Identity area
Reference code
Title
Date(s)
- 2515 (Creation)
Level of description
Item
Extent and medium
บทความ จำนวน 11 หน้า
Context area
Name of creator
Name of creator
Biographical history
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้ารมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเจิม ดิศกุล ประสูติเมื่อวันศุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2466 จนเมื่อพระชันษาได้ 1 เดือน หม่อมเจิมจึงได้ถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา ตามที่ได้ทรงเคยขอไว้ตั้งแต่ที่หม่อมเจิมมีครรภ์ กระทั่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา สิ้นพระชนม์ลง จึงกลับมาประทับที่วังวรดิศตามเดิมเมื่อพระชันษาได้ 11 ปี
ด้านการศึกษา ทรงสำเร็จการศึกษาด้านอักษรศาสตร์จากจุฬาลงกรร์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2486 จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 ทรงได้รับทุนจากบริติชเคาน์ซิลให้เสด็จไปทอดพระเนตรงานด้านการพิพิธภัณฑ์และโบราณคดี ณ ประเทศอังกฤษ แล้วจึงตั้งพระทัยที่จะศึกษาต่อด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีที่โรงเรียนลูฟ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษา และจะทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่อังกฤษ แต่ยังมิทันสำเร็จก็มีเหตุให้เสด็จกลับเมืองไทยก่อน ในปี พ.ศ.2496
ภายหลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้ว ทรงเข้าทำงานในกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และย้ายไปเป็นหัวหน้าแผนกหอสมุดดำรงราชานุภาพ สังกัดกรมศิลปากร จนกระทั่งทรงศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศและเสด็จกลับไทยแล้ว ก็ยังทรงปฏิบัติงานในกรมศิลปากรอยู่ แต่ย้ายมาประจำตำแหน่งภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากนี้มักจะทรงเป็นวิทยากร ถวายการนำชม และทรงนำชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยแด่แขกคนสำคัญของบ้านเมือง ทั้งพระประมุขและประมุขของชาติต่าง ๆ ที่มาเยือนประเทศไทยโดยตลอด
ระหว่างที่ทรงเป็นภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ก็ทรงสอนนักศึกษาของคณะโบราณคดี และ มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั่วประเทศด้วย โดยทรงวางรากฐานการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยหลักสูตรการศึกษาเป็นเช่นเดียวกับที่ทรงได้รับการศึกษามาจากต่างประเทศ ทรงนิพนธ์ตำราทางวิชาการ หนังสือนำชม หนังสือทรงแปลจากภาษาต่างประเทศ หนังสือที่ทรงชำระใหม่ หนังสือรวมบทความ บทความวิชาการที่ตีพิมพ์ลงในวารสารต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ ต่อมาภายหลังจึงทรงโอนย้ายมาเป็นศาสตราจารย์ของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อีกทั้งทรงดำรงตำแหน่งทั้งทางด้านบริหาร จนเกษียณอายุราชการในปี 2529 นอกจากนี้ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ภายใต้องค์การรัฐมนตรีศึกษาธิการแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SPAFA และ คณะกรรมการต่าง ๆ ของกรมศิลปากรอยู่ตลอด
ภายหลังจากที่ทรงเกษียณอายุราชการแล้วและประชวรด้วยโรคพระหทัย ซึ่งทรงได้รับการผ่าตัดแล้ว แต่ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ก็ยังทรงทำงานอยู่เรื่อยมา ทั้งงานสอนในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และการเป็นคณะกรรมการต่าง ๆ ของทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี ตามปรกติ กระทั่งวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ทรงลื่นล้มในห้องสรง และประชวรทรุดลงตามลำดับ จนสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สิริพระชันษาได้ 80 ปี
Archival history
Immediate source of acquisition or transfer
Content and structure area
Scope and content
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 4 การเคารพบูชาเทพชั้นรอง) พระพรหมได้รับการเคารพร่วมกับพระอิศวรและพระนารายณ์ ไม่มีการบูชาเพียงองค์เดียว มีการสร้างเทวาลัยให้ทั้งสามองค์เป็นตรีมูรติในอาณาจักรขอม โดยหลังกลางสร้างถวายพระอิศวร หลังเหนือถวายพระนารายณ์ และหลังทิศใต้สร้างถวายพระพรหม ซึ่งลำดับดังกล่าวสอดคล้องกับความเชื่อในลัทธิไศวนิกาย และลัทธิไวษณพนิกาย ศักติของพระพรหมคือพระสรัสวดีเป็นเจ้าแห่งคำพูด ได้รับการบูชามากกว่าพระพรหมโดยจารึกกล่าวถึงการสร้างเทวาลัยถวายเฉพาะแต่พบประติมากรรมหลงเหลือน้อยมาก การสร้างรูปพระพรหมมีลักษณะรูปแบบที่รับมาจากอินเดีย พระอาทิตย์ เป็นหนึ่งในผู้แทนพระอิศวรเช่นเดียวกับพระอัคนี ซึ่งทำหน้าที่เป็นแสงสว่างประจำโลกเช่นเดียวกัน ประติมากรรมรูปพระอาทิตย์ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย พระคเณศผู้เป็นเจ้าแห่งอุปสรรค พบหลักฐานจารึกและประติมากรรมพบว่ามีการบูชาพระคเณศในอาณาจักรขอมอย่างแพร่หลาย มีการสร้างเทวลัยถวาย และสร้างประติมากรรมจำนวนมาก สมัยก่อนเมืองพระนครสร้างรูปแบบพระคเณศตามศิลปะอินเดียคือมีความธรรมชาติคล้ายสัตว์ ต่อมาสมัยเมืองพระนครได้ลดทอนให้คล้ายมนุษย์มากขึ้น
Appraisal, destruction and scheduling
Accruals
ไม่มีการเพิ่มขึ้นของเอกสาร
System of arrangement
Conditions of access and use area
Conditions governing access
ปฏิบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าด้วยการใช้หอสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร
Conditions governing reproduction
ห้ามนำไปดัดแปลงหรือทำซ้ำเพื่อการจำหน่าย
Language of material
- Thai
Script of material
Language and script notes
Physical characteristics and technical requirements
Finding aids
Allied materials area
Existence and location of originals
ไม่มีข้อมูลสถานที่เก็บเอกสารต้นฉบับ
Existence and location of copies
หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
Related units of description
Notes area
Alternative identifier(s)
Access points
Name access points
- Musee Guimet (Paris) (Subject)
Genre access points
Description control area
Description identifier
Institution identifier
Rules and/or conventions used
Status
Level of detail
Dates of creation revision deletion
Language(s)
Script(s)
Sources
Digital object metadata
Filename
ACAR-02-02-077BrahminKhmer8.pdf
Latitude
Longitude
Media type
Text
Mime-type
application/pdf