เทวรูป -- กัมพูชา

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

เทวรูป -- กัมพูชา

Equivalent terms

เทวรูป -- กัมพูชา

Associated terms

เทวรูป -- กัมพูชา

9 Archival description results for เทวรูป -- กัมพูชา

9 results directly related Exclude narrower terms

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 12]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 7 สรุป) อาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย เห็นได้ชัดจากจารึกภาษาสันสกฤต และศาสนาที่มาจากคัมภีร์ต่าง ๆ วิวัฒนาการทางศาสนาซึ่งได้รับจากอินเดียแพร่หลายในอาณาจักรขอมอย่างรวดเร็ว ทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย มีหลักฐานจารึกและประติมากรรมที่หลงเหลืออยู่มาก รวมทั้งมีการเคารพบูชาศักติ หรือสัญลักษณ์ของพระนารายณ์และพระอิศวรด้วย การรับอิทธิพลจากอินเดียในอาณาจักรขอมมีการผสมผสานกับประเพณีพื้นเมือง ทำให้มีลักษณะดั้งเดิมของตนเอง แต่ก็อาจกล่าวได้ว่ามีรากฐานของอิทธิพลอินเดียที่เป็นพื้นฐานในศาสนาพราหมณ์

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 11]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 6 การผสมระหว่างลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย) ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอมทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกายมีการนับถือพระนารายณ์และพระอิศวรด้วยกันทั้งสองลัทธิ ในอินเดียก็คัมภีร์ของทั้งสองนิกายมีความพยายามรวมกันของพระนารายณ์และพระอิศวรเช่นกัน ในอาณาจักรขอมผู้นับถือลัทธิไศวนิกายจะถือว่าพระอิศวรเป็นผู้สูงสุด และมีพระนารายณ์และพระพรหมต่ำกว่าเพราะออกมาจากพระอิศวร ลัทธิไวษณพนิกายถือว่าพระอิศวรและพระพรหมออกมาจากพระนารายณ์ เนื่องจากพระพรหมไม่มีนิกาย ทำให้พระนารายณ์และพระอิศวรเป็นศูนย์กลางของลัทธิทั้งสอง จึงมีความพยายามการรวมกันของสองพระองค์ คือพระหริหระ นอกจากนี้การผสมกันของสองนิกายได้มีผลแก่รูปแบบของพระคเณศด้วย.

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 9]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 4 การเคารพบูชาเทพชั้นรอง) พระขันธกุมาร ในอาณาจักรขอมไม่พบว่ามีการบูชาอย่างแพร่หลาย มีจารึกและประติมากรรมอยู่เล็กน้อย เป็นรูปพระขันธกุมารมี 2 กร ประทับนั่งเหนือนกยูงและพระกรยึดคอนกยูงอยู่ เทวดาผู้รักษาทิศและเทวดานพเคราะห์ เทวดาผู้รักษาทิศมีจำนวนแตกต่างกันไป มีจำนวน 8 องค์หรือ 10 องค์ สลักเป็นภาพนูนต่ำประจำทิศของอาคาร ชื่อผู้รักษาทิศจะแตกต่างกันเล็กน้อยตามคัมภีร์สำหรับเทวดานพเคราะห์ ประกอบด้วยเทพ 9 องค์ ตามลำดับคือพระอาทิตย์ พระจันทร์ เทพผู้รักษาทิศ 5 องค์ พระราหู และพระเกตุ มารดา 7 องค์ พบเป็นภาพสลักบนทับหลังแต่ไม่ปรากฏในจารึก คือ รูปนางจามุณฑา นางไอนทรี นางวาราหิ นางไวษณวี นางเกามารี นางมเหศวร และนางพราหมี พระวิศวกรรม พระอินทร์ และพระอัคนี ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระวิศวกรรมได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรก และมีการบูชาอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา เป็นการบูชาในฐานะช่างของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ เช่นเดียวกับพระอินทร์ด้วย แต่พระอัคนีพบประติมากรรมเพียงองค์เดียว

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 8]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 4 การเคารพบูชาเทพชั้นรอง) พระพรหมได้รับการเคารพร่วมกับพระอิศวรและพระนารายณ์ ไม่มีการบูชาเพียงองค์เดียว มีการสร้างเทวาลัยให้ทั้งสามองค์เป็นตรีมูรติในอาณาจักรขอม โดยหลังกลางสร้างถวายพระอิศวร หลังเหนือถวายพระนารายณ์ และหลังทิศใต้สร้างถวายพระพรหม ซึ่งลำดับดังกล่าวสอดคล้องกับความเชื่อในลัทธิไศวนิกาย และลัทธิไวษณพนิกาย ศักติของพระพรหมคือพระสรัสวดีเป็นเจ้าแห่งคำพูด ได้รับการบูชามากกว่าพระพรหมโดยจารึกกล่าวถึงการสร้างเทวาลัยถวายเฉพาะแต่พบประติมากรรมหลงเหลือน้อยมาก การสร้างรูปพระพรหมมีลักษณะรูปแบบที่รับมาจากอินเดีย พระอาทิตย์ เป็นหนึ่งในผู้แทนพระอิศวรเช่นเดียวกับพระอัคนี ซึ่งทำหน้าที่เป็นแสงสว่างประจำโลกเช่นเดียวกัน ประติมากรรมรูปพระอาทิตย์ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย พระคเณศผู้เป็นเจ้าแห่งอุปสรรค พบหลักฐานจารึกและประติมากรรมพบว่ามีการบูชาพระคเณศในอาณาจักรขอมอย่างแพร่หลาย มีการสร้างเทวลัยถวาย และสร้างประติมากรรมจำนวนมาก สมัยก่อนเมืองพระนครสร้างรูปแบบพระคเณศตามศิลปะอินเดียคือมีความธรรมชาติคล้ายสัตว์ ต่อมาสมัยเมืองพระนครได้ลดทอนให้คล้ายมนุษย์มากขึ้น

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 7]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 3 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย) รูปแบบประติมานวิทยาของพระนารายณ์ที่พบในอาณาจักรขอม ยังมีรูปพระนารายณ์ปางตรีวิกรม หรือตรีบาท พบในภาพเขียนและภาพสลักนูนต่ำเท่านั้น ในส่วนปราสาทนครวัดมีภาพสลักนูนต่ำที่แสดงพระนารายณ์อวตารเป็นพระรามตามเรื่องราวในคัมภีร์รามายณะ อย่างไรก็ตามการอวตารเป็นพระกฤษณะดูจะสำคัญที่สุด และยังปรากฎรูปวราหาวตาร นรสิงหาวตาร และกูรมาวตาร ซึ่งการบูชาพระนารายณ์ในปางต่างๆแพร่หลายมากในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นอกจากเทวรูปมีการสร้างพระวิษณุบาทเป็นสัญลักษณ์ด้วย พระนารายณ์มีศักติคือพระศรีหรือพระลักษมีและพระเทวีหรือพระอุมา และมีการสร้างรูปของพระชายาทั้งสององค์ จากหลักฐานจารึกและงานศิลปกรรมสามารถกล่าวได้ว่าศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไวษณพนิกายในอาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย ซึ่งดินแดนแถบมธุราก็ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอาณาจักรขอมด้วย

Bhattacharya, Kamaleswar

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 12]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นพุทธศาสนา ทั้งพระศรีศากยมุนี ประติมากรรมในพุทธศาสนามหายาน เช่น พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาหรือศักติ รวมถึงเทพในพุทธศาสนาองค์อื่น ๆ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปสัตว์และลวดลายพันธุ์พฤกษาในศิลปะขอม ไม่ว่าจะเป็นโค ครุฑ ช้าง.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 11]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าชั้นรองในศาสนาฮินดู ทั้งพระคเณศ พระขันธกุมาร พระอาทิตย์ พระอินทร์ เทพผู้รักษาทิศ จากนั้นกล่าวถึงเทวสตรี อันได้แก่พระอุมา พระลักษมี ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงเทวดาชั้นรอง เช่น ทวารบา เทพธิดา นางอัปสร คณะ อสูร นาค คนธรรพ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 10]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าหลักในศาสนาฮินดู ทั้งพระพรหม พระนารายณ์และอวตารของพระองค์ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นนรสิงหาวตาร ตรีวิกรม พระราม พระกฤษณะ พระพลราม พระกัลกิน จากนั้นจึงกล่าวถึงพระอิศวรและศิวลึงค์ ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงประติมากรรมผสมทั้งพระหริหระและอรรธนารีศวร.

Boisselier, Jean

Thailand : Recent Finds at the Sanctuary of Kampaeng Yai

A bronze image was discovered near the southern gate (gopura) of the galleries around Prasat Kampaeng Yai, (Sanctuary of Kampaeng Yai) on 17 May 1989. The statue, standing 184 cm. high (140 cm. for the body, 10 cm. for the base and 34 cm. for the tenon underneath). The statue represents a standing dvarapala (door-guardian).
Professor Jean Boisselier, a French expert on khmer art thinks this bronze statue represents Nandikesvara or Nandisvara, chief of the gana (attendants of Siva). Because of his loyal services, Siva allowed Nandikesvara to change his primitive appearance, which resembles a monkey, to the likeness of Siva. And even if the statue is not really Nandikesvara, Professor Bossolier still thinks this bronze statue is a door-guardian. The way it was gilded and its excellent execution are invitations to suppose that this statue must have stood in front of the central sanctuary of Prasat Kampaeng Yai, or even inside its porch.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล