พระพุทธรูปสัมฤทธิ์

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์

Equivalent terms

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์

Associated terms

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์

3 Archival description results for พระพุทธรูปสัมฤทธิ์

3 results directly related Exclude narrower terms

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ๒ องค์ ณ เกาะเซเลเบส

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์องค์หนึ่งที่ค้นพบที่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเซเลเบส ประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ที่ค้นพบในเกาะบอร์เนียว ทั้งนี้ประติมากรรมทั้ง 2 องค์ไม่ได้ผลิตขึ้นในเกาะชวา เพราะรูปแบบศิลปกรรมที่สะท้อนความสัมพันธ์กับงานศิลปกรรมทวารวดีมากกว่า.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปประทับยืนห่มเฉียงปางประทานพรและพุทธศิลปในภาคเอเซียอาคเนย์

มีการค้นพบพระพุทธรูปศิลาองค์หนึ่งที่ตวลตาฮอย (Tuol-Ta-Hoy) ในประเทศกัมพูชา และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ มีลักษณะสำคัญคือ อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานพร และครองจีวรห่มเฉียง
จากการศึกษารูปแบบ สามารถจัดประติมากรรมองค์ดังกล่าวไว้ในสมัยก่อนเมืองพระนคร อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ใช่พระพุทธรูปที่เก่าที่สุดในยุคดังกล่าว เนื่องจากการแกะสลักจีวรค่อนข้างคร่าว ดังนั้น จึงไม่อาจมีอายุเก่าไปกว่า พ.ศ.1150-1200 รูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปองค์นี้ยังเป็นหลักฐานแสดงถึงบทบาทการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากทางตอนใต้ของอินเดีย
นอกจากนี้ หากพิจารณาความหมายทางด้านประติมานวิทยา การศึกษาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปที่ตวลตาฮอยอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าทีปังกร.

Boisselier, Jean

ผลอันไม่แน่นอนเกี่ยวกับการใช้ Radiocarbon ทดลองอายุพระพุทธรูปทางภาคเหนือของประเทศไทย

การใช้ Radiocarbon ทดลองอายุของพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นแรก ครั้งแรกใน พ.ศ. 2504 ส่งตัวอย่างแกนดินเผาไป 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมาจากพระพุทธรูปแบบสิงห์ ภาคเหนือ ผลการทดลองพบว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1709-1904 ชิ้นที่สองมาจากพระพุทธรูปแบบสิงห์สมัยสุโขทัยจากวัดพระเชตุพนฯ ผลการทดลองให้อายุระหว่าง พ.ศ. 2148-2198 ต่อมาได้ส่งตัวอย่างไปทดลองซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 โดยเพิ่มตัวอย่างชิ้นที่ 3 จากพระพุทธรูปที่มีจารึกบอกศักราชที่สร้างไว้เพื่อ่ใช้เป็นการบังคับได้ว่าผลจากการทดลองเหล่านี้เชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด ผลการทดลองสรุปได้ว่า การทดลองอายุของพระพุทธรูปด้วยการใช้ Radiocarbon ไม่สามารถพิสูจน์อะไรได้ เนื่องจากอายุของแกนดินซึ่งอยู่ภายในพระพุทธรูปไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นอายุของพระพุทธรูปเหล่านั้นด้วย การทดลองอายุของ Radiocarbon ควรใช้เป็นเพียงหลักฐานสำหรับสนับสนุนเท่านั้น การกำหนดอายุตามแบบศิลปหรือตามหลักฐานอื่น ๆ อาจจะได้ผลแน่นอนกว่า.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล