ายกับที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 8) พระพุทธรูปสำริด ยืนตริภังค์ สูงประมาณ 51 เซนติเมตร จัดอยู่ในศิลปะทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 9) พระพุทธรูปสำริด สูงประมาณ 22 เซนติเมตร จัดอยู่ในศิลปะทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 10) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สูงประมาณ 44 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายกับที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 11) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด สูงประมาณ 1.20 เมตร ลักษณะคล้ายกับศิลปะขอม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 โดยบทความนี้หวังว่าให้คนไทยมีความกระตือรือร้นในการสงวนรักษาโบราณวัตถุสถานของเราให้มากยิ่งขึ้น.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ประติมากรรมสัมฤทธิ์จากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-035
Item
2516
Part of บทความ
มีการค้นพบประติมากรรมสำริดจำนวนหนึ่ง ที่ปราสาทแห่งหนึ่งในอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และถูกนำลักลอบออกนอกประเทศเกือบหมด คงมีเหลืออยู่แต่ในพิพิธภัณฑ์ของเอกชนเพียง 2-3 รูปเท่านั้น นายอัลแบรต์ เลอบอนเนอ (Albert Le Bonheur) กล่าวถึงรูปพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด สูง 46 เซนติเมตร ซึ่งพิพิธภัณฑ์กีเมต์ได้ซื้อไว้ โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประติมากรรมสำริดซึ่งค้นพบที่อำเภอประโคนชัยเหล่านี้ กับอาณาจักรศรีจานาศะ และค้านความคิดเห็นของ ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ เกี่ยวกับอิทธิพลของศิลปศรีวิชัยสำหรับลักษณะรูปภาพ (iconography) ของประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย นายเลอบอนเนอได้นำไปเปรียบเทียบกับภาพสลักที่ถ้ำเขาถมอรัตน์ ใกล้กับเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำหรับการกำหนดอายุเห็นว่ายังไม่อาจกระทำได้อย่างแน่นอน ส่วนนางสาวเอมมา ซี บังเกอร์ (Emma C. Bunker) ได้รวบรวมรูปภาพเกี่ยวกับประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย และให้รูปปราสาทอิฐที่ค้นพบประติมากรรมสำริดเหล่านี้ไว้ด้วย แต่ไม่ได้บอกชื่อปราสาท พร้อมทั้งรูปประติมากรรมสำริดที่ค้นพบอีก 24 รูป ซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา และร้านค้าของเก่า.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระพุทธรูปนาคปรกศิลา ที่ค้นพบใหม่ในศิลปทวารวดี
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-045
Item
2512
Part of บทความ
พระพุทธรูปนาคปรกศิลา แต่เดิมอยู่ในบ้านเหมืองฝ้าย เขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ได้ถูกลักขโมย ภายหลังทางหน่วยศิลปากรที่ 6 ได้รับคืนและฝากไว้ที่วัดอุทัยมัคคาราม (วัดหินดาด) อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปนาคปรกขนาดใหญ่แบบทวารวดีอย่างแท้จริงและยังคงรักษาอิทธิพลของศิลปอินเดียแบบอมราวดี อันเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธรูปนาคปรกไว้ได้มาก พระพุทธรูปสลักเป็นภาพนูนสูงเหนือแผ่นหลัง องค์พระสูง 1.05 เมตร รวมทั้งฐานข้างล่าง แต่ไม่รวมเดือยข้างใต้ หน้าตักกว้าง 67 เซนติเมตร เดือยใต้ฐานฐานสูง 60 เซนติเมตร
พระพุทธรูปนาคปรกที่บ้านเหมืองฝ้ายองค์นี้ถือเป็นองค์ที่เก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปนาคปรกศิลาสมัยทวารวดีอีก 3 องค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้แก่ พระพุทธรูปนาคปรกจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี พระพุทธรูปนาคปรกศิลาสมัยทวารวดี จากจังหวัดปราจีนบุรี และพระพุทธรูปนาคปรกศิลาสมัยทวารวดี จากวัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระพุทธรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-046
Item
2514
Part of บทความ
ประเทศไทยจัดแบ่งพระพุทธรูปรุ่นเก่าที่ค้นพบไว้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี หรือ แบบลังการุ่นต้น (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กที่ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา จีวรเป็นริ้ว มักแสดงปางประทานอภัยหรือทรงสั่งสอน (วิตรรกะ) แบบที่ 2 คือ แบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ ได้แก่ ศิลปะทวารวดี พระพุทธรูปครองจีวรเรียบ มีทั้งครองจีวรห่มคลุมและห่มเฉียง มาบัดนี้ ได้ค้นพบพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งซึ่งอยู่ในระหว่างแบบที่ 1 และแบบที่ 2 เป็นพระพุทธรูปศิลาครึ่งองค์ สูง 59.3 ซม. มีขมวดพระเกศาแบบเรียบติดกับพระเศียร พระเกตุมาลาแบนมาก ด้านหลังพระเศียรมีประภามณฑลเป็นวงกลม ครองจีวรห่มเฉียงแบบศิลปะอมราวดี แต่จีวรเรียบไม่มีริ้ว อาจจัดเป็นพระพุทธรูปหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างอิทธิพลของศิลปะอมราวดีและศิลปะคุปตะกับหลังคุปตะได้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-093
Item
2516
Part of บทความ
ศิลปะทวารวดีภายในประเทศไทยเจริญขึ้นระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ทางภาคกลางของประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐม คูบัว อ่างทอง และลพบุรี และได้แผ่ขึ้นไปทางเหนือยังอาณาจักรหริภุญชัย (ลำพูน) จนกระทั่งถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ประติมากรรมสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ แต่ก็ยังคงแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีซึ่งเข้ามาถึงก่อนหน้านั้น ตัวอย่างของศิลปะทวารวดีสมัยต้น ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาขนาดเล็ก ครองจีวรตามแบบอมราวดีแต่จีวรไม่มีริ้ว แสดงปางประทานอภัยหรือวิตรรกะ 2) พระพุทธรูปนาคปรกศิลา ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 3) พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ค้นพบในถ้ำเขาพระ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 4) ประติมากรรมดินเผา ค้นพบที่เมืองคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 5) ประติมากรรมดินเผาค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 6) เทวรูปพระคเณศศิลา ค้นพบที่เมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ตัวอย่างศิลปะทวารวดีสมัยที่สอง ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาองค์ใหญ่ พบที่ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับประติมากรรมรูปพระศรีอาริยเมตไตรย 2 องค์ สูง 47 เซนติเมตร และสูง 1.37 เมตร ศิลปะทวารวดีสมัยที่สาม อิทธิพลศิลปะขอมสมัยบาปวนเริ่มเข้ามาปะปน ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ พระพุทธรูปปางสมาธิศิลา ค้นพบ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
The Exhibition of Masterpieces from private collections displayed at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 1]
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-102
Item
2511
Part of บทความ
In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. This volume mentions the ancient objects of Indian Amaravati or early Singhalese and of Dvaravati styles.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
Exhibition of Masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 5]
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-106
Item
2512
Part of บทความ
In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. This volume will discuss Chiengsaen style, U-thong school, Ayutthaya and Rattanakosin periods.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล