Sculpture

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Sculpture

Equivalent terms

Sculpture

Associated terms

Sculpture

5 Archival description results for Sculpture

5 results directly related Exclude narrower terms

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 15]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม อันได้แก่กระดิ่งที่ใช้ในพิธีกรรม คันฉ่อง ฐาน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเครื่องประดับประติมากรรม อาวุธที่ถอดได้และลวดลายขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ประกอบยานพาหนะและที่นั่ง ยอดธง กระดึงและเครื่องดนตรีสำหรับตี วัตถุเครื่องใช้สอบ เครื่องประดับ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 12]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นพุทธศาสนา ทั้งพระศรีศากยมุนี ประติมากรรมในพุทธศาสนามหายาน เช่น พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาหรือศักติ รวมถึงเทพในพุทธศาสนาองค์อื่น ๆ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปสัตว์และลวดลายพันธุ์พฤกษาในศิลปะขอม ไม่ว่าจะเป็นโค ครุฑ ช้าง.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 10]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าหลักในศาสนาฮินดู ทั้งพระพรหม พระนารายณ์และอวตารของพระองค์ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นนรสิงหาวตาร ตรีวิกรม พระราม พระกฤษณะ พระพลราม พระกัลกิน จากนั้นจึงกล่าวถึงพระอิศวรและศิวลึงค์ ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงประติมากรรมผสมทั้งพระหริหระและอรรธนารีศวร.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 4]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อและศิลปะระยะต้นสุดของสมัยเมืองพระนคร จำนวน 2 สมัย คือศิลปะกุเลนและศิลปะพระโค มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญโดยเจาะจงประติมากรรมลอยตัวซึ่งพัฒนาไปสู่การไม่มีวงโค้งยึดอีกต่อไป มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 7]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงวิวัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม โดยยกตัวอย่างนาคตั้งแต่สมัยพระโคจนถึงศิลปะบายน ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงภาพจำหลักเล่าเรื่องในศิลปะขอม โดยมีการยกตัวอย่างจากปราสาทบันทายสรี นครวัดและบายน (ในบทความเรียกศิลปะบายนว่า “บรรยงก์)

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล