ชาติพันธุ์วิทยา -- ไทย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ชาติพันธุ์วิทยา -- ไทย

Equivalent terms

ชาติพันธุ์วิทยา -- ไทย

Associated terms

ชาติพันธุ์วิทยา -- ไทย

2 Archival description results for ชาติพันธุ์วิทยา -- ไทย

Only results directly related

ตอบคุณปรีดา ศรีชลาลัย

คุณปรีดา ศรีชลาลัย ผู้สนใจในวิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ได้กรุณาเขียนบทความเรื่อง "ข้อปลีกย่อยเกี่ยวกับโบราณคดีไทย" โดยได้พยายามพิสูจน์ว่าชนชาติไทยได้ลงมาอยู่ในแหลมทองหรือประเทสไทยปัจจุบันนี้ตั้งแต่แรกเริ่มก่อนชาติอื่น โดยกล่าวถึงเหตุผลทั้งทางด้านชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อบ้านเมือง แม่น้ำ ภูเขา ในปัจจุบัน ล้วนเป็นชื่อภาษาไทยทั้งสิ้น ลัทธิศาสนาซึ่งชาวอินเดียเผยแพร่มาให้ ไทยก็ออกเสียงตรงตามสำเนียงคำของอินเดียเป็นส่วนมาก วิชาหนังสือที่ชาวอินเดียเผยแพร่มาให้ ไทยก็รับสืบสำเนียงคำอ่านออกเสียงสระพยัญชนะ ตรงตามแบบฉบับของอินเดียที่สุด และยังกล่าวถึงหลักฐานจารึกภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดมีอยู่ 2 แห่ง คือที่ถ้ำฤษีเขางู จังหวัดราชบุรี และที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

สาส์น 2 ศาสตราจารย์ ศจ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ศจ. น.พ. สุด แสงวิเชียร : คนไทยอยู่ที่นี่หรือมาจากไหน?

จดหมายระหว่าง ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด แสงวิเชียร เกี่ยวกับคนไทยในดินแดนไทยเมื่อ 4,000 ปี มาแล้ว ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ เคยแสดงปาฐกถาเรื่อง ทับหลัง 4 ชิ้น จากประสาทเขาน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันจังหวัดสระแก้ว) ว่า “ปราสาทที่สร้างอยู่ในดินแดนประเทศไทยนั้น เข้าใจว่าเป็นของช่างอีกพวกหนึ่งไม่ใช่พวกช่างเขมร แต่เป็นช่างที่อยู่ในบริเวณใกล้กับปราสาท” ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด คิดว่า น่าจะเป็นช่างพื้นเมืองซึ่งอาจเป็นคนไทยที่ลอกเลียนแบบจากฝีมือช่างเขมร ซึ่งจากการขุดค้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี สรุปได้ว่า อาจมีคนไทยอยู่ในดินแดนไทยอย่างน้อยประมาณ 4,000 ปี แต่ ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ เชื่อว่า คนไทยอพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนตามหลักทางด้านภาษาศาสตร์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด เห็นด้วยว่า ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าโครงกระดูกของคนผิวเหลืองนั้นเป็นคนไทย แต่เสนอสิ่งที่มนุษย์เมื่อ 4,000 ปี ในดินแดนประเทศไทยทำขึ้นใช้ในการดำเนินชีวิต คือ เครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผา ลูกรอก (pulley) การควั่นงาช้างทำเป็นลูกปัด และเครื่องขุดทำจากหิน เป็นต้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล