Showing 4 results

Archival description
ศิลปกรรมพุทธศาสนา -- อิทธิพลอินเดีย
Print preview View:

4 results with digital objects Show results with digital objects

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 14]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงสถาปัตยกรรมจีนและญี่ปุ่นไปพร้อมกัน โดยเน้นศิลปะญี่ปุ่นมากกว่าเพราะหลงเหลือตัวอย่างมากกว่า เช่น ศาลเจ้าที่มักสร้างขึ้นเลียนแบบของโบราณ วัดโฮริวจิ และศาลาฟินิกซ์ที่เบียวโดอิน
ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงศิลปะเอเชียกลาง ที่ได้รับอิทธิพลคันธาระผสมผสานกับศิลปะจีน ตะวันตกและอิหร่าน มีการยกตัวอย่างจิตรกรรมที่มิราน กิซีล ดันดันอุยลิค เป็นต้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 1]

ก่อนการมีศิลปะอินเดียอย่างแท้จริง มีศิลปะของเมืองฮาระปาและโมฮนโจ-ทาโรในลุ่มน้ำสินธุราว 1450 ก่อนพุทธกาล ที่มีการจัดการผังเมืองอย่างเป็นระบบ และตราประทับที่ส่วนใหญ่เป็นรูปสัตว์ และเทวดานั่ง ศิลปะแบบอินเดียอย่างแท้จริงสมัยที่ 1 คือศิลปะของสัญจี สมัยราชวงศ์โมรยะ และศุงคะ ราว พ.ศ. 250-650 มีสูปที่พัฒนาจากเนินดินฝังศพ ถ้ำที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมเครื่องไม้คือถ้ำภัชชา เบทสา กาลี เป็นต้น ส่วนประติมากรรมคือเสาพระเจ้าอโศก ที่ได้อิทธิพลแบบกรีก ส่วนสมัยที่ 2 ราว พ.ศ. 550-950 มีศิลปะกรีกภายในรูปพุทธศาสนา ที่น่าจะเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าทำพระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยหรือหริภุญชัย ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ

พระพุทธรูปทรงเครื่องยืนสำริด สูง 87 เซนติเมตร ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณองค์นี้ ค้นพบที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะของศิลปะต่าง ๆ หลายแบบปะปนกัน เมื่อ พ.ศ. 2513 ผู้เขียนเคยจัดให้อยู่ในสมัยลพบุรี โดยมีอิทธิพลของศิลปอินเดียสมัยปาละเข้ามาปะปน และตีพิมพ์ในหนังสือ ชื่อ ศิลปวัตถุชิ้นเอกของเอกชน (Masterpieces from Private Collection) แต่บัดนี้ผู้เขียนมีความเห็นเปลี่ยนแปลงไป โดยจัดให้พระพุทธรูปองค์นี้เป็นศิลปสมัยหริภุญชัยตอนปลายราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18-19 เนื่องจากหลักฐานทางด้านศิลปะ โดยเฉพาะสร้อยคอที่แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะขอมสมัยนครวัด หลักฐานจากตำนานเรื่องจามเทวีวงศ์ นอกจากนั้นที่ด้านหลังพระพุทธรูปยังมีจารึกปรากฏอยู่เป็นตัวอักษรขอมและเป็นภาษาบาลี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย

ประเทศไทยจัดแบ่งพระพุทธรูปรุ่นเก่าที่ค้นพบไว้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี หรือ แบบลังการุ่นต้น (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กที่ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา จีวรเป็นริ้ว มักแสดงปางประทานอภัยหรือทรงสั่งสอน (วิตรรกะ) แบบที่ 2 คือ แบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ ได้แก่ ศิลปะทวารวดี พระพุทธรูปครองจีวรเรียบ มีทั้งครองจีวรห่มคลุมและห่มเฉียง มาบัดนี้ ได้ค้นพบพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งซึ่งอยู่ในระหว่างแบบที่ 1 และแบบที่ 2 เป็นพระพุทธรูปศิลาครึ่งองค์ สูง 59.3 ซม. มีขมวดพระเกศาแบบเรียบติดกับพระเศียร พระเกตุมาลาแบนมาก ด้านหลังพระเศียรมีประภามณฑลเป็นวงกลม ครองจีวรห่มเฉียงแบบศิลปะอมราวดี แต่จีวรเรียบไม่มีริ้ว อาจจัดเป็นพระพุทธรูปหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างอิทธิพลของศิลปะอมราวดีและศิลปะคุปตะกับหลังคุปตะได้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล