ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 11]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-080
- Item
- 2516
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 6 การผสมระหว่างลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย) ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอมทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกายมีการนับถือพระนารายณ์และพระอิศวรด้วยกันทั้งสองลัทธิ ในอินเดียก็คัมภีร์ของทั้งสองนิกายมีความพยายามรวมกันของพระนารายณ์และพระอิศวรเช่นกัน ในอาณาจักรขอมผู้นับถือลัทธิไศวนิกายจะถือว่าพระอิศวรเป็นผู้สูงสุด และมีพระนารายณ์และพระพรหมต่ำกว่าเพราะออกมาจากพระอิศวร ลัทธิไวษณพนิกายถือว่าพระอิศวรและพระพรหมออกมาจากพระนารายณ์ เนื่องจากพระพรหมไม่มีนิกาย ทำให้พระนารายณ์และพระอิศวรเป็นศูนย์กลางของลัทธิทั้งสอง จึงมีความพยายามการรวมกันของสองพระองค์ คือพระหริหระ นอกจากนี้การผสมกันของสองนิกายได้มีผลแก่รูปแบบของพระคเณศด้วย.
Bhattacharya, Kamaleswar
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 7]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-037
- Item
- 2511
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะปลาย จำนวน 2 สมัย คือศิลปะนครวัดและศิลปะบายน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาศิลปะสมัยหลังอีก 2 สมัย คือ ศิลปะหลังบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและภาพสลักนูน มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย รวมถึงสุนทรียภาพ.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 6]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-036
- Item
- 2511
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะกลาง จำนวน 4 สมัย คือศิลปะแปรรูป ศิลปะบันทายศรี ศิลปะคลังและศิลปะบาปวน มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญ ซึ่งมีทั้งพัฒนาการและการเลียนแบบศิลปะรุ่นเก่า มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 5]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-035
- Item
- 2511
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมระยะต้นของสมัยเมืองพระนคร จำนวน 2 สมัย คือศิลปะบาแค็งและศิลปะเกาะแกร์ มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญโดยเจาะจงประติมากรรมลอยตัวซึ่งพัฒนาจากความแข็งกระด้างที่แสดงอำนาจในสมัยบาแค็งไปสู่ความเคลื่อนไหวสมัยเกาะแกร์ มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 4]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-034
- Item
- 2511
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อและศิลปะระยะต้นสุดของสมัยเมืองพระนคร จำนวน 2 สมัย คือศิลปะกุเลนและศิลปะพระโค มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญโดยเจาะจงประติมากรรมลอยตัวซึ่งพัฒนาไปสู่การไม่มีวงโค้งยึดอีกต่อไป มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 3]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-033
- Item
- 2510
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 3 สมัยคือศิลปะไพรกเมง ศิลปะแบบปราสาทอันเดตและศิลปะกำพงพระ มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลัง โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 2]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-032
- Item
- 2510
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 2 สมัยแรกคือศิลปะพนมดาและสมโบร์ไพรกุก มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลังในประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.
Boisselier, Jean
มหิษมรรททินี
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-086
- Item
- 2511
Part of บทความ
การประชุมสภาศึกษาวัฒนธรรมทมิฬระหว่างชาติ ครั้งที่ 2 (Second International Congress of Tamil Studies) ณ เมืองมาดราส ประเทศอินเดีย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-8 ม.ค. 2511 ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษพร้อมฉายภาพนิ่งประกอบเรื่อง มหิษมรรททินีในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปมหิษมรรททินี (Mahisa – marddini) หรือมหิษาสุรมรรทินี (Mahisasuramardini) ที่พบในประเทศไทยรูปนี้ เป็นประติมากรรมศิลาสูงทั้งเดือย 1.60 เมตร ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ลักษณะเป็นภาพสลักนูนสูงรูปพระอุมาหรือนางทุรคา 4 กร ประทับยืนอยู่บนศีรษะควาย กล่าวได้ว่าได้รับแบบมาจากประเทศอินเดีย สมัยราชวงศ์ปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) ประติมากรรมแบบนี้จัดว่าเก่าที่สุดที่เคยพบในประเทศไทย.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 28]
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-083
- Item
- 2522
Part of บทความ
ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 27]
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-082
- Item
- 2522
Part of บทความ
ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล