เมืองพระนคร (กัมพูชา)

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

เมืองพระนคร (กัมพูชา)

Equivalent terms

เมืองพระนคร (กัมพูชา)

Associated terms

เมืองพระนคร (กัมพูชา)

3 Archival description results for เมืองพระนคร (กัมพูชา)

3 results directly related Exclude narrower terms

600 ปี แห่งประวัติเมืองพระนครของขอม

ประวัติศาสตร์ของเมืองพระนครเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.1345 กษัตริย์ขอมที่ครองราชย์สมัยเมืองพระนครที่สำคัญได้แก่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พระองค์กระทำพิธีราชาภิเษกเป็นพระจักรพรรดินับว่าเป็นกษัตริย์องค์แรกในสมัยนี้และตั้งราชธานีที่เมืองหริหราลัย พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทพระโคและปราสาทบากอง พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ทรงสร้างสระบารายตะวันออกและปราสาทโลเลย ทรงสร้างปราสาทพนมบาแค็ง ปราสาทพนมกรมและปราสาทพนมบก พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทปักษีจำกรง พระเจ้าราเชนทรวรมันทรงสร้างปราสาทแม่บุญตะวันออกกลางบารายตะวันออกและปราสาทแปรรูป พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทพนมชิสอร์ ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทพิมานอากาศ พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทบาปวน ปราสาทแม่บุญตะวันตก พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างประสาทนครวัด พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทพระขรรค์ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างปราสาทตาพรหม ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทตาสม และปราสาท ทรงเป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่ในสมัยเมืองพระนครและในประวัติศาสตร์ของขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

อาณาจักรขอม

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่องประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เริ่มเกี่ยวกับอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ได้เสด็จกลับมาจากชวา เพื่อมาครองราชย์ที่เมืองอินทรปุระ และย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหริหราลัย ศิลปะขอมสมัยกุเลนในรัชกาลของพระองค์เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร และศิลปะสมัยเมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะจามและศิลปะชวา ลำดับกษัตริย์ขอมที่ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พระเจ้าอินทรวรมัน พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระเจ้าราเชนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มีระยะเวลากว่า 100 ปี และอาจนับได้ว่าเป็นระยะที่วัฒนธรรมขอมเจริญสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเป็นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที 1 พระเจ้าอุทัยทิตย วรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมาธิปรเมศวร ซึ่งเป็นพระราชาองค์สุดท้ายที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกของขอมที่ปราสาทนครวัด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

อาณาจักรเจนละ

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่อง ประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Les Etats Hindouises d’Indochine et d’Indonesie) ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ศูนย์กลางดั้งเดิมของอาณาจักรเจนละ คงตั้งอยู่ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ำโขงแถบเมืองจำปาศักดิ์ในประเทศลาวปัจจุบัน อาณาจักรเจนละเป็นอาณาจักรขอมรุ่นต้นที่เคยเป็นประเทศราชต่ออาณาจักรฟูนัน ตั้งแต่สมัยพระเจ้าภววรมันที่1 ลงมาจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่1 เป็นระยะที่แผ่ขยายอำนาจลงไปทางทิศใต้แถบปากแม่น้ำโขง และทิศตะวันตกแถบทะเลสาบใหญ่ อันเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรฟูนันมาก่อน ต่อมาหลัง พ.ศ. 1249 อาณาจักรเจนละได้แบ่งแยกเป็น 2 แคว้น คือ ทางภาคเหนือหลายเป็นแคว้นเจนละบก ทางภาคใต้กลายเป็นแคว้นเจนละน้ำ ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 แห่งเมืองศัมภุปุระ (สมโบร์) ได้ทรงรวบรวมแคว้นเจนละบกและแคว้นเจนละน้ำเข้าด้วยกันเป็นการเริ่มต้นอาณาจักรขอมอย่างแท้จริง ใน พ.ศ. 1345.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล