ดงศรีมหาโพธิ์ (ปราจีนบุรี)

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ดงศรีมหาโพธิ์ (ปราจีนบุรี)

Equivalent terms

ดงศรีมหาโพธิ์ (ปราจีนบุรี)

Associated terms

ดงศรีมหาโพธิ์ (ปราจีนบุรี)

8 Archival description results for ดงศรีมหาโพธิ์ (ปราจีนบุรี)

8 results directly related Exclude narrower terms

ประติมากรรม 4 รูป ซึ่งเพิ่งค้นพบใหม่ภายในประเทศไทย

ได้ค้นพบประติมากรรมที่สำคัญ 4 รูป ภายในประเทศไทย 1) เทวรูปพระคเณศศิลา สูง 1.70 เมตร พบ ณ เทวาลัยเมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี กำหนดอายุไว้ว่าอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-12 เทียบได้กับเทวรูปพระคเณศจาก Tuol Phak Kin อีก 3 องค์ พบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ 2) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สูง 47 เซนติเมตร อาจหล่อขึ้นในศิลปะขอมสมัยไพรกเมง อายุราว พ.ศ.1200-1250 3) พระโพธิสัตว์อีกองค์อาจเป็นพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเนื่องจากสัญลักษณ์บนมวยผมหลุดหายไป สูง 1.37 เมตร คงหล่อขึ้นหลังกว่ารูปแรก ระหว่าง พ.ศ.1250-1350 4) พระพุทธรูปสำริด สูง 1.20 เมตร ในศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รอยพระพุทธบาทคู่ที่สระมรกต ดงศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี

มีการค้นพบโบราณวัตถุชิ้นใหม่ที่สระมรกต ดงศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี คาดว่าสลักขึ้นในสมัยทวาราวดี อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-15 เชื่อว่าเป็นรอยพระพุทธบาท เนื่องจากมีธรรมจักรสลักอยู่บนฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ส่วนหลุมเสาที่อยู่ระหว่างฝ่าพระบาทนั้น ดร.นันทนา ชุติวงศ์ กล่าวว่าอาจทำขึ้นเพื่อรองรับคันฉัตรอันเป็นเครื่องสูงและมักปรากฏอยู่ร่วมกับพระพุทธรูปและสัญลักษณ์แทนพระองค์อื่น ๆ นอกจากนั้น รอยพระทับของฝ่าเท้าไม่ใช่รอยเท้าที่นูนขึ้นเหนือฝ่าเท้าดังตัวอย่างพระบาทคู่อื่น ๆ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี

ศิลปะทวารวดีภายในประเทศไทยเจริญขึ้นระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ทางภาคกลางของประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐม คูบัว อ่างทอง และลพบุรี และได้แผ่ขึ้นไปทางเหนือยังอาณาจักรหริภุญชัย (ลำพูน) จนกระทั่งถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ประติมากรรมสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ แต่ก็ยังคงแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีซึ่งเข้ามาถึงก่อนหน้านั้น ตัวอย่างของศิลปะทวารวดีสมัยต้น ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาขนาดเล็ก ครองจีวรตามแบบอมราวดีแต่จีวรไม่มีริ้ว แสดงปางประทานอภัยหรือวิตรรกะ 2) พระพุทธรูปนาคปรกศิลา ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 3) พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ค้นพบในถ้ำเขาพระ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 4) ประติมากรรมดินเผา ค้นพบที่เมืองคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 5) ประติมากรรมดินเผาค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 6) เทวรูปพระคเณศศิลา ค้นพบที่เมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ตัวอย่างศิลปะทวารวดีสมัยที่สอง ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาองค์ใหญ่ พบที่ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับประติมากรรมรูปพระศรีอาริยเมตไตรย 2 องค์ สูง 47 เซนติเมตร และสูง 1.37 เมตร ศิลปะทวารวดีสมัยที่สาม อิทธิพลศิลปะขอมสมัยบาปวนเริ่มเข้ามาปะปน ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ พระพุทธรูปปางสมาธิศิลา ค้นพบ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

The Exhibition of Masterpieces from private collections displayed at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 1]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. This volume mentions the ancient objects of Indian Amaravati or early Singhalese and of Dvaravati styles.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

The Exhibition of Masterpieces from private collections displayed at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 2]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. Art specimens of the two following periods, the early Hindu images in Thailand and Srivijai will be described in this volume.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Exhibition of Masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 5]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. This volume will discuss Chiengsaen style, U-thong school, Ayutthaya and Rattanakosin periods.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507

ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.

Boisselier, Jean

ศิลปทวารวดี ตอนที่ ๑

ศิลปะทวารวดีแบ่งเป็น 2 สมัยใหญ่ ๆ คือ 1) สมัยก่อนทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 8-11 ปรากฏมีการวางรากฐานแห่งอารยธรรมอินเดียโดยเฉพาะทางพุทธศาสนาลงในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันมีการสร้างงานศิลปกรรมแบบพื้นเมืองรุ่นแรกที่เลียนแบบหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปวัตถุอินเดีย 2) สมัยทวาราวดีอย่างแท้จริง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12-17 ซึ่งแบ่งเป็น 4 สมัยย่อย คือ สมัยเริ่มก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12, สมัยก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13, สมัยฟื้นฟูใหม่ ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15, สมัยเสื่อม ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยในแต่ละยุคสมัยมีรูปแบบศิลปกรรมที่แสดงถึงการผสมผสานแรงบันดาลใจจากภายนอกและความคิดของช่างพื้นถิ่น.

Boisselier, Jean