โบราณวัตถุ -- ไทย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

โบราณวัตถุ -- ไทย

Equivalent terms

โบราณวัตถุ -- ไทย

Associated terms

โบราณวัตถุ -- ไทย

17 Archival description results for โบราณวัตถุ -- ไทย

17 results directly related Exclude narrower terms

ชำแหละทับหลังฯ อย่าให้ไฟไหม้ฟาง

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เดิมอยู่ทางทิศตะวันออกของประสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ตกลงมาที่พื้นและแตกออกเป็นสองซีก หลักฐานรูปแรกสุดได้ถ่ายไว้สมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2472 อีก 31 ปีต่อมา นายมานิต วัลลิโภดม จากกรมศิลปากรถ่ายรูปไว้เมื่อ พ.ศ. 2503 ต่อมา กรมศิลปากรจึงได้พิมพ์เป็นหนังสือ หลังจากนั้นทับหลังก็หายไป ซึ่งกรมศิลปากรไปติดตามได้คืนมาชิ้นหนึ่ง ปัจจุบันติดอยู่ที่ปราสาทพนมรุ้งแล้ว เมื่อ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้รับเชิญไปบรรยายที่สหรัฐอเมริกา รวมทั้งที่สถาบันชิคาโกด้วยได้พบทับหลังตั้งแสดงอยู่ที่นั่น จึงได้รายงานถึงกรมศิลปากรให้ดำเนินการติดต่อขอคืนในปี พ.ศ. 2519 และเงียบหายไปเป็นเวลากว่า 10 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2531 จึงมีการติดต่อ และส่งคืนให้ในที่สุด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณวัตถุซึ่งขุดค้นพบที่เทวสถาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้พานักศึกษาไปฝึกหัดขุดค้นและขุดแต่งซากโบราณสถานที่เทวสถาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน - 9 พฤศจิกายน 2512 จากผลการขุดแต่งแล้วนั้นปรากฏว่า มีระยะการก่อสร้าง 3 ครั้งหรือ 3 สมัยด้วยกัน
ครั้งแรกคงสร้างแต่องค์เทวสถานเพียงอย่างเดียว รูปเป็นปรางค์แน่เพราะฐานเดิมปรากฏอยู่เป็นรูปฐานย่อไม้ 20 และย่อเก็จทำเป็นซุ้มมุขทิศ 4 ด้าน ตามที่ปรากฏร่องรอยอยู่นั้นองค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐใช้ดินดิบเป็นสื่อเชื่อมแทนปูนสอ ผิวนอกองค์ปรางค์ถือปูน
ระยะที่ 2 ก่อสร้างวิหารต่อด้านหน้าเทวสถานเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งมีข้อสังเกตและหลักฐานอยู่ 2 อย่างคือ ลักษณะปูนถือและส่วนผสมปูนถือผนังวิหารต่างชนิดและต่างอายุกันกับปูนถือเทวสถานองค์ปรางค์ และตรงวที่วิหารกับเทวสถานปรางค์มาต่อเชื่อมกัน อิฐแยกออกจากกันอย่างมีระเบียบโดยมีแนวบัวที่ทำสำเร็จฝังอยู่ในผนังวิหารส่วนที่เชื่อมต่อกัน
ระยะที่ 3 ก่อสร้างระเบียงแบบเป็นห้องด้านหน้าและด้านข้างวิหารทั้งสองข้างดังที่ปรากฏแนวผนังเหลืออยู่นั้น ระเบียงคงใช้เป็นที่พักจำพรรษาหรือเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปในระยะหลังก็อาจเป็นได้ ตัวอาคารผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาเช่นเดียวกันกับพระวิหาร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบจากเมืองศรีเทพ

เมืองศรีเทพ บางท่านเรียกว่า เมืองอภัยสาลี เดิมตั้งอยู่ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาตั้งอยู่ในอำเภอศรีเทพแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงค้นพบเมืองนี้เมื่อ พ.ศ. 2448 ประติมากรรมศิลาที่ค้นพบส่วนใหญ่เป็นเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ต่อมาพบศิลาจารึกอีก 2 หลัก แสดงว่าอาณาจักรเจนละหรือขอมรุ่นแรกในขณะนั้นได้แผ่อำนาจเข้ามาถึงยังลุ่มแม่น้ำป่าสักแล้ว โบราณวัตถุซึ่งถูกลักลอบออกไปจากเมืองศรีเทพ 3 ชิ้น และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์นอร์ตัน ไซมอน (Norton Simon Museum of Art) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ 1) เทวรูปศิลาทราย สูงประมาณ 1.14 เมตร คาดว่าเป็นพระอาทิตย์และเป็นชิ้นที่สำคัญที่สุด 2) แผ่นทอง สูงประมาณ 30 ซม. ดุนเป็นเทวรูปพระนารายณ์ 3) พระพุทธรูปสมัยทวาราวดี สลักด้วยศิลาทรายสีเทา สูงประมาณ 2.18 เมตร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทย

วัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทยจากที่พบในหนังสือเรื่อง The Ideal Image, the Gupta Sculptural Tradition and Its Influence แต่งโดย Pratapaditya Pal มีทั้งหมด 11 ชิ้น ดังนี้ 1) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางทรงแสดงธรรม สูงประมาณ 5 เซนติเมตร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 10-11 2) รูปเทพธิดาศิลาทราย 4 กร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร 3) พระพุทธรูปศิลาทราย สูง 1.10 เมตร สมัยทวาราวดี 4) พระพิมพ์ดินเผารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสูง 12 เซนติเมตร 5) รูปพระอิศวรศิลาสูงประมาณ 70 เซนติเมตร มาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 6) แผ่นทองดุนนูนเป็นรูปพระอิศวร สูง 17 เซนติเมตร อาจมาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 7) แผ่นเงินดุนนูนเป็นรูปพระพุทธองค์ สูง 14 เซนติเมตร อาจค้นพบจาก อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 8) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนสูง 51 เซนติเมตร ศิลปทวาราวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 9) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ สูง 22 เซนติเมตร คาดว่าค้นพบทางภาคใต้ของประเทศไทย 11) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร เป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดและงามที่สุดองค์หนึ่งในบรรดาประติมากรรมซึ่งค้นพบที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณวัตถุสถานสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยและการอนุรักษ์

โบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยแบ่งกว้าง ๆ เป็น 2 สมัย คือ สมัยก่อนที่ชนชาติไทยจะเข้าปกครองประเทศ และสมัยที่ชนชาติไทยเข้าปกครองประเทศแล้ว สำหรับสมัยแรกแบ่งเป็นศิลปะ 5 แบบย่อย ๆ ได้แก่ 1) โบราณวัตถุรุ่นต้นที่ค้นพบในประเทศไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 6-11) เช่น ตะเกียงโรมันสำริด ซึ่งค้นพบที่ ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศิลปะทวาราวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16) เช่น ศิลาจารึกภาษามอญรุ่นเก่าราวพุทธศตวรรษที่ 12 ค้นพบในเขตจังหวัดนครปฐม และลพบุรี 3) เทวรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-14) เช่น ศิวลึงค์ และเทวรูปพระนารายณ์ ค้นพบทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย 4) ศิลปะศรีวิชัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18) เช่น เศษเครื่องถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์ถัง ค้นพบทั้งทางฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกของประเทศไทย 5) ศิลปะลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-19) พบที่ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ส่วนศิลปะในประเทศไทยเมื่อชนชาติไทยเข้าปกครองแล้ว แบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ 6) ศิลปะเชียงแสนหรือล้านนา (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือ 18 ถึง พุทธศตวรรษที่ 23) เจริญขึ้นมาทางภาคเหนือของประเทศไทย 7) ศิลปะสุโขทัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20) ถือกันว่าเป็นศิลปะที่งามที่สุดของไทย เช่น พระพุทธรูปสุโขทัย เครื่องสังคโลก 8) ศิลปะอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 17-20) เช่น พระพุทธรูป พระปรางค์องค์ใหญ่วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี 9) ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-23) เช่น จิตรกรรมฝาผนัง เครื่องอาภรณ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องลายรดน้ำ 10) ศิลปะรัตนโกสินทร์ (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 24 จนถึงปัจจุบัน) มีการเลียนแบบศิลปะจีน และศิลปะตะวันตกเป็นศิลปะแบบผสม (eclectic).

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

แผ่นเงินสมัยทวาราวดีซึ่งขุดพบที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

