โบราณวัตถุ -- ไทย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

โบราณวัตถุ -- ไทย

Equivalent terms

โบราณวัตถุ -- ไทย

Associated terms

โบราณวัตถุ -- ไทย

2 Archival description results for โบราณวัตถุ -- ไทย

2 results directly related Exclude narrower terms

ศิลาจารึกบ่ออีกา

บ่ออีกา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองราชสีมาเก่า โบราณวัตถุที่ค้นพบได้แก่ จารึกศิลาทรายสีแดง ขนาด 1.10 x 0.56 x 0.25 เมตร หลักหนึ่ง ซึ่งแตกออกเป็น 2 ชิ้น แต่ละด้านมีจารึกภาษาสันสกฤต ใช้ตัวอักษรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา จารึกที่เก่าที่สุดประกอบด้วยจารึก 4 บรรทัด ประกอบเป็นคาถา “สรัคธรา” สลักด้วยตัวอักษรขนาดค่อนข้างใหญ่ ข้อความในจารึกที่อ่านได้เกี่ยวกับพุทธศาสนา และกล่าวถึงพระราชาแห่งอาณาจักรศรีจนาศะทรงอุทิศปศุสัตว์และทาสทั้งชายหญิงถวายแด่พระภิษุสงฆ์ จารึกด้านที่ 2 เป็นภาษาสันสกฤต 12 บรรทัด และจารึกภาษาขอม 5 บรรทัด กล่าวถึงการสรรเสริญพระอิศวรก่อนกล่าวถึงอังศเทพ หลักฐานสำคัญของจารึกหลักนี้ก็คือ ทำให้ทราบว่าใน พ.ศ. 1411 ดินแดนจังหวัดนครราชสีมา อาจเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรโบราณชื่อ จนาศะ ซึ่งยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชา.

ฉ่ำ ทองคำวรรณ

วิจารณ์แบบศิลปในประเทศไทย ของ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์

ผู้เขียนมีความเห็นตรงกันกับ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เห็นว่า คำว่า สมัยทางประวัติศาสตร์ และแบบของศิลปะนั้น เป็นระยะเวลาต่างกัน ไม่ควรนำมาใช้ปะปนหรือใช้แทนกัน แต่ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ใช้คำว่าศิลปะมอญ แทนคำว่า ศิลปะทวาราวดี พร้อมทั้งยอมรับว่า คำว่า ศิลปะลพบุรี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่เหมาะสมตามที่ ดร.พิริยะ กล่าว สำหรับศิลปะไทยที่เสนอให้แบ่งออกตามท้องถิ่น ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเพราะคงจะมีมากมายหลายสกุลช่างจนเป็นการยุ่งยากแก่นักศึกษา รวมทั้งเรื่องที่เสนอให้นำศิลปะอู่ทองมารวมกับ ศิลปะอยุธยา และเรียกว่า ศิลปะอยุธยา ส่วนศิลปะรัตนโกสินทร์ที่ ดร.พิริยะ กล่าวว่า เกิดขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 หรือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ลงมา และเสนอให้เรียกศิลปะก่อนหน้านั้นว่าศิลปะอยุธยา ผู้เขียนไม่เห็นด้วย สำหรับการศึกษาศิลปะศรีวิชัย หรือศิลปะทางภาคใต้ของประเทศไทย ผู้เขียนมีความเห็นคล้อยตามว่าควรจะแยกศึกษาจากกำเนิดที่มาต่าง ๆ กัน นอกจากนั้น ผู้เขียนยังวิจารณ์โบราณวัตถุที่นำมาจัดตั้งแสดงตามรูปในหนังสือ เฉพาะในส่วนที่มีความเห็นแตกต่างกับ ดร.พิริยะ เท่านั้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล