วัดราชบูรณะ (พระนครศรีอยุธยา)

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

วัดราชบูรณะ (พระนครศรีอยุธยา)

Equivalent terms

วัดราชบูรณะ (พระนครศรีอยุธยา)

Associated terms

วัดราชบูรณะ (พระนครศรีอยุธยา)

6 Archival description results for วัดราชบูรณะ (พระนครศรีอยุธยา)

6 results directly related Exclude narrower terms

โบราณวัตถุที่ค้นพบจากพระปรางค์วัดราชบูรณะ รุ่นที่ ๒

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2501 ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรกำลังดำเนินงานสร้างอุโมงค์และทำบันไดเพื่อให้ลงไปชมภาพเขียนผนังภายในพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้พบกรุพระพุทธรูปและพระพิมพ์บรรจุอยู่ภายในองค์พระปรางค์ โดยพยายามทำงานขุดค้นและควบคุมดูแลรักษานำของขึ้นจากกรุ ซึ่งวัตถุที่ค้นพบแบ่งออกได้หลายชนิดด้วยกัน คือ

  1. พระพุทธรูป รูปพระโพธิสัตว์ เทวดา และพุทธสาวก แบ่งออกได้เป็น
    ก. พระพุทธรูปและรูปพระโพธิสัตว์ต่างประเทศ ที่สำคัญคือ พระพุทธรูป 8 ปาง แบบปาละ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย แบบปาละ แบบอินเดียภาคใต้รุ่นหลัง พระพุทธรูปแบบลังการุ่นหลัง แบบชวา แบบพม่า แบะพระพุทธรูปและรูปพระโพธิสัตว์แบบเนปาลหรือธิเบต
    ข. พระพุทธรูปในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น
    (1) พระพุทธรูปแบบทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16 บางองค์อาจทำในชั้นหลังและทำตามแบบทวารวดี
    (2) พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์แบบศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-18
    (3) พระพุทธรูป รูปพระโพธิสัตว์ และเทวดา ในศิลปะแบบลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-19
    (4) พระพุทธรูปแบบสุโขทัย สกุลช่างวัดตระกวน 6 องค์ เป็นสกุลช่างที่คลายไปจากศิลปะแบบสุโขทัยไปมาก และยากที่จะกำหนดอายุเวลาได้ และไม่พบพระพุทธรูปแบบสุโขทัยแท้ ๆ
    (5) พระพุทธรูปแบบอู่ทอง แบ่งออกได้เป็น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 ยุคที่ 2 ราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 ยุคที่ 3 ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20
    (6) พระพุทธรูปและรูปพระสาวกแบบอยุธยา
  2. พระพิมพ์
    1. แบบต่างประเทศ คือ แบบปาละของอินเดีย
    2. แบบทวารวดี อาจเป็นแบบทวารวดี หรือทำเลียนแบบทวารวดีขึ้นในสมัยอยุธยา และแบบทวารวดีแต่มีศิลปะแบบลพบุรีเข้ามาปนบ้าง
    3. แบบลพบุรี เป็นพระพิมพ์ในแบบมหายาน
    4. แบบอยุธยา แบ่งได้ 2 แบบ คือ
      (1) เลียนแบบสุโขทัย ส่วนมากมักทำเป็นพระลีลา หรือบางทีเป็นปางยมกปาฏิหารย์
      (2) แบบอยุธยาแท้ ทำเป็นรูปพระพุทธองค์ ปางมารวิชัย ปางประทานอภัย ปางสมาธิ หรือปางประทานเทศนา
      นอกจากพระพิมพ์ที่เป็นพระพุทธรูปแล้ว ยังมีรูปสาวกโดด ๆ เช่น พระสังกัจจายน์ และรูปท้าวเวสสุวรรณ เป็นต้น
  3. วัตถุอื่น ๆ เช่น แผ่นโลหะเขียนเป็นรูปพระพุทธองค์ปางมารวิชัยประทับนั่งบนดอกบัว เครื่องเชียนหมากทำด้วยโลหะ แก้วประเภทนพรัตน์และคันฉ่องโลหะฝีมือช่างจีน

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 9]

บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร ตั้งแต่ศิลปะแปรรูป บันทายศรี คลัง บาปวน นครวัดและบายน รวมถึงศิลปะระยะหลังอีก 2 ระยะ คือ หลังสมัยบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร โดยมีพัฒนาการทั้งในแง่ของประติมานวิทยาและรูปแบบศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงมุทรา อิริยาบถ พัฒนาการของเกตุมาลา เครื่องทรง จีวร มีการยกตัวอย่างสำคัญ.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 14]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยเฉพาะที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์ทั้งสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งประติมากรรมขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทั้งประติมากรรมในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม เช่นสังข์ วัชระ ฯลฯ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงฐานและแม่พิมพ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 15]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม อันได้แก่กระดิ่งที่ใช้ในพิธีกรรม คันฉ่อง ฐาน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเครื่องประดับประติมากรรม อาวุธที่ถอดได้และลวดลายขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ประกอบยานพาหนะและที่นั่ง ยอดธง กระดึงและเครื่องดนตรีสำหรับตี วัตถุเครื่องใช้สอบ เครื่องประดับ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 16]

ประติมากรรมสัมฤทธิ์สมัยหลังเมืองพระนครสามารถแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ ประติมากรรมขนาดเล็ก เครื่องใช้ในกิจพิธีและเครื่องใช้สอย เชิงเทียน กระดึง ภาชนะต่าง ๆ เครื่องม้า และอาวุธ ประติมากรรมเหล่านี้ส่วนหนึ่งยังคงรักษารูปแบบศิลปะสมัยเมืองพระนคร แต่บางส่วนแสดงถึงอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะไทย นอกจากนี้ ยังมีศิลปกรรมแขนงอื่น ๆ ของศิลปะเขมรทั้งในสมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยเมืองพระนคร และสมัยหลังเมืองพระนคร ที่น่าศึกษา ได้แก่ เครื่องเหล็ก เครื่องทองและเงิน (ในบทความใช้คำว่า “เครื่องเพชรพลอย) โดยในกลุ่มหลังนี้ ประกอบด้วย เครื่องเพชรพลอย แม่พิมพ์เครื่องประดับ ที่ประทับตรา และเงินตรา.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 18]

นักวิชาการพยายามจัดกลุ่มเครื่องดินเผาที่พบในประเทศกัมพูชา โดยกลุ่มแรกคือ เครื่องดินเผาสมัยเมืองพระนคร ซึ่งยังสามารถจัดเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ 1) ภาชนะเนื้อดินปนทราย ไม่มีเคลือบ มีเคลือบไม่สม่ำเสมอ หรือเคลือบสีน้ำตาลแก่ และ 2) เครื่องดินเผาเนื้อดินค่อนข้างแดงมีเคลือบสีน้ำตาล
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังพบเครื่องดินเผากลุ่มอื่น ๆ อีก คือ 1) เครื่องดินเผาสมัยหลังเมืองพระนคร 2) เครื่องถ้วยที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ 3) เครื่องถ้วยจีน 4) เครื่องถ้วยไทย 5) เครื่องถ้วยต่างประเทศอื่น ๆ 6) พระพิมพ์.

Boisselier, Jean