Showing 17 results

Archival description
ศิลปกรรม -- อิทธิพลอินเดีย
Print preview View:

17 results with digital objects Show results with digital objects

ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอม

ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอมปรากฏหลักฐานให้เห็นทั้งในงานสถาปัตยกรรมในศาสนาและประติมากรรม โดยในกลุ่มประติมากรรมยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เทวรูปในศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธรูป ทั้งนี้ การที่ศิลปกรรมสมัยก่อนเมืองพระนครปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเท่านั้น เนื่องจากในสมัยโบราณ การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมไปถึงพระราชวัง สร้างด้วยวัสดุที่ไม่คงทนถาวร ต่างจากการสร้างศาสนสถานและประติมากรรมในศาสนา นอกจากนี้ หลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า ศิลปะขอมได้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดีย และต่อมามีการพัฒนารูปแบบเป็นของตนเอง โดยเฉพาะประติมากรรม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลปทวารวดี ตอนที่ ๑

ศิลปะทวารวดีแบ่งเป็น 2 สมัยใหญ่ ๆ คือ 1) สมัยก่อนทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 8-11 ปรากฏมีการวางรากฐานแห่งอารยธรรมอินเดียโดยเฉพาะทางพุทธศาสนาลงในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันมีการสร้างงานศิลปกรรมแบบพื้นเมืองรุ่นแรกที่เลียนแบบหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปวัตถุอินเดีย 2) สมัยทวาราวดีอย่างแท้จริง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12-17 ซึ่งแบ่งเป็น 4 สมัยย่อย คือ สมัยเริ่มก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12, สมัยก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13, สมัยฟื้นฟูใหม่ ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15, สมัยเสื่อม ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยในแต่ละยุคสมัยมีรูปแบบศิลปกรรมที่แสดงถึงการผสมผสานแรงบันดาลใจจากภายนอกและความคิดของช่างพื้นถิ่น.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 9]

บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร ตั้งแต่ศิลปะแปรรูป บันทายศรี คลัง บาปวน นครวัดและบายน รวมถึงศิลปะระยะหลังอีก 2 ระยะ คือ หลังสมัยบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร โดยมีพัฒนาการทั้งในแง่ของประติมานวิทยาและรูปแบบศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงมุทรา อิริยาบถ พัฒนาการของเกตุมาลา เครื่องทรง จีวร มีการยกตัวอย่างสำคัญ.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 8]

ในช่วงต้น บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอม ทั้งวัสดุ วิธีการสร้าง ลักษณะทางประติมานวิทยาทั้งในแง่ของรูปร่างและอิริยาบถ การแสดงมุทรา การประทับในท่าประทับยืน ท่าประทับนั่ง ท่าไสยาสน์ ลักษณะทั่วไปของพระพุทธรูป การทรงจีวร ในช่วงท้าย บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนคร โดยมีการแยกออกเป็น 3 หมู่ซึ่งใช้ความแตกต่างของรูปแบบจีวร การยึดชายจีวร มาเป็นเกณฑ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 2]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 2 สมัยแรกคือศิลปะพนมดาและสมโบร์ไพรกุก มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลังในประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 8]

กล่าวถึงวิวัฒนาการของประติมากรรมลอยตัวในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเองพระนคร นอกจากนี้ยังกล่าวถึงทวารบาลนูนต่ำ และรูปสัมฤทธิ์ด้วย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 7]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงวิวัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม โดยยกตัวอย่างนาคตั้งแต่สมัยพระโคจนถึงศิลปะบายน ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงภาพจำหลักเล่าเรื่องในศิลปะขอม โดยมีการยกตัวอย่างจากปราสาทบันทายสรี นครวัดและบายน (ในบทความเรียกศิลปะบายนว่า “บรรยงก์)

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 6]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงทับหลังในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเมืองพระนคร ซึ่งมีพัฒนาการเป็นลำดับ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงเสาประดับกรอบประตูขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 5]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงทับหลังในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเมืองพระนคร ซึ่งมีพัฒนาการเป็นลำดับ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงเสาประดับกรอบประตูขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 4]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงการเผยแพร่ของวัฒนธรรมอินเดีย ต่อมาได้กล่าวถึงศิลปะชวาภาคกลางในประเทศอินโดนีเซียโดยเฉพาะ ทั้งสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าจันทิ ประติมากรรมในศาสนาพุทธและฮินดูที่คล้ายกับศิลปะอินเดียอย่างมาก มีการยกตัวอย่างจากบุโรพุทโธและจันทิอื่น ๆ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 17