หลักการค้นคว้าวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
- TH Subhadradis 01 BK-01-36-001
- Item
- 2511
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
หลักการค้นคว้าวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
หลักการค้นคว้าวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Part of บทความ
การค้นคว้าในวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์จำต้องอาศัยหลัก 3 ประการ ซึ่งมีลำดับดังนี้ 1) หลักฐานอันดับ 1 ได้แก่ หลักฐานที่สร้างหรือแต่งขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น คือ โบราณวัตถุสถาน จารึกและจดหมายเหตุ 2) หลักฐานอันดับ 2 ได้แก่ หลักฐานที่สร้างหรือแต่งขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้นล่วงไปแล้ว ได้แก่ ตำนาน หรือ จดหมายเหตุพื้นเมืองต่าง ๆ ที่แต่งหรือรวบรวมขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้วเป็นเวลาหลายร้อยปี 3) หลักฐานอันดับ 3 ได้แก่ หนังสือต่าง ๆ ที่มีผู้เขียนขึ้นในสมัยปัจจุบัน โบราณวัตถุในภาคเอเชียอาคเนย์ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในศาสนา ได้แก่พุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ จึงควรเรียนรู้ลักษณะของศิลปกรรม วิวัฒนาการของประติมากรรม โบราณสถาน ควรพิจารณาแบบของศิลปะ ลวดลายที่ใช้ประดับสถาปัตยกรรม สำหรับจารึกควรพิจารณาข้อความในจารึก ภาษาที่ใช้โดยเฉพาะภาษาพื้นเมือง จดหมายเหตุสำหรับวิชาโบราณคดีในภาคเอเชียอาคเนย์ มีจดหมายเหตุที่สำคัญคือจดหมายเหตุจีน จดหมายเหตุของชาวยุโรป และจดหมายเหตุของพ่อค้าชาวอาหรับ ตามลำดับ ตำนานหรือจดหมายเหตุพื้นเมืองสมควรที่จะมีการขุดค้นหาหลักฐานทางโบราณวัตถุสถานเพื่อพิสูจน์คำกล่าวในตำนานหรือจดหมายเหตุพื้นเมือง หนังสือต่าง ๆ ที่มีผู้เขียนขึ้นในสมัยปัจจุบัน ให้พิจารณาที่หลักฐานอันควรเชื่อถือ และใช้วิจารณญาณอันเที่ยงธรรมโดยไม่มีการจำกัดเชื้อชาติ.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล