โบราณสถาน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

โบราณสถาน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา

Equivalent terms

โบราณสถาน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา

Associated terms

โบราณสถาน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา

2 Archival description results for โบราณสถาน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา

Only results directly related

นโยบายการสงวนรักษามรดกทางสถาปัตยกรรมภายในประเทศไทย

สถาปัตยกรรมที่พึงสงวนรักษาในประเทศไทย แบ่งเป็นหลายประเภท คือ โบราณสถาน วัดที่ยังมีพระสงฆ์ประจำอยู่ บ้านแบบไทย และอาคารที่แสดงถึงอิทธิพลของต่างประเทศ โดยมีพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 โดยมีกรมศิลปากรทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ในการสงวนรักษาโบราณศิลปสถานแห่งชาติ ดำเนินการขึ้นทะเบียนโบราณศิลปสถาน การบูรณะโบราณศิลปวัตถุสถานที่ถูกต้องควรมีการวิจัยก่อนซึ่งกระทำแบบพหุวิชาการโดยสถาปนิก นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ศิลปะ และอาจมีนักวิทยาศาสตร์ร่วมด้วย วัดต่างๆ ที่มีประสงฆ์อยู่ประจำและได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้ว เจ้าอาวาสที่ต้องการบูรณะต้องขออนุญาตและได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรก่อน สำหรับบ้านแบบไทย ควรใช้วิธีการชักชวนให้ก่อสร้างบ้านแบบไทยไม่ใช่วิธีบังคับ ส่วนอาคารที่แสดงถึงอิทธิพลของต่างประเทศนั้นควรบำรุงรักษา เพื่อแสดงถึงลักษณะที่น่าสนใจทางด้านสถาปัตยกรรม และการสืบต่อทางด้านประวัติศาสตร์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณวัตถุสถานสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยและการอนุรักษ์

โบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยแบ่งกว้าง ๆ เป็น 2 สมัย คือ สมัยก่อนที่ชนชาติไทยจะเข้าปกครองประเทศ และสมัยที่ชนชาติไทยเข้าปกครองประเทศแล้ว สำหรับสมัยแรกแบ่งเป็นศิลปะ 5 แบบย่อย ๆ ได้แก่ 1) โบราณวัตถุรุ่นต้นที่ค้นพบในประเทศไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 6-11) เช่น ตะเกียงโรมันสำริด ซึ่งค้นพบที่ ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศิลปะทวาราวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16) เช่น ศิลาจารึกภาษามอญรุ่นเก่าราวพุทธศตวรรษที่ 12 ค้นพบในเขตจังหวัดนครปฐม และลพบุรี 3) เทวรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-14) เช่น ศิวลึงค์ และเทวรูปพระนารายณ์ ค้นพบทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย 4) ศิลปะศรีวิชัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18) เช่น เศษเครื่องถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์ถัง ค้นพบทั้งทางฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกของประเทศไทย 5) ศิลปะลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-19) พบที่ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ส่วนศิลปะในประเทศไทยเมื่อชนชาติไทยเข้าปกครองแล้ว แบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ 6) ศิลปะเชียงแสนหรือล้านนา (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือ 18 ถึง พุทธศตวรรษที่ 23) เจริญขึ้นมาทางภาคเหนือของประเทศไทย 7) ศิลปะสุโขทัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20) ถือกันว่าเป็นศิลปะที่งามที่สุดของไทย เช่น พระพุทธรูปสุโขทัย เครื่องสังคโลก 8) ศิลปะอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 17-20) เช่น พระพุทธรูป พระปรางค์องค์ใหญ่วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี 9) ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-23) เช่น จิตรกรรมฝาผนัง เครื่องอาภรณ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องลายรดน้ำ 10) ศิลปะรัตนโกสินทร์ (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 24 จนถึงปัจจุบัน) มีการเลียนแบบศิลปะจีน และศิลปะตะวันตกเป็นศิลปะแบบผสม (eclectic).

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล