ประติมากรรมขอม

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ประติมากรรมขอม

Equivalent terms

ประติมากรรมขอม

Associated terms

ประติมากรรมขอม

32 Archival description results for ประติมากรรมขอม

32 results directly related Exclude narrower terms

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 2]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 2 สมัยแรกคือศิลปะพนมดาและสมโบร์ไพรกุก มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลังในประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 3]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 3 สมัยคือศิลปะไพรกเมง ศิลปะแบบปราสาทอันเดตและศิลปะกำพงพระ มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลัง โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 4]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อและศิลปะระยะต้นสุดของสมัยเมืองพระนคร จำนวน 2 สมัย คือศิลปะกุเลนและศิลปะพระโค มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญโดยเจาะจงประติมากรรมลอยตัวซึ่งพัฒนาไปสู่การไม่มีวงโค้งยึดอีกต่อไป มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 5]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมระยะต้นของสมัยเมืองพระนคร จำนวน 2 สมัย คือศิลปะบาแค็งและศิลปะเกาะแกร์ มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญโดยเจาะจงประติมากรรมลอยตัวซึ่งพัฒนาจากความแข็งกระด้างที่แสดงอำนาจในสมัยบาแค็งไปสู่ความเคลื่อนไหวสมัยเกาะแกร์ มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 6]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะกลาง จำนวน 4 สมัย คือศิลปะแปรรูป ศิลปะบันทายศรี ศิลปะคลังและศิลปะบาปวน มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญ ซึ่งมีทั้งพัฒนาการและการเลียนแบบศิลปะรุ่นเก่า มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 7]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะปลาย จำนวน 2 สมัย คือศิลปะนครวัดและศิลปะบายน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาศิลปะสมัยหลังอีก 2 สมัย คือ ศิลปะหลังบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและภาพสลักนูน มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย รวมถึงสุนทรียภาพ.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 8]

ในช่วงต้น บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอม ทั้งวัสดุ วิธีการสร้าง ลักษณะทางประติมานวิทยาทั้งในแง่ของรูปร่างและอิริยาบถ การแสดงมุทรา การประทับในท่าประทับยืน ท่าประทับนั่ง ท่าไสยาสน์ ลักษณะทั่วไปของพระพุทธรูป การทรงจีวร ในช่วงท้าย บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนคร โดยมีการแยกออกเป็น 3 หมู่ซึ่งใช้ความแตกต่างของรูปแบบจีวร การยึดชายจีวร มาเป็นเกณฑ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 9]

บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร ตั้งแต่ศิลปะแปรรูป บันทายศรี คลัง บาปวน นครวัดและบายน รวมถึงศิลปะระยะหลังอีก 2 ระยะ คือ หลังสมัยบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร โดยมีพัฒนาการทั้งในแง่ของประติมานวิทยาและรูปแบบศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงมุทรา อิริยาบถ พัฒนาการของเกตุมาลา เครื่องทรง จีวร มีการยกตัวอย่างสำคัญ.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 10]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าหลักในศาสนาฮินดู ทั้งพระพรหม พระนารายณ์และอวตารของพระองค์ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นนรสิงหาวตาร ตรีวิกรม พระราม พระกฤษณะ พระพลราม พระกัลกิน จากนั้นจึงกล่าวถึงพระอิศวรและศิวลึงค์ ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงประติมากรรมผสมทั้งพระหริหระและอรรธนารีศวร.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 11]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าชั้นรองในศาสนาฮินดู ทั้งพระคเณศ พระขันธกุมาร พระอาทิตย์ พระอินทร์ เทพผู้รักษาทิศ จากนั้นกล่าวถึงเทวสตรี อันได้แก่พระอุมา พระลักษมี ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงเทวดาชั้นรอง เช่น ทวารบา เทพธิดา นางอัปสร คณะ อสูร นาค คนธรรพ์.

Boisselier, Jean

Results 11 to 20 of 32