พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 4]
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-059
- Item
- 2517
Part of บทความ
ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 3]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-072
- Item
- 2514
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) ศิลาจารึกขอมกล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย 2 นิกาย คือ นิกายปาศุปัต (กลางพุทธศตวรรษที่ 12) และนิกายไศวะ (ต้นพุทธศตวรรษมี่ 15) ซึ่งทั้งสองนิกายเป็นการรับอิทธิพลมาจากอินเดีย ซึ่งหลังจากรัชกาลพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงนิกายปาศุปัต และจารึกที่พบทั้งหมดกล่าวถึงนิกายไศวะเท่านั้น คัมภีร์ในนิกายไศวะพบในการท่องปุราณะ กาพย์ และสลักเป็นภาพเล่าเรื่อง รวมทั้งจารึกตามในศาสนสถาน นามของพระอิศวรที่พบในจารึกขอมมีจำนวนมาก นามจะเกี่ยวข้องกับคัมภีร์ต่างๆ สถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง และจากคำที่มาจากคำเปรียบเปรย พบมาแล้วในจารึกก่อนเมืองพระนคร
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 4]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-073
- Item
- 2514
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) ปรัชญาในศาสนาพราหมณ์พบในจารึกขอมที่กล่าวสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าในจารึกภาษาสันสกฤต แสดงถึงพระอิศวรทรงเป็นทั้งพระผู้เป็นเจ้า และเป็นผู้ยิ่งใหญ่อันประเสริฐ เกิดเป็นรูปอยู่ประจำทั้ง 8 ขึ้น (อษฺฏ มูรติ)คือ แผ่นดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ และอาตมัน แนวความคิดรูปทั้งแปดพบมากในอาณาจักรขอม โดยในงานพิธีกรรมก็สอดคล้องกับแนวคิดในประเทศอินเดียด้วย ปฺรณว เครื่องหมายโอม เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของพระอิศวร มีลักษณะ 3 ประการ ลักษณะที่ 1 คือพระอาทิตย์ ดวงจันทร์ และไฟ ลักษณะที่ 2 คือตรีมูรติ และลักษณะที่ 3 คือคุณสมบัติ 3 ประการ ซึ่งทำให้นึกถึงพระเนตรทั้งสามของพระอิศวรด้วย
พิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเกี่ยวข้องกับการสังเวชบูชาไฟในการเคารพพระอิศวร พระอัคนีเป็นรูปหนึ่งของ อษฺฏ - มูรติ ไฟก็คือแสงประจำโลก และคือพระอาทิตย์ซึ่งมีลักษณะเดียวกัน โดยแสงนั้นเป็นแสงสว่างขั้นต้นกำเนิดโดยพระผู้สร้าง โดยศิวลึงค์เปรียบได้กับเสาแห่งไฟ ที่เป็นแสงสว่างเหนือความมืด สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ที่สัมพันธ์กับแสงสว่าง ลัทธิโยคะยังเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความเคารพบูชา
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 5]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-074
- Item
- 2515
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) รูปแบบของพระอิศวรปรากฏตามลักษณะประติมานวิทยาหลายรูปแบบ ศิวลึงค์เป็นลักษณะหนึ่งที่พบมากและมีหลายหลายรูปแบบ คือรูปแบบศิวลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และรูปแบบศิวลึงค์ที่สร้างขึ้น รูปแบบที่สำคัญคือ มุขลึงค์ มีลักษณะเป็นลึงค์ที่มีพระพักตร์ของพระอิศวร เป็นต้น นอกจากนี้สัญลักษณ์ของพระอิศวรยังปรากฏในรูปแบบ ศิวบาท รวมทั้งตรีศูลและโคนนทิ ทั้งนี้การสร้างพระอิศวรในรูปมนุษย์ไม่นิยมนัก ในสมัยก่อนเมืองพระนครพบเพียง 4 ชิ้น ต่อมาในสมัยเมืองพระนครพบว่ามีการสร้างรูปมนุษย์มากขึ้นและมีหลายปาง ที่นิยมคือรูปพระอุมา-มเหศวร และรูปพระศิวนาฏราช เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประติมานวิทยาที่แสดงออกในรูปโคนนทิและพระกาล รวมทั้งรูปพระอุมาซึ่งเป็นศักติของพระอิศวร มีรูปแบบพระอุมาที่สำคัญคือ รูปมหิษาสุรมรรทนี และรูปอรรธนารีศวร เป็นต้น จากหลักฐานจารึกและงานศิลปกรรมสามารถกล่าวได้ว่าศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกายในอาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 12]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-081
- Item
- 2516
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 7 สรุป) อาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย เห็นได้ชัดจากจารึกภาษาสันสกฤต และศาสนาที่มาจากคัมภีร์ต่าง ๆ วิวัฒนาการทางศาสนาซึ่งได้รับจากอินเดียแพร่หลายในอาณาจักรขอมอย่างรวดเร็ว ทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย มีหลักฐานจารึกและประติมากรรมที่หลงเหลืออยู่มาก รวมทั้งมีการเคารพบูชาศักติ หรือสัญลักษณ์ของพระนารายณ์และพระอิศวรด้วย การรับอิทธิพลจากอินเดียในอาณาจักรขอมมีการผสมผสานกับประเพณีพื้นเมือง ทำให้มีลักษณะดั้งเดิมของตนเอง แต่ก็อาจกล่าวได้ว่ามีรากฐานของอิทธิพลอินเดียที่เป็นพื้นฐานในศาสนาพราหมณ์
Bhattacharya, Kamaleswar