Showing 5 results

Archival description
การสำรวจทางโบราณคดี
Print preview View:

5 results with digital objects Show results with digital objects

รายงานการนำนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรไปทำการขุดค้นที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 1 คณะโบราณคดีนำคณะนักศึกษาไปขุดซากโบราณสถานภายในตัวเมืองอู่ทองที่ซากพระเจดีย์นอกคูเมือง บริเวณแนวปูนปั้นที่เคยใช้ประดับพระเจดีย์ได้พบปูนปั้นจำนวนมาก และวัตถุต่างๆ ที่น่าสนใจ 30 ชิ้น มีทั้งองค์พระพุทธรูป ฐานพระพุทธรูป ฐานบัวพระพุทธรูปและพระบาท ครุฑและปีกครุฑ เศียรพระพุทธรูป ลายก้านขด องค์เทวรูป พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์แบบทวาราวดีปางเทศนาสูง 13 เซนติเมตร และพระพิมพ์ดินเผาแบบทวาราวดี เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย สูง 8 ½ เซนติเมตร หลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า พระเจดีย์องค์นี้คงจะสร้างขึ้นในสมัยทวาราวดีรุ่นหลัง ครั้งที่ 2 ได้นำคณะนักศึกษาไปขุดซากโบราณสถานภายในตัวเมืองอู่ทองอีก ส่วนใหญ่พบวัตถุปูนปั้นและได้ขุดพบพระพุทธรูปปูนปั้นยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นแบบอู่ทองยุคที่ 1 สูง 34 เซนติเมตร เศียรเทวดาแบบทวาราวดีรุ่นหลังขนาดสูง 15 เซนติเมตร และลวดลายปูนปั้นแปลกๆ เช่นลายบันได ลายประจำยาม ลายวงกลมโค้งต่อกัน จากหลักฐานโบราณวัตถุที่ขุดค้นทั้ง 2 ครั้ง แสดงว่า ศิลป ณ.เมืองอู่ทองมีสืบลงมาตั้งแต่แบบทวาราวดีจนถึงแบบอู่ทอง สันนิษฐานว่า เมื่อศิลปแบบคุปตะแพร่ออกมาจากประเทศอินเดีย คงจะมาเจริญแพร่หลายที่เมืองนครปฐม ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลก่อน ต่อจากนั้นจึงได้แผ่ขึ้นมายังอู่ทอง ทำให้ได้รับอิทธิพลของชาวพื้นเมืองมากขึ้นและฝีมือก็คลายลง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการเดินทางไปสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ

การสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษของคณะโบราณคดี ระหว่างวันที่ 21-27 มี.ค. 2513 ได้เยี่ยมชมโบราณวัตถุสถานที่สำคัญได้แก่ ที่อำเภออรัญญประเทศ ชมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่สมาคมพุทธมามกสงเคราะห์ สำรวจซากโบราณสถานเมืองไผ่ ปราสาทเขาน้อย ที่อำเภอตาพญา ชมปราสาททัพเสียม ปราสาทหนองไผ่และประสาทสะล๊อกก๊อก ที่อำเภอวัฒนานคร ชมปราสาทสระหิน เสาประดับกรอบประตูศิลาจากปราสาทบ้านน้อย วัดนครธรรม ปราสาทอุโมงค์ ทับหลังศิลาหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านกรวดและปราสาทใบแขก ที่อำเภอขุนหาร จังหวัดศรีสะเกษ ชมปราสาทตำหนักไทร ทับหลังศิลาที่วัดภูฝ้าย และปราสาทบ้านเยอร์ ที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ชมปราสาทภูมิโพน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

หลักการค้นคว้าวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์

การค้นคว้าในวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์จำต้องอาศัยหลัก 3 ประการ ซึ่งมีลำดับดังนี้ 1) หลักฐานอันดับ 1 ได้แก่ หลักฐานที่สร้างหรือแต่งขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น คือ โบราณวัตถุสถาน จารึกและจดหมายเหตุ 2) หลักฐานอันดับ 2 ได้แก่ หลักฐานที่สร้างหรือแต่งขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้นล่วงไปแล้ว ได้แก่ ตำนาน หรือ จดหมายเหตุพื้นเมืองต่าง ๆ ที่แต่งหรือรวบรวมขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้วเป็นเวลาหลายร้อยปี 3) หลักฐานอันดับ 3 ได้แก่ หนังสือต่าง ๆ ที่มีผู้เขียนขึ้นในสมัยปัจจุบัน โบราณวัตถุในภาคเอเชียอาคเนย์ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในศาสนา ได้แก่พุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ จึงควรเรียนรู้ลักษณะของศิลปกรรม วิวัฒนาการของประติมากรรม โบราณสถาน ควรพิจารณาแบบของศิลปะ ลวดลายที่ใช้ประดับสถาปัตยกรรม สำหรับจารึกควรพิจารณาข้อความในจารึก ภาษาที่ใช้โดยเฉพาะภาษาพื้นเมือง จดหมายเหตุสำหรับวิชาโบราณคดีในภาคเอเชียอาคเนย์ มีจดหมายเหตุที่สำคัญคือจดหมายเหตุจีน จดหมายเหตุของชาวยุโรป และจดหมายเหตุของพ่อค้าชาวอาหรับ ตามลำดับ ตำนานหรือจดหมายเหตุพื้นเมืองสมควรที่จะมีการขุดค้นหาหลักฐานทางโบราณวัตถุสถานเพื่อพิสูจน์คำกล่าวในตำนานหรือจดหมายเหตุพื้นเมือง หนังสือต่าง ๆ ที่มีผู้เขียนขึ้นในสมัยปัจจุบัน ให้พิจารณาที่หลักฐานอันควรเชื่อถือ และใช้วิจารณญาณอันเที่ยงธรรมโดยไม่มีการจำกัดเชื้อชาติ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

เนินดินที่มีรูปไม่สม่ำเสมอทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ตามการสำรวจทางอากาศ

ตามภูมิศาสตร์ ที่ราบสูงทางตะวันออกของประเทศไทยอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 101 องศา และ 106 องศาทางตะวันออก และระหว่างเส้นแวง 14 องศา และ 19 องศา ทางเหนือ อาจเรียกชื่อว่า ที่ราบสูงโคราช ซึ่งมีเมืองโคราชหรือนครราชสีมาเป็นเมืองสำคัญ จากภาพถ่ายทางอากาศมีโบราณสถานจำนวนมาก ในบริเวณเนื้อที่เพียง 1 ตารางไมล์จะมีโบราณสถานที่มีขนาดและอายุต่างกันอยู่ตั้ง 3 หรือ 4 แห่งเป็นอย่างน้อย มีกลุ่มเนินดินที่มีรูปไม่สม่ำเสมอซึ่งตั้งอยู่เป็นกลุ่มอย่างหนาแน่น ซึ่งอาจแบ่งแยกสถานที่เหล่านี้ได้ดังนี้ ก) เมืองเล็ก ๆ ที่มีการป้องกัน 200 เมือง มีเนินดินหลายเนินซึ่งมีศูนย์กลางร่วมและมีการก่อสร้างที่ได้ระเบียบ เกือบจะเป็นวงกลม ข) ที่ตั้ง “เมืองใหญ่“ 4 แห่ง เป็นแบบคล้ายกันแต่มีช่องว่างกว้างอยู่ระหว่างกำแพงชั้นในและชั้นนอก ค) ที่ตั้งหลายแห่งตั้งอยู่บนพื้นที่เป็นหิน คงจะเป็นส่วนของหมู่เดียวกัน ง) เนินดินที่มีรูปไม่สม่ำเสมอจำนวนหนึ่ง มีการวางแผนผังแตกต่างกันอย่างกว้างขวาง และคงไม่ได้เกี่ยวข้องกับ 3 หมู่ข้างต้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507

ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.

Boisselier, Jean