พงตึก (กาญจนบุรี)

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

พงตึก (กาญจนบุรี)

Equivalent terms

พงตึก (กาญจนบุรี)

Associated terms

พงตึก (กาญจนบุรี)

3 Archival description results for พงตึก (กาญจนบุรี)

Only results directly related

พระพุทธรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย

ประเทศไทยจัดแบ่งพระพุทธรูปรุ่นเก่าที่ค้นพบไว้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี หรือ แบบลังการุ่นต้น (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กที่ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา จีวรเป็นริ้ว มักแสดงปางประทานอภัยหรือทรงสั่งสอน (วิตรรกะ) แบบที่ 2 คือ แบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ ได้แก่ ศิลปะทวารวดี พระพุทธรูปครองจีวรเรียบ มีทั้งครองจีวรห่มคลุมและห่มเฉียง มาบัดนี้ ได้ค้นพบพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งซึ่งอยู่ในระหว่างแบบที่ 1 และแบบที่ 2 เป็นพระพุทธรูปศิลาครึ่งองค์ สูง 59.3 ซม. มีขมวดพระเกศาแบบเรียบติดกับพระเศียร พระเกตุมาลาแบนมาก ด้านหลังพระเศียรมีประภามณฑลเป็นวงกลม ครองจีวรห่มเฉียงแบบศิลปะอมราวดี แต่จีวรเรียบไม่มีริ้ว อาจจัดเป็นพระพุทธรูปหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างอิทธิพลของศิลปะอมราวดีและศิลปะคุปตะกับหลังคุปตะได้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ตะเกียงแบบอาเล็กซานเดรียที่พงตึก (ประเทศไทย)

ศาสตราจารย์ Picard กล่าวว่า ตะเกียงที่ขุดพบที่ตำบลพงตึก จ.กาญจนบุรี เป็นแบบที่ทำขึ้น ณ เมืองอาเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ สมัยปโตเลเม และมีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่6 บนฝาตะเกียงที่เปิดใส่น้ำมันเป็นภาพสลักรูปหน้าเทพเจ้า Silenus มีเถาวัลย์ เป็นเครื่องประดับอยู่ข้างบน บนด้ามถือเป็นรูปปลาโลมา ศาสตราจารย์ Picard กล่าวยืนยันถึงการที่ตะเกียงโรมันนี้ได้เดินทางมาจากประเทศอียิปต์ โดยเทียบเคียงแล้วเก่ากว่าตะเกียงแบบ copte ในพิพิธภัณฑ์ Louvre กรุงปารีส และเป็นสินค้าที่ส่งออกมานอกประเทศโดยการค้าขายทางเรือ ซึ่งแย้งกับความเห็นของ ศาสตราจารย์ Coedes ที่กล่าวว่าตะเกียงนี้คงใช้จุดในที่ฝังศพ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลปทวารวดี ตอนที่ ๑

ศิลปะทวารวดีแบ่งเป็น 2 สมัยใหญ่ ๆ คือ 1) สมัยก่อนทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 8-11 ปรากฏมีการวางรากฐานแห่งอารยธรรมอินเดียโดยเฉพาะทางพุทธศาสนาลงในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันมีการสร้างงานศิลปกรรมแบบพื้นเมืองรุ่นแรกที่เลียนแบบหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปวัตถุอินเดีย 2) สมัยทวาราวดีอย่างแท้จริง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12-17 ซึ่งแบ่งเป็น 4 สมัยย่อย คือ สมัยเริ่มก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12, สมัยก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13, สมัยฟื้นฟูใหม่ ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15, สมัยเสื่อม ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยในแต่ละยุคสมัยมีรูปแบบศิลปกรรมที่แสดงถึงการผสมผสานแรงบันดาลใจจากภายนอกและความคิดของช่างพื้นถิ่น.

Boisselier, Jean