การสำรวจทางโบราณคดี

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

การสำรวจทางโบราณคดี

Equivalent terms

การสำรวจทางโบราณคดี

Associated terms

การสำรวจทางโบราณคดี

3 Archival description results for การสำรวจทางโบราณคดี

3 results directly related Exclude narrower terms

รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507

ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.

Boisselier, Jean

หลักการค้นคว้าวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์

การค้นคว้าในวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์จำต้องอาศัยหลัก 3 ประการ ซึ่งมีลำดับดังนี้ 1) หลักฐานอันดับ 1 ได้แก่ หลักฐานที่สร้างหรือแต่งขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น คือ โบราณวัตถุสถาน จารึกและจดหมายเหตุ 2) หลักฐานอันดับ 2 ได้แก่ หลักฐานที่สร้างหรือแต่งขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้นล่วงไปแล้ว ได้แก่ ตำนาน หรือ จดหมายเหตุพื้นเมืองต่าง ๆ ที่แต่งหรือรวบรวมขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้วเป็นเวลาหลายร้อยปี 3) หลักฐานอันดับ 3 ได้แก่ หนังสือต่าง ๆ ที่มีผู้เขียนขึ้นในสมัยปัจจุบัน โบราณวัตถุในภาคเอเชียอาคเนย์ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในศาสนา ได้แก่พุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ จึงควรเรียนรู้ลักษณะของศิลปกรรม วิวัฒนาการของประติมากรรม โบราณสถาน ควรพิจารณาแบบของศิลปะ ลวดลายที่ใช้ประดับสถาปัตยกรรม สำหรับจารึกควรพิจารณาข้อความในจารึก ภาษาที่ใช้โดยเฉพาะภาษาพื้นเมือง จดหมายเหตุสำหรับวิชาโบราณคดีในภาคเอเชียอาคเนย์ มีจดหมายเหตุที่สำคัญคือจดหมายเหตุจีน จดหมายเหตุของชาวยุโรป และจดหมายเหตุของพ่อค้าชาวอาหรับ ตามลำดับ ตำนานหรือจดหมายเหตุพื้นเมืองสมควรที่จะมีการขุดค้นหาหลักฐานทางโบราณวัตถุสถานเพื่อพิสูจน์คำกล่าวในตำนานหรือจดหมายเหตุพื้นเมือง หนังสือต่าง ๆ ที่มีผู้เขียนขึ้นในสมัยปัจจุบัน ให้พิจารณาที่หลักฐานอันควรเชื่อถือ และใช้วิจารณญาณอันเที่ยงธรรมโดยไม่มีการจำกัดเชื้อชาติ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการเดินทางไปสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ

การสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษของคณะโบราณคดี ระหว่างวันที่ 21-27 มี.ค. 2513 ได้เยี่ยมชมโบราณวัตถุสถานที่สำคัญได้แก่ ที่อำเภออรัญญประเทศ ชมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่สมาคมพุทธมามกสงเคราะห์ สำรวจซากโบราณสถานเมืองไผ่ ปราสาทเขาน้อย ที่อำเภอตาพญา ชมปราสาททัพเสียม ปราสาทหนองไผ่และประสาทสะล๊อกก๊อก ที่อำเภอวัฒนานคร ชมปราสาทสระหิน เสาประดับกรอบประตูศิลาจากปราสาทบ้านน้อย วัดนครธรรม ปราสาทอุโมงค์ ทับหลังศิลาหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านกรวดและปราสาทใบแขก ที่อำเภอขุนหาร จังหวัดศรีสะเกษ ชมปราสาทตำหนักไทร ทับหลังศิลาที่วัดภูฝ้าย และปราสาทบ้านเยอร์ ที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ชมปราสาทภูมิโพน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล