โบราณสถาน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

โบราณสถาน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา

Equivalent terms

โบราณสถาน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา

Associated terms

โบราณสถาน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา

2 Archival description results for โบราณสถาน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา

2 results directly related Exclude narrower terms

โบราณวัตถุสถานสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยและการอนุรักษ์

โบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยแบ่งกว้าง ๆ เป็น 2 สมัย คือ สมัยก่อนที่ชนชาติไทยจะเข้าปกครองประเทศ และสมัยที่ชนชาติไทยเข้าปกครองประเทศแล้ว สำหรับสมัยแรกแบ่งเป็นศิลปะ 5 แบบย่อย ๆ ได้แก่ 1) โบราณวัตถุรุ่นต้นที่ค้นพบในประเทศไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 6-11) เช่น ตะเกียงโรมันสำริด ซึ่งค้นพบที่ ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศิลปะทวาราวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16) เช่น ศิลาจารึกภาษามอญรุ่นเก่าราวพุทธศตวรรษที่ 12 ค้นพบในเขตจังหวัดนครปฐม และลพบุรี 3) เทวรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-14) เช่น ศิวลึงค์ และเทวรูปพระนารายณ์ ค้นพบทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย 4) ศิลปะศรีวิชัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18) เช่น เศษเครื่องถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์ถัง ค้นพบทั้งทางฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกของประเทศไทย 5) ศิลปะลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-19) พบที่ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ส่วนศิลปะในประเทศไทยเมื่อชนชาติไทยเข้าปกครองแล้ว แบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ 6) ศิลปะเชียงแสนหรือล้านนา (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือ 18 ถึง พุทธศตวรรษที่ 23) เจริญขึ้นมาทางภาคเหนือของประเทศไทย 7) ศิลปะสุโขทัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20) ถือกันว่าเป็นศิลปะที่งามที่สุดของไทย เช่น พระพุทธรูปสุโขทัย เครื่องสังคโลก 8) ศิลปะอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 17-20) เช่น พระพุทธรูป พระปรางค์องค์ใหญ่วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี 9) ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-23) เช่น จิตรกรรมฝาผนัง เครื่องอาภรณ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องลายรดน้ำ 10) ศิลปะรัตนโกสินทร์ (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 24 จนถึงปัจจุบัน) มีการเลียนแบบศิลปะจีน และศิลปะตะวันตกเป็นศิลปะแบบผสม (eclectic).

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

นโยบายการสงวนรักษามรดกทางสถาปัตยกรรมภายในประเทศไทย

สถาปัตยกรรมที่พึงสงวนรักษาในประเทศไทย แบ่งเป็นหลายประเภท คือ โบราณสถาน วัดที่ยังมีพระสงฆ์ประจำอยู่ บ้านแบบไทย และอาคารที่แสดงถึงอิทธิพลของต่างประเทศ โดยมีพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 โดยมีกรมศิลปากรทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ในการสงวนรักษาโบราณศิลปสถานแห่งชาติ ดำเนินการขึ้นทะเบียนโบราณศิลปสถาน การบูรณะโบราณศิลปวัตถุสถานที่ถูกต้องควรมีการวิจัยก่อนซึ่งกระทำแบบพหุวิชาการโดยสถาปนิก นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ศิลปะ และอาจมีนักวิทยาศาสตร์ร่วมด้วย วัดต่างๆ ที่มีประสงฆ์อยู่ประจำและได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้ว เจ้าอาวาสที่ต้องการบูรณะต้องขออนุญาตและได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรก่อน สำหรับบ้านแบบไทย ควรใช้วิธีการชักชวนให้ก่อสร้างบ้านแบบไทยไม่ใช่วิธีบังคับ ส่วนอาคารที่แสดงถึงอิทธิพลของต่างประเทศนั้นควรบำรุงรักษา เพื่อแสดงถึงลักษณะที่น่าสนใจทางด้านสถาปัตยกรรม และการสืบต่อทางด้านประวัติศาสตร์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล