- TH Subhadradis 02 ACAR-02-091
- Item
- 2514
Part of บทความ
ศิลาจารึกนี้เป็นศิลาจารึกภาษาสันสกฤตที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีนและหมู่เกาะอินโดนีเซีย ค้นพบที่หมู่บ้านโวคาญ เขตเมืองญาตรัง เป็นจารึกที่สลักบนหินแกรนิต สูงกว่า 2.70 เมตร ตัดเป็นเสารูปสี่เหลี่ยมกว้าง 72 เซนติเมตร หนา 67 เซนติเมตร ตัวอักษรที่จารึกมีขนาดใหญ่ความสูงราว 4 เซนติเมตร และคล้ายคลึงกับตัวอักษรบนจารึกของรุทรทามัน (Rudradaman) ที่ คิรนรร (Girnar) ของวาสิษฐีบุตร (Vasisthiputra) ที่กันเหริ (Kanheri) ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 7-8 ศาสตราจารย์ ฟิลลิโอซาต์ อธิบายว่า แม้จะจารึกในภาษาสันสกฤต แต่ต้นเค้าเดิมคงมาจากประเพณีทมิฬ และคงไม่ใช่จารึกในพุทธศาสนา แต่แสดงประเพณีตามแบบศาสนาฮินดู และสรุปว่า พระเจ้าศรีมาระอาจเป็นพระราชาในราชวงศ์ปาณฑยะทางประเทศอินเดียภาคใต้ ตามตำแหน่ง “มารัน” ในภาษาทมิฬ แต่พระองค์อาจไม่ได้เสด็จมาครองราชย์ในอาณาจักรทางแหลมอินโดจีน แต่ผู้ปกครองอาณาจักรอาจเป็นเพียงเชื้อสายของพระองค์.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล