การสำรวจทางโบราณคดี

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

การสำรวจทางโบราณคดี

Equivalent terms

การสำรวจทางโบราณคดี

Associated terms

การสำรวจทางโบราณคดี

2 Archival description results for การสำรวจทางโบราณคดี

2 results directly related Exclude narrower terms

รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507

ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.

Boisselier, Jean

เนินดินที่มีรูปไม่สม่ำเสมอทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ตามการสำรวจทางอากาศ

ตามภูมิศาสตร์ ที่ราบสูงทางตะวันออกของประเทศไทยอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 101 องศา และ 106 องศาทางตะวันออก และระหว่างเส้นแวง 14 องศา และ 19 องศา ทางเหนือ อาจเรียกชื่อว่า ที่ราบสูงโคราช ซึ่งมีเมืองโคราชหรือนครราชสีมาเป็นเมืองสำคัญ จากภาพถ่ายทางอากาศมีโบราณสถานจำนวนมาก ในบริเวณเนื้อที่เพียง 1 ตารางไมล์จะมีโบราณสถานที่มีขนาดและอายุต่างกันอยู่ตั้ง 3 หรือ 4 แห่งเป็นอย่างน้อย มีกลุ่มเนินดินที่มีรูปไม่สม่ำเสมอซึ่งตั้งอยู่เป็นกลุ่มอย่างหนาแน่น ซึ่งอาจแบ่งแยกสถานที่เหล่านี้ได้ดังนี้ ก) เมืองเล็ก ๆ ที่มีการป้องกัน 200 เมือง มีเนินดินหลายเนินซึ่งมีศูนย์กลางร่วมและมีการก่อสร้างที่ได้ระเบียบ เกือบจะเป็นวงกลม ข) ที่ตั้ง “เมืองใหญ่“ 4 แห่ง เป็นแบบคล้ายกันแต่มีช่องว่างกว้างอยู่ระหว่างกำแพงชั้นในและชั้นนอก ค) ที่ตั้งหลายแห่งตั้งอยู่บนพื้นที่เป็นหิน คงจะเป็นส่วนของหมู่เดียวกัน ง) เนินดินที่มีรูปไม่สม่ำเสมอจำนวนหนึ่ง มีการวางแผนผังแตกต่างกันอย่างกว้างขวาง และคงไม่ได้เกี่ยวข้องกับ 3 หมู่ข้างต้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล