ปราสาทพระวิหารในแง่ศิลป
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-050
- Item
- 2503
Part of บทความ
ปราสาทพระวิหารได้วางแผนผังอย่างฉลาดยิ่ง เปรียบเสมือนการค่อย ๆ ก้าวขึ้นไปสู่ที่ประทับพระผู้เป็นเจ้า คือยังเขาไกรลาส ประกอบด้วยแผนผังที่สลับซับซ้อนทางสถาปัตยกรรม ซึ่งสร้างบนเชิงเนินเขาสูงขึ้นไปตลอดระยะ 105 เมตร และสิ้นสุดตรงหน้าผาใหญ่ตั้งเด่นอยู่เหนือพื้นที่ราบเบื้องล่าง
บริเวณซุ้มประตูชั้นแรกใน 4 ชั้น มีภาพสลักบนซุ้มประตูแสดงรูปเทวดาและเรื่องราวต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์ เมื่อขึ้นไปยังซุ้มประตูหลังที่สองซึ่งมีแผนผังเป็นรูปกากบาทคล้ายกับซุ้มประตูชั้นอื่น เมื่อขึ้นไปยังซุ้มประตูที่ 3 และซุ้มประตูที่ 4 ก็จะพบเทวาลัยศาสนสถานสร้างบนยอดเขาซึ่งอีกด้านหนึ่งจะตัดดิ่งลงไปเป็นหน้าผาทันที
บริเวณเทวาลัยสร้างขึ้นตามต้นแบบของอินเดีย คือเป็นเขตรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอันศักดิ์สิทธิ์ล้อมรอบไปด้วยระเบียงมุงหลังคารูปโค้ง ลักษณะอันสวยงามอันหนึ่งของปราสาทพระวิหารคือ ความละเอียดอ่อนของลวดลายที่สลักขึ้น เส้นนอกของลวดลายกรอบหน้าบันแตกต่างไปจากรูปนาคซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันอยู่เสมอในศาสนสถานเขมร ลายนี้อาจวิวัฒน์มาจากลวดลายมการหรือเหราแบบอินเดียซึ่งปรากฎเช่นเดียวกันบนทับหลังปราสาทสมโบร์ไพรกุกในประเทศกัมพูชา
ศิลป์ พีระศรี
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 12]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-042
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นพุทธศาสนา ทั้งพระศรีศากยมุนี ประติมากรรมในพุทธศาสนามหายาน เช่น พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาหรือศักติ รวมถึงเทพในพุทธศาสนาองค์อื่น ๆ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปสัตว์และลวดลายพันธุ์พฤกษาในศิลปะขอม ไม่ว่าจะเป็นโค ครุฑ ช้าง.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 9]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-039
- Item
- 2511
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร ตั้งแต่ศิลปะแปรรูป บันทายศรี คลัง บาปวน นครวัดและบายน รวมถึงศิลปะระยะหลังอีก 2 ระยะ คือ หลังสมัยบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร โดยมีพัฒนาการทั้งในแง่ของประติมานวิทยาและรูปแบบศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงมุทรา อิริยาบถ พัฒนาการของเกตุมาลา เครื่องทรง จีวร มีการยกตัวอย่างสำคัญ.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 8]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-038
- Item
- 2511
Part of บทความ
ในช่วงต้น บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอม ทั้งวัสดุ วิธีการสร้าง ลักษณะทางประติมานวิทยาทั้งในแง่ของรูปร่างและอิริยาบถ การแสดงมุทรา การประทับในท่าประทับยืน ท่าประทับนั่ง ท่าไสยาสน์ ลักษณะทั่วไปของพระพุทธรูป การทรงจีวร ในช่วงท้าย บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนคร โดยมีการแยกออกเป็น 3 หมู่ซึ่งใช้ความแตกต่างของรูปแบบจีวร การยึดชายจีวร มาเป็นเกณฑ์.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 3]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-033
- Item
- 2510
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 3 สมัยคือศิลปะไพรกเมง ศิลปะแบบปราสาทอันเดตและศิลปะกำพงพระ มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลัง โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 2]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-032
- Item
- 2510
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 2 สมัยแรกคือศิลปะพนมดาและสมโบร์ไพรกุก มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลังในประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 1]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-031
- Item
- 2510
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงวิธีการแบ่งยุคสมัยย่อยในศิลปะขอม และประติมากรรมขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งในแง่ของวัสดุต่าง ๆ ทั้งโลหะ ศิลา ปูนปั้น ไม้ ซึ่งมีเงื่อนไขทางด้านเทคนิคแตกต่างกันไป ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปร่างและท่าทางโดยเน้นถึงสุนทรียภาพของประติมากรรมขอม.
Boisselier, Jean