แผ่นเงิน 66 แผ่น ค้นพบที่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ในซากพระอุโบสถ (?) ซึ่งเรียกกันว่า อุ่มญาคู ในเมืองคันธารวิสัย ต.คันธาร์ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ได้ขุดค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2515 เมืองคันธารวิสัย มีแผนผังเป็นรูปไข่ มีคูเมืองล้อมรอบอยู่ระหว่างเชิงเทิน 2 ชั้น สิ่งสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งที่ค้นพบในการขุดแต่งซากพระอุโบสถคือ พระพิมพ์ดินเผา ขนาด 14 x 22.5 ซม. เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ ภาชนะดินเผาสูง 12.5 ซม. ปากกว้าง 20 ซม. มีแผ่นเงินบุเป็นรูปต่าง ๆ 66 แผ่น อยู่ภายใน ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดต่าง ๆ กัน ระหว่าง ขนาด 10 x 15 ซม. เป็นแผ่นเงินที่ถูกบุเป็นพระพุทธรูป รูปเทวดาหรือเจ้านาย รูปสถูปและธรรมจักรตั้งอยู่บนยอดเสา ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง อาจสรุปว่าสร้างขึ้นในศิลปะทวารวดี โดยบุขึ้นในตอนปลายของศิลปะทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 แสดงถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในขณะนั้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการนำนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรไปทำการขุดค้นที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 1 คณะโบราณคดีนำคณะนักศึกษาไปขุดซากโบราณสถานภายในตัวเมืองอู่ทองที่ซากพระเจดีย์นอกคูเมือง บริเวณแนวปูนปั้นที่เคยใช้ประดับพระเจดีย์ได้พบปูนปั้นจำนวนมาก และวัตถุต่างๆ ที่น่าสนใจ 30 ชิ้น มีทั้งองค์พระพุทธรูป ฐานพระพุทธรูป ฐานบัวพระพุทธรูปและพระบาท ครุฑและปีกครุฑ เศียรพระพุทธรูป ลายก้านขด องค์เทวรูป พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์แบบทวาราวดีปางเทศนาสูง 13 เซนติเมตร และพระพิมพ์ดินเผาแบบทวาราวดี เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย สูง 8 ½ เซนติเมตร หลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า พระเจดีย์องค์นี้คงจะสร้างขึ้นในสมัยทวาราวดีรุ่นหลัง ครั้งที่ 2 ได้นำคณะนักศึกษาไปขุดซากโบราณสถานภายในตัวเมืองอู่ทองอีก ส่วนใหญ่พบวัตถุปูนปั้นและได้ขุดพบพระพุทธรูปปูนปั้นยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นแบบอู่ทองยุคที่ 1 สูง 34 เซนติเมตร เศียรเทวดาแบบทวาราวดีรุ่นหลังขนาดสูง 15 เซนติเมตร และลวดลายปูนปั้นแปลกๆ เช่นลายบันได ลายประจำยาม ลายวงกลมโค้งต่อกัน จากหลักฐานโบราณวัตถุที่ขุดค้นทั้ง 2 ครั้ง แสดงว่า ศิลป ณ.เมืองอู่ทองมีสืบลงมาตั้งแต่แบบทวาราวดีจนถึงแบบอู่ทอง สันนิษฐานว่า เมื่อศิลปแบบคุปตะแพร่ออกมาจากประเทศอินเดีย คงจะมาเจริญแพร่หลายที่เมืองนครปฐม ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลก่อน ต่อจากนั้นจึงได้แผ่ขึ้นมายังอู่ทอง ทำให้ได้รับอิทธิพลของชาวพื้นเมืองมากขึ้นและฝีมือก็คลายลง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิจารณ์แบบศิลปในประเทศไทย ของ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์

ผู้เขียนมีความเห็นตรงกันกับ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เห็นว่า คำว่า สมัยทางประวัติศาสตร์ และแบบของศิลปะนั้น เป็นระยะเวลาต่างกัน ไม่ควรนำมาใช้ปะปนหรือใช้แทนกัน แต่ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ใช้คำว่าศิลปะมอญ แทนคำว่า ศิลปะทวาราวดี พร้อมทั้งยอมรับว่า คำว่า ศิลปะลพบุรี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่เหมาะสมตามที่ ดร.พิริยะ กล่าว สำหรับศิลปะไทยที่เสนอให้แบ่งออกตามท้องถิ่น ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเพราะคงจะมีมากมายหลายสกุลช่างจนเป็นการยุ่งยากแก่นักศึกษา รวมทั้งเรื่องที่เสนอให้นำศิลปะอู่ทองมารวมกับ ศิลปะอยุธยา และเรียกว่า ศิลปะอยุธยา ส่วนศิลปะรัตนโกสินทร์ที่ ดร.พิริยะ กล่าวว่า เกิดขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 หรือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ลงมา และเสนอให้เรียกศิลปะก่อนหน้านั้นว่าศิลปะอยุธยา ผู้เขียนไม่เห็นด้วย สำหรับการศึกษาศิลปะศรีวิชัย หรือศิลปะทางภาคใต้ของประเทศไทย ผู้เขียนมีความเห็นคล้อยตามว่าควรจะแยกศึกษาจากกำเนิดที่มาต่าง ๆ กัน นอกจากนั้น ผู้เขียนยังวิจารณ์โบราณวัตถุที่นำมาจัดตั้งแสดงตามรูปในหนังสือ เฉพาะในส่วนที่มีความเห็นแตกต่างกับ ดร.พิริยะ เท่านั้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

The Exhibition of Masterpieces from private collections displayed at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 1]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. This volume mentions the ancient objects of Indian Amaravati or early Singhalese and of Dvaravati styles.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 17