บุรีรัมย์

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

บุรีรัมย์

Equivalent terms

บุรีรัมย์

Associated terms

บุรีรัมย์

3 Archival description results for บุรีรัมย์

3 results directly related Exclude narrower terms

พระศิวนาฏราชในศิลปลพบุรี

พระศิวนาฏราช หรือ พระอิศวรทรงฟ้อนรำ จัดเป็นประติมากรรมที่สำคัญที่สุดในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะขอมนั้นเป็นภาพสลักนูนต่ำทั้งสิ้น ไม่เคยค้นพบประติมากรรมลอยตัวรูปพระศิวนาฏราชเลย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะลพบุรีเป็นภาพสลักนูนต่ำ 4 รูป คือ 1) ภาพสลักบนหน้าบันด้านในของปราสาทนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร อายุอยู่ในราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1650 เป็นพระศิวนาฏราชสวมมงกุฏมี 10 กร 2) ทับหลังของปราสาทองค์กลางที่ ปราสาทบ้านระแงง อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1650 ทับหลังมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ ตรงกลางเป็นรูปพระศิวนาฏราช 10 กร 3) บนหน้าบันของมุขด้านใต้ของปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีภาพสลักเป็นรูปพระศิวนาฏราชหลายกร คงสร้างขึ้นราวระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 4) ทับหลังศิลา เดิมอยู่ที่ปรางค์กู่สวนแตง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภาพพระศิวนาฏราช 2 กร อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 รูปพระศิวนาฏราชหรือพระอิศวรทรงฟ้อนรำของศิลปะลพบุรีในประเทศไทย ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอมราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1750 อิทธิพลดั้งเดิมคงมาจากประเทศอินเดียภาคเหนือ แต่ในศิลปะลพบุรีอาจมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียภาคใต้เข้ามาปะปนอยู่บ้าง จึงมีรูปยักษ์เข้ามาผสมอยู่.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี

ศิลปะทวารวดีภายในประเทศไทยเจริญขึ้นระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ทางภาคกลางของประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐม คูบัว อ่างทอง และลพบุรี และได้แผ่ขึ้นไปทางเหนือยังอาณาจักรหริภุญชัย (ลำพูน) จนกระทั่งถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ประติมากรรมสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ แต่ก็ยังคงแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีซึ่งเข้ามาถึงก่อนหน้านั้น ตัวอย่างของศิลปะทวารวดีสมัยต้น ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาขนาดเล็ก ครองจีวรตามแบบอมราวดีแต่จีวรไม่มีริ้ว แสดงปางประทานอภัยหรือวิตรรกะ 2) พระพุทธรูปนาคปรกศิลา ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 3) พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ค้นพบในถ้ำเขาพระ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 4) ประติมากรรมดินเผา ค้นพบที่เมืองคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 5) ประติมากรรมดินเผาค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 6) เทวรูปพระคเณศศิลา ค้นพบที่เมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ตัวอย่างศิลปะทวารวดีสมัยที่สอง ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาองค์ใหญ่ พบที่ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับประติมากรรมรูปพระศรีอาริยเมตไตรย 2 องค์ สูง 47 เซนติเมตร และสูง 1.37 เมตร ศิลปะทวารวดีสมัยที่สาม อิทธิพลศิลปะขอมสมัยบาปวนเริ่มเข้ามาปะปน ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ พระพุทธรูปปางสมาธิศิลา ค้นพบ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอม

ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอมปรากฏหลักฐานให้เห็นทั้งในงานสถาปัตยกรรมในศาสนาและประติมากรรม โดยในกลุ่มประติมากรรมยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เทวรูปในศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธรูป ทั้งนี้ การที่ศิลปกรรมสมัยก่อนเมืองพระนครปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเท่านั้น เนื่องจากในสมัยโบราณ การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมไปถึงพระราชวัง สร้างด้วยวัสดุที่ไม่คงทนถาวร ต่างจากการสร้างศาสนสถานและประติมากรรมในศาสนา นอกจากนี้ หลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า ศิลปะขอมได้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดีย และต่อมามีการพัฒนารูปแบบเป็นของตนเอง โดยเฉพาะประติมากรรม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